Maha
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 17/388/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
มนุษย์) นอกจากนี้ก็เหมือนกัน. และซากศพทั้ง ๓ นี้นั้นแหละพึงทราบ
ว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้แล้ว ในคำอุปมานี้ เพราะความเป็นของ
ปฏิกูลอาทิผิด อักขระและน่าเกลียดเหลือเกิน. ความจริงซากศพของสัตว์เหล่าอื่นมีสัตว์
เลี้ยงและสุกรเป็นต้น คนทั้งหลายปรุงกับเครื่องเผ็ดร้อนเป็นต้น (เครื่อง
แกง ) รับประทานก็มี. แต่ซากศพของสุนัขและมนุษย์เหล่านี้ ถึงจะยัง
ใหม่ คนทั้งหลายก็ยังรังเกียจอยู่ จะกล่าวไปไยถึงซากศพที่ล่วงเลยเวลา
ไปแล้ว ที่เน่าแล้ว ไม่ต้องพูดถึง.
บทว่า รจยิตฺวา ( วางไว้ ) คือเพิ่มเข้าไป หมายความว่า บรรจุ
ให้เต็ม. มีคำอธิบายไว้ว่า เอาซากศพนั้นบรรจุไว้ในถาดทองสัมฤทธิ์.
บทว่า อญฺญิสฺสา แปลว่า (ด้วยถาดสัมฤทธิ์) ใบอื่น.
บทว่า ปฏิกุชฺชิตฺวา (ครอบ) คือ ปิด.
บทว่า อนฺตราปณํ (ระหว่างตลาด ) คือปากซอยที่มีมหาชนอาทิผิด อักขระ
หนาแน่นในท้องตลาด.
บทว่า ปฏิปชฺเชยฺยุํ (พึงดำเนินไป) คือพึงเดินไป.
บทว่า ชญฺญชญฺญํ วิย (เหมือนจะน่ารู้ น่าสนใจ) ความว่า
เหมือนจะเลอเลิศ คือ เหมือนจะน่าพออกพอใจ. อีกอย่างหนึ่ง มีคำ
อธิบายว่า เหมือนหญิงสาวนำเครื่องบรรณาการมา. ความจริงหญิงสาว
เขาเรียกว่า แม่หญิง. บรรณาการที่หญิงสาวนั้นกำลังนำมาเป็นสิ่งที่น่ารู้
ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคำทั้งคู่ ด้วยอำนาจแห่งความเอื้อเฟื้อบ้าง ด้วย
อำนาจแห่งการสรรเสริญบ้าง. ปาฐะว่า ชญฺญํ ชญฺญํ วิย ดังนี้ก็มี.
บทว่า อปาปุริตฺวา (ไม่ปิด ) คือเปิด.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论