星期日, 十一月 25, 2018

Rit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/231/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาอัญญติตถิยวัตถุกถา
พึงทราบวินิจฉัยในอัญญติตถิปุพพวัตถุต่อไป:-
ปสุรปริพาชกนี้ก่อน ไม่ควรให้อุปสมบท เพราะกลับไปเข้ารีตอาทิผิด เดียรถีย์
แล้ว. ส่วนเดียรถีย์แม้อื่นคนใดไม่เคยบวชในศาสนานี้มา กิจใดควรทำสำหรับ
เดียรถีย์คนนั้น เพื่อแสดงกิจนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า โย ภิกฺขเว
อญฺโญปิ เป็นต้น.
ในคำนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ ข้อว่า ตสฺส จตฺตาโร มาเส ปริวาโส
ทาตพฺโพ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าติตถิยปริวาสนี้ ท่านเรียกว่า อัปปฏิจฉันน-
ปริวาสบ้าง. ก็ติตถิยปริวาสนี้ ควรให้แก่อาชีวกหรืออเจลก ผู้เป็นปริพาชก
เปลือยเท่านั้น. ถ้าแม้เขานุ่งผ้าสาฎกหรือบรรดาผ้าวาฬกัมพลเป็นต้นผ้าอันเป็น
ธง แห่งเดียรถีย์อย่างใดอย่างหนึ่งมา ไม่ควรให้ปริวาสแก่เขา. อนึ่ง นักบวช
อื่น มีดาบสและปะขาวเป็นต้น ก็ไม่ควรให้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงสามเณรบรรพชาสำหรับเขาก่อนเทียว ด้วยคำเป็นต้นว่า ปมํ
เกสมสฺสุํ. อันภิกษุทั้งหลายผู้จะให้บวชอย่างนั้น ไม่พึงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า
ท่านจงให้บวช, ท่านจงเป็นอาจารย์, ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ ในเมื่อกุลบุตรผู้
เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์เสร็จสรรพแล้ว. เพราะภิกษุทั้ง
หลายผู้ถูกสั่งอย่างนั้น ถ้าเกลียดชังด้วยการเป็นอาจารย์อุปัชฌาย์ของเขาจะไม่
รับ ทีนั้นกุลบุตรนั้นจะโกรธว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่เชื่อเรา แล้วพึงไปเสียก็ได้
เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายพึงนำเข้าไปไว้ส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงค่อยหาอาจารย์
และอุปัชฌาย์สำหรับเขา.

๑. ต่อเป็นสัญญลักษณ์.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: