星期六, 十一月 03, 2018

Ron

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/219/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่ใด เวรัญชพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุใด
เวรัญชพราหมณ์ ก็เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนั้น,
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า อันอาทิผิด อักขระเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า
เพราะเหตุไร ?
พึงเข้าไปเฝ้า เพราะมีความประสงค์ ในการบรรลุคุณวิเศษมีประการ
ต่าง ๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ซึ่งผลิตผลเป็นนิตย์ อันหมู่ทิชาชาติทั้งหลาย พึงบิน
เข้าไปหา เพราะมีความประสงค์ในการจิกกินผลที่ดีฉะนั้น.
อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่า คโต แปลว่า ไปแล้ว.
คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำแสดงปริโยสานกาลกริยาแห่งการเข้าไปเฝ้า.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เวรัญชพราหมณ์ ไปแล้ว
อย่างนั้น คือไปยังสถานที่ใกล้ชิดกว่านั้น ได้แก่ที่นับว่าใกล้ต่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ดังนี้บ้างอาทิผิด อาณัติกะ.
หลายบทว่า ภควาตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสถามถึงความสุขทุกข์เป็นต้น* ได้ทรงมีความรื่นเริงเป็นไปกับพรามหมณ์
นั้นแล้ว ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์นั้น ก็ฉันนั้น ได้มีความรื่นเริงเป็นไปกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ถึงความเป็นผู้รื่นเริง ได้แก่ความเป็นพวกเดียวกัน
ดุจน้ำเย็นกับน้ำร้อนอาทิผิด อักขระผสมเป็นอันเดียวกันฉันนั้น.
* สารัตถทีปนีก็ดี อรรถโยชนาก็ดี เป็น ขมนยาทีนิ ได้แปลตามนั้น.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: