星期四, 十月 17, 2019

Kharuehat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/65/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ ๒

ในผัคคุนสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงให้เทศนาจบลงในที่นี้นั่นเอง. เพราะเหตุไร. เพราะผู้มีทิฏฐินั่งอยู่
แล้ว. จริงอยู่ พระโมลิยผัคคุนภิกษุ ซึ่งมีทิฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้นแล้ว
ต่อนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า โมลิยผัคคุนภิกษุนี้ จักลุกขึ้นถามปัญหา
เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักแก้ปัญหาให้เธอ แล้วให้เทศนาจบลง
เพื่อให้โอกาสเธอได้ถาม. มวยผม ท่านเรียกว่า โมลี ในคำว่า
โมลิยผคฺคุโน นี้. สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
พระสักยมุนี ทรงตัดพระเมาลีที่อบด้วยน้ำหอม
อย่างดี แล้วทรงเหวี่ยงไปในอากาศ ท้าววาสวะผู้
สหัสสเนตรที่เอาผอบทองคำอย่างประเสริฐ รับไว้ด้วย
เศียรเกล้า.
ในสมัยที่ท่านเป็นคฤหัสถ์อาทิผิด อักขระ เมาลี (มวยผม) ของท่านใหญ่มาก
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเกิดมีชื่อเรียกว่า โมลิยผัคคุนะ. แม้ท่านจะบวช
แล้ว คนก็ยังรู้จักตามชื่อนั้นนั่นแหละ. บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ ท่าน
เมื่อจะสืบต่อเทศนานุสนธิ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอนำวิญญาณาหารมา. พึงทราบเนื้อความแห่ง
คำนั้นดังต่อไปนี้ :- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ที่กินหรือบริโภควิญญาณา-
หารนั้นคือใคร.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร. พระโมลิยะนี้จึงไม่ถามถึงอาหาร ๓
นอกจากนี้ ถามแต่เพียงวิญญาณาหารนี้อย่างเดียว.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: