Saek
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 27/470/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บทว่า ผลํ วิปาโก ความว่า สิ่งใดที่เรียกว่า ผล หรือวิบาก
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมกล่าวสิ่งนั้นว่า ไม่มี.
บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก ความว่า โลกนี้สำหรับผู้อยู่ในปรโลก ไม่มี.
บทว่า ปรโลโก ความว่า โลกอื่น สำหรับผู้ที่อยู่ในโลกนี้ ก็ไม่มี.
อุจเฉทวาทีบุคคล ย่อมแสดงว่า สรรพสัตว์ย่อมขาดสูญ ในโลกนั้นนั่นแล.
อุจเฉทวาทีบุคคล กล่าวว่า นตฺถิ มาตา ปิตา (มารดาไม่มี
บิดาไม่มี) ดังนี้ เป็นเพราะ (เขาถือว่า) ไม่มีผล การปฏิบัติชอบ และ
การปฏิบัติผิดในมารดาบิดาเหล่านั้น.
อุจเฉทวาทีบุคคลกล่าวว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา (สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เป็นโอปปาติกะไม่มี) ดังนี้ เพราะความเชื่อว่า ชื่อว่าสัตว์ที่จุติแล้ว
จะอุบัติขึ้น (อีก) ไม่มี.
บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ความว่า เกิดมาจากมหาภูตรูป ๔
บทว่า ปฐวี ปฐวีกาย ได้แก่ ปฐวีธาตุ ภายใน (ไปเป็น) ปฐวี
ธาตุภายนอก.
บทว่า อนุเปติ แปลว่า เข้าถึง. บทว่า อนุปคจฺฉติ เป็นไวพจน์ของ
บทว่า อนุเปตินั้นนั่นแหละ หมายความว่า แทรกซึมอาทิผิด อักขระเข้าไปดังนี้บ้าง๑
ด้วยบทแม้ทั้งสอง ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิย่อมแสดงว่า เข้าถึง คือ
เข้าไปถึง. ในธาตุที่เหลือ มีอาโปเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมาย)
อย่างเดียวกันนี้แล.
บทว่า อินฺทฺริยานิ ความว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ย่อม
ลอยไปสู่อากาศ.
๑. อรรถกถา อนุยาติ อนุคจฺฉตีติ ตสฺเสว เววจนํ อนุคจฺฉตีติ อตฺโถ. ฉบับพม่าว่า อนุเปตีติ
อนุยาติ อนุปคจฺฉตีติ ตสฺเสว เววจนํ อนุคจฺฉตีติปิ อตฺโถ. แปลตามฉบับพม่า
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论