星期五, 十月 18, 2019

Pratu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/779/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เดือน ๕ เดือน และ ๖ เดือน. บทว่า ตโต นํ ความว่า แต่นั้น ย่อม
อนุเคราะห์บุรุษผู้มีชาติเป็นบัณฑิตนั้น. บทว่า โอรสํ ได้แก่ ให้เติบโต
ไว้ที่อก เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดอาทิผิด อักขระแต่อก. อธิบายว่า ย่อม
อนุเคราะห์ โดยพยายามเพื่อกำจัดอันตรายที่เกิดขึ้นนั่นแหละ. บทว่า
ภทฺรานิ ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นว่าเป็นดี.
บทว่า อนุโมทิตฺวา ความว่า ทรงแสดงธรรมกถาแก่มหาอำมาตย์
ชื่อสุนีธะและวัสสการะ โดยอนุโมทนาส่วนบุญที่พวกเขาพากันขวนขวาย
ในกาลนั้น. ฝ่ายมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสะการะได้ฟังพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ควรอุทิศทักษิณาแก่เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในที่นั้น ๆ
จึงได้ให้ส่วนบุญแก่เทวดาเหล่านั้น.
บทว่า ตํ โคตมทฺวารํ นาม อโหสิ ความว่า ประตูอาทิผิด สระของพระนคร
นั้น อันได้นามว่า โคตมทวาร เพราะเป็นเหตุเสด็จออกของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า อนึ่ง ไม่ได้ชื่อว่าโคตมติฏฐะ เพราะไม่ได้หยั่งลงสู่ท่า เพื่อ
ข้ามแม่น้ำคงคา.
บทว่า ปูรา แปลว่า เต็ม. บทว่า สมติตฺติกา ได้แก่ เต็ม คือ
เปี่ยมด้วยน้ำ เสมอตลิ่ง. บทว่า กากเปยฺยา ได้แก่ มีน้ำที่กาซึ่งจับอยู่
ที่ฝั่ง สามารถจะดื่มได้. ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงเฉพาะที่เต็มเปี่ยม
ทั้งสองฝั่ง. บทว่า อุฬุมฺปํ ได้แก่ พ่วงที่เขาเอาไม้ขนานแล้วตอกลิ่ม
ทำไว้ เพื่อข้ามฝั่ง. บทว่า กุลฺลํ ได้แก่ แพที่เขาเอาเถาวัลย์ผูกไม้ไผ่
และไม้อ้อทำไว้.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ
ทั้งปวง ถึงความที่มหาชน ไม่สามารถจะข้าม แม้แต่น้ำในแม่น้ำคงคา
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: