Thao
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 20/110/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ปริภุญฺชติ คือกำหนดด้วยปัญญาว่า การบริโภคอาหารก็เพื่อประโยชน์อันนี้
แล้วบริโภค. คำว่า อตฺตพฺยาพาธาย วา เจเตติ คือ คิดเพื่อทำทุกข์
แก่ตน. คำว่า สุตํ เม ตํ คือ เรื่องนั้นเราได้ยินมา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า แต่ก่อน เรื่องนั้น เราเพียงแต่ได้ยินมาเท่านั้น. คำว่า สเจ โข
เต ชีวก อิทํ สนฺธาย ภาสิตํ ความว่า ดูก่อนชีวก ท้าวอาทิผิด อักขระมหาพรหมละ
พยาบาทเป็นต้น ด้วยวิกขัมภนปหาน ละด้วยอำนาจการข่มไว้ ด้วยเหตุนั้น
ท้าวมหาพรหมนั้น จึงชื่อว่า อยู่ด้วยเมตตา ถ้าท่านกล่าวหมายถึงข้อนี้ด้วย
สมุจเฉทปหานละอย่างเด็ดขาดของเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็อนุมัติคำนี้ของท่าน
หมอชีวกก็รับ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงพรรณนาเทศนาให้ยิ่ง
ขึ้นไป แม้ด้วยอำนาจพรหมวิหารที่เหลือแก่หมอชีวกนั้น จึงตรัสว่า อิธ ชีวก
ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น คำนอกนั้นมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
อรรถว่า โย โข ชีวก นี้เป็นอนุสนธิที่แยกแสดงต่างหาก จริง
อยู่ ในฐานะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปิดประตู ทรงแสดงความเอ็นดูสัตว์
ก็ถ้าคนทั้งหลายถวายบิณฑบาตมีรสอย่างยิ่ง แก่ภิกษุไร ๆ นั้น อย่างนี้แล้ว
กลับได้สวรรค์ถึงแสนกัปไซร้ เขาก็จะพึงทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ทำ
ผู้อื่นให้ตายแล้ว ถวายบิณฑบาตมีรสได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงปฏิเสธความข้อนั้น จึงตรัสว่า โย โข ชีวก ตถาคตํ ดังนี้เป็นต้น.
ในคำนั้น คำว่า อิมินา ปฐเมน ฐาเนน ได้แก่ด้วยเหตุที่หนึ่ง ซึ่งเป็น
เพียงคำสั่งเท่านั้น อันนี้ก่อน. คำว่า คลปฺปเวฐเกน ได้แก่สัตว์ที่ถูกเชือก
ผูกคอลากมาหรือสัตว์ที่มีคอถูกผูกลากมา. คำว่า อารภิยมาโน ได้แก่ถูกเขา
ทำให้ตาย. คำว่า อกปฺปิเยน อสฺสาเทติ ความว่า คนที่ให้ภิกษุฉันเนื้อ
หมีด้วยสำคัญว่า เนื้อหมู ฉันเนื้อเสือเหลืองด้วยสำคัญว่าเนื้อมฤค ก็พูด
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论