星期四, 二月 21, 2019

Chua

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/274/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปเทสญาณ ความรู้บางส่วน ปัจจยาการนี้ย่อมปรากฏเหมือนง่ายแก่เราเท่า
นั้นหรือหนอ หรือว่าปรากฏแก่ภิกษุเหล่าอื่นด้วย” ท่านพระอานนท์คิดว่า
“เราจักกราบทูลเหตุที่ปรากฏแก่ตนแด่พระศาสดา” จึงลุกจากที่นั่ง ตบ
แผ่นหนังแล้วถือเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาเย็น. เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “พระอานนท์เข้าไปเฝ้าในเวลาเย็น ด้วยเหตุเพื่อทูลถาม
ปัญหาเรื่องปัจจยาการ.”
ยาว ศัพท์ ในคำว่า ยาวคมฺภีโร นี้ เป็นไปในการก้าวล่วงเกิน
ประมาณ คือลึกเกินประมาณ. อธิบายว่า ลึกซึ้งอย่างยิ่ง. บทว่า
“คมฺภีราวภาโส มีเนื้อความลึกซึ้ง” อธิบายว่า ส่องสว่าง คือปรากฏลึกซึ้ง
โดยแท้. จริงอยู่น้ำแห่งหนึ่ง เพียงตื้น ๆ เท่านั้น แต่มีกระแสลึก เหมือน
น้ำเก่าอันมีสีดำด้วยอำนาจรสใบไม้เน่า. เพราะว่า น้ำนั้น แม้ลึกแค่เข่า
ก็ปรากฏเหมือนลึกตั้งร้อยชั่วบุรุษ. น้ำบางแห่งลึก แต่มีกระแสตื้น
เหมือนน้ำอันใสแจ๋วแห่งมณีคงคา เพราะน้ำนั้น แม้น้ำลึกตั้งร้อยชั่วบุรุษ
ก็ปรากฏเหมือนลึกแค่เข่า. เพราะน้ำนั้น แม้น้ำลึกตั้งร้อยชั่วอาทิผิด อักขระบุรุษ
ก็ปรากฏเหมือนลึกแค่เข่า. น้ำบางแห่งตื้น และก็มีกระแสน้ำตื้นด้วย
เหมือนน้ำในตุ่มเป็นต้น. น้ำบางแห่งลึก และก็มีกระแสลึกด้วย เหมือน
น้ำในมหาสมุทรเชิงภูเขาสิเนรุ. น้ำย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยประการ
ฉะนี้แล. แต่ความตื้นความลึกย่อมไม่มีในปฏิจจสมุปบาท. เพราะว่า
ปฏิจจสมุปบาทนี้ ได้ชื่อว่าเพียงอย่างเดียวเท่านั้นว่า “ลึกซึ้ง และมีกระแส
ความลึกซึ้ง.” พระอานนท์เมื่อจะประกาศความอัศจรรย์ในของตนอย่างนี้ว่า
“ปฏิจจสมุปบาทเห็นปานนี้ แต่ก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่าย ๆ สำหรับ
ข้าพระองค์. ข้อนี้ น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า”
จึงทูลถามปัญหาแล้ว ได้นั่งนิ่งอยู่.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: