星期一, 七月 22, 2019

Sakka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/274/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปรากฏ เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป ครั้น
เราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง
เมื่อกำลังให้อยู่ พึงยังจิตให้เลื่อมใส ข้าพเจ้าพึง
ขอพรกะท้าวสักกะอาทิผิด สระอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลุฏฺฐิตสฺส เม สโต ความว่า
เมื่อข้าพเจ้าลุกขึ้นในเวลาเช้า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความเพียร คือ
ความหมั่นด้วยอำนาจสามีจิกรรม มีการนอบน้อมและการปรนนิบัติ
เป็นต้น ต่อพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ. บทว่า
สูริยุคฺคมนํ ปติ แปลว่า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นไป. บทว่า ทิพฺพา
ภกฺขา ปาตุภเวยฺยุํ ความว่า อาหารอันนับเนื่องในเทวโลก พึง
เกิดขึ้น. บทว่า สีลวนฺโต จ ยาจกา ความว่า และพวกยาจก
พึงเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม.
บทว่า ททโต เม น ขีเยถ ความว่า ก็เมื่อเราให้ทานแก่ผู้ที่
มาแล้ว ๆ ไทยธรรมย่อมไม่สิ้นไป คือ ไม่ถึงความหมดเปลือง.
บทว่า ทตฺวา นานุปเตยฺยหํ ความว่า ก็เพราะเหตุนั้น เราให้ทาน
นั้นแล้ว เห็นคนบางคนไม่มีความเลื่อมใส จึงไม่เดือดร้อน ในภายหลัง.
บทว่า ททํ จิตฺตํ ปสาเทยฺยํ ความว่า เมื่อเราให้อยู่ เราก็พึงทำจิต
ให้เลื่อมใส คือเราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วนั่นแหละ พึงให้ทาน. บทว่า
เอตํ สกฺกํ วรํ วเร ความว่า เราพึงขอพรกะท้าวสักกะจอมเทพ
๕ อย่างนี้คือ ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค ความสมบูรณ์ด้วย
ไทยธรรม ความสมบูรณ์ด้วยพระทักขิไณยบุคคล ความสมบูรณ์
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: