星期五, 十一月 29, 2019

Ahan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/224/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่าด้วยวิธีมนสิการ อุทริยํ (อาหารใหม่)
อุทริยํ อาหารใหม่ ได้แก่ ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม
ที่อยู่ในท้อง บรรดาอาหารอาทิผิด สระใหม่เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อรากสุนัข
ตั้งอยู่ในรางสุนัข รางสุนัขย่อมไม่รู้ว่า รากสุนัขตั้งอยู่ในเรา แม้รากสุนัข
ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในรางสุนัข ดังนี้ ฉันใด ท้องก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมไม่รู้ว่า อาหารใหม่อยู่ในเรา แม้อาหารใหม่เล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่
ในท้อง ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารใหม่ที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้
ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง
ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ กรีสํ (อาหารเก่า)
กรีสํ อาหารเก่า ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งไส้ใหญ่ กล่าวคือกระเพาะอาหาร
เก่า เช่นกับกระบอกไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้ว ในอาหารเก่าเหล่านั้น พระโยคีพึง
มนสิการว่า เมื่อเอาดินเหนียวละเอียดสีเหลืองขยำใส่ในปล้องไม้ไผ่ ปล้องไม้ไผ่
ย่อมไม่รู้ว่า ก้อนดินเหนียวสีเหลืองตั้งอยู่ในเรา แม้ก้อนดินเหนียวสีเหลือง
ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ ดังนี้ ฉันใด กระเพาะอาหารเก่า
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า อาหารเก่าตั้งอยู่ในเรา แม้อาหารเก่าเล่าก็
ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระเพาะอาหารเก่า ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจาก
ความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารเก่าที่เป็น
โกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ
ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 28, 2019

Nai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/203/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖. ศีลสูตร

ว่าด้วยบ่อเกิดของบุญ

[๔๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าอาศัยหมู่บ้าน
หรือตำบลใดอยู่ คนในอาทิผิด สระหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญมาก ด้วยสถาน ๓
สถาน ๓ คืออะไร คือ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ บรรพชิตผู้มีศีล
เข้าอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ คนในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญ
มากด้วยสถาน ๓ นี้แล.
จบศีลสูตรที่ ๖

อรรถกถาศีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในศีลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ตีหิ ฐาเนหิ ความว่า ด้วยเหตุ ๓ อย่าง. ในบทว่า กาเยน
เป็นต้น มีอธิบายว่า คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายเดินมาจะทำการต้อนรับ
เมื่อไปก็ตามส่ง กระทำการนวดและชโลม (ด้วยน้ำมัน ) เป็นต้น ปูอาสนะ
ไว้บนอาสนศาลา ตั้งน้ำดื่มไว้ ชื่อว่า ย่อมได้บุญด้วยกาย.
คนทั้งหลายเห็นภิกษุสงฆ์กำลังเดินบิณฑบาต เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า
ท่านทั้งหลายจงถวายข้าวยาคู ข้าวสวย เนยใสและเนยข้นเป็นต้น จงบูชาด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น จงรักษาอุโบสถ จงฟังธรรม และจงไหว้พระ-
เจดีย์เถิด ดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยวาจา.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 27, 2019

Khon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   4/46/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน
พูดเปรยกระทบชาติทราม ว่ามีบางพวก
[๒๓๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ บางพวกเป็นชาติคนจัณฑาล บางพวกเป็นชาติคนจักสาน บางพวก
เป็นชาติพราน บางพวกเป็นชาติคนช่างหนัง บางพวกเป็นชาติคนอาทิผิด อักขระเทดอกไม้
ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก
[๒๓๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ บางพวกเป็นชาติกษัตริย์ บางพวกเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น
ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบนามทราม ว่ามีบางพวก
[๒๓๙] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน
ปรารถนาจะทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนั้น คือกล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ บางพวกชื่ออวกัณณกะ บางพวกชื่อชวกัณณกะ บางพวกชื่อธนิฏฐกะอาทิผิด อักขระ
บางพวกชื่อสวิฏฐกะอาทิผิด อักขระ บางพวกชื่อกุลวัฑฒกะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบนามอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก
. . . มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่อพุทธรักขิต บางพวกชื่อ
ธัมมรักขิต บางพวกชื่อสังฆรักขิต ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 25, 2019

Banthat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   9/90/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า วิทลกํ ได้แก่ การพับชายโดยรอบแห่งเสื่อหวายทำให้เป็น
๒ ชั้น พอได้ขนาดกับกระทงสะดึง.
บทว่า สุลากํ ได้แก่ ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าในระหว่างแห่งจีวร ๒ ชั้น.
บทว่า วินทฺธนรชฺชุํ ได้แก่ เชือกที่มัดแม่สะดึงเล็กกับแม่สะดึง
ใหญ่ ที่ไม้สะดึงนั้น.
บทว่า วินทุธนสุตฺตกํ ได้แก่ ด้ายที่ตรึงจีวรติดกับแม่สะดึงเล็ก.
สามบทว่า วินทฺธิตฺวา จีวรํ สิพฺเพตุํ มีความว่า เราอนุญาต
ให้ตรึงจีวรที่แม่สะดึงนั้น ด้วยด้ายนั้นแล้วเย็บ.
สองบทว่า วิสมา โหนฺติ มีความว่า ด้วยเกษียนบางแห่งเล็ก
บางแห่งใหญ่.
บทว่า กฬิมฺพกํ ได้แก่ วัตถุมีใบตาลเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
สำหรับทำการวัดขนาด.
บทว่า โมฆสุตฺตกํ ได้แก่ การทำแนวเครื่องหมาย ด้วยเส้น
บรรทัดอาทิผิด อักขระขมิ้น ดังการทำแนวเครื่องหมายที่ไม้ ด้วยเส้นบรรทัดดำของพวกช่าง
ไม้ฉะนั้น.
สองบทว่า องฺคุลิยา ปฏิคฺคณฺหนฺติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย
(เย็บจีวร) รับปากเข็มด้วยนิ้วมือ.
บทว่า ปฏิคฺคหํ ได้แก่ สนับแห่งนิ้วมือ.
ภาชนะมีถาดและผอบเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อภาชนะสำหรับใส่
และกระบอก.
บทว่า อุจฺจวตฺถุกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุถมดินทำพื้นที่
ให้สูง.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 24, 2019

Wibak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/474/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บูชายัญ และบำเพ็ญตบะเพื่อให้เป็นเทวดาเป็นต้นแม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์
ว่าเป็นทางดับทุกข์ เมื่อปรารถนาทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ก็ย่อมปรารภ
สังขารแม้ ๓ อย่าง โดยมุ่งหน้าพิธีกรรมมีการบูชายัญ และทำตบะเพื่อความ
เป็นเทวดาเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะบุคคลนั้น ยังไม่ได้ละอวิชชาในสัจจะ ๔ นั้น จึง
ไม่รู้อยู่ซึ่งทุกข์กล่าวคือผลแห่งบุญแม้ระคนด้วยโทษเป็นอเนกมีชาติ ชรา และ
มรณะเป็นต้น โดยความเป็นทุกข์พิเศษ ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารอันต่าง
ด้วยกายสังขารและวจีสังขาร เพื่อบรรลุทุกข์นั้น เหมือนผู้ต้องการนางฟ้า
(เทพอัปสร) ปรารถนาเกิดเป็นเทพบุตรฉะนั้น และเมื่อบุคคลนั้นแม้ไม่เห็น
ผลบุญนั้น แม้สมมติว่าเป็นสุขซึ่งถึงความเป็นทุกข์เพราะแปรปรวนอันยังความ
เร่าร้อนใหญ่ให้เกิดขึ้นในบั้นปลาย และความที่ผลบุญนั้นมีความสำราญน้อย
ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ซึ่งมีผลบุญนั้น
เป็นปัจจัย เหมือนตั๊กแตนบ่ายหน้าตกลงสู่เปลวประทีป และเหมือนบุคคลผู้
ติดใจในหยดน้ำผึ้งถึงกับเลียคมศัสตราที่เปื้อนน้ำผึ้งฉะนั้น.
อนึ่ง เมื่อไม่เห็นโทษในธรรมที่มีวิบากมีการเสพกามเป็นต้น ย่อม
ปรารภอปุญญาภิสังขาร แม้เป็นไปด้วยทวาร ๓ เพราะสำคัญว่าเป็นสุข
และเพราะความเป็นผู้ถูกกิเลสครอบงำแล้ว ดุจทารกเล่นอยู่ซึ่งคูถอันปฏิกูล
ดุจผู้ต้องการตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น และเมื่อไม่หยั่งรู้ความทุกข์อันมีความ
แปรปรวนแห่งสังสาร แม้ในวิบากอาทิผิด อักขระของความเป็นอรูป ก็ย่อมปรารภ อาเน-
ญชาภิสังขาร อันเป็นจิตตสังขารโดยวิปลาสมีความเที่ยงเป็นต้น ดุจคน
หลงทิศ เริ่มเดินทางมุ่งหน้าไปสู่นครปิศาจฉะนั้น. เพราะความที่อวิชชามีอยู่.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 22, 2019

Du Kon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/105/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่
ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่น
เพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่
แยบคาย.
[๔๑๓] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการไฟ แสวงหาไฟ
จึงเที่ยวเสาะหาไฟ เอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป ถ้าแม้ทำความหวัง
แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ ถ้าแม้
ทำความไม่หวังแล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกันไป เขาก็ไม่สามารถจะ
ได้ไฟ ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว เอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ
สีกันไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวัง
ก็มิใช่ แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ
นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะได้ไฟโดยวิธีไม่แยบคาย
ฉันใด ดูก่อนภูมิชะอาทิผิด ฉันนั้น เหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวก
หนึ่งที่มีทิฐิผิด ฯล ฯ มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติ
พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวัง
ก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่น เพราะเหตุไร
ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย
ว่าด้วยการบรรลุผล
[๔๑๔] ดูก่อนภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มี
ทิฐิชอบ มีสังกัปปะชอบ มีวาจาชอบ มีกัมมันตะชอบ มีอาชีวะชอบ มี
วายามะชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหม-
จรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 21, 2019

Omasa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/128/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มุสาวาทวรรค โอมสอาทิผิด อักขระวาทสิกขาบทที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์และโคนันทิวิสาล]
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอมสนฺติ คือ ย่อมกล่าวเสียดแทง.
บทว่า ขุํสนฺติ คือ ย่อมด่า.
บทว่า วมฺเภนฺติ คือ ย่อมขู่กรรโชก.
ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องนี้มาแสดง
เพื่อทรงตำหนิการกล่าวเสียดแทง.
คำว่า นนฺทิ ในคำว่า นนฺทิวิสาโล นาม (นี้) เป็นชื่อของโคถึก
นั้น. ก็โคถึกนั้น มีเขายาวใหญ่ เพราะเหตุนั้น เจ้าของจึงตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล,
โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นโคถึกชื่อนันทิวิสาล. พราหมณ์เลี้ยงดูโคถึกนั้น
อย่างดีเหลือเกิน ด้วยอาหารมียาคูและข้าวสวยเป็นต้น . ครั้งนั้น โคนันทิวิสาล
นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ จึงกล่าวคำว่า เชิญท่านไปเถิด ดังนี้เป็นต้น .
สองบทว่า ตตฺเถวอฏฺฐาสิ มีความว่า แม้ในกาลแห่งอเหตุกปฏิสนธิ
โคนันทิวิสาลย่อมรู้จักคำกล่าวเสียดแทงของผู้อื่นได้ โดยเป็นคำไม่เป็นที่พอใจ;
เพราะฉะนั้น มันใคร่เพื่อแสดงโทษแก่พราหมณ์ จึงได้ยืนนิ่งอยู่.
หลายบทว่า สกฏสตํ อติพทฺธํ ปวฏฺเฏสิ มีความว่า พระโพธิสัตว์
เมื่อจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่จอดไว้ตามลำดับสอดไม้ไว้ภายใต้ กระทำให้
ต่อเนื่องกันอันบรรทุกเต็มด้วยถั่วเขียว ถั่วเหลือง และทรายเป็นต้น. เกวียน
๑๐๐ เล่ม เป็นของอันตนจะต้องลากไปอีก ในเมื่อกำถึงส่วนของกำแรกตั้งอยู่
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 18, 2019

Samuthai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 14/302/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์. นี้เป็นทาง
ปฏิบัตินำออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนด อิริยาบถ ๔ รูปหนึ่ง
ฉะนี้แล.
จบอิริยาบถบรรพ

สัมปชัญญบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา โดยทาง
อิริยาบถ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางสัมปชัญญะ ๔
จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น ในสัมปชัญญบรรพนั้น คำว่า ก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น ทรงพรรณนาไว้แล้ว ในสามัญญผลสูตร. คำว่า หรือภายใน
ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น หรือในกาย
ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล โดยกำหนดสัมปชัญญะ ๔ อย่างนี้อยู่.
ความเกิด และความเสื่อมของรูปขันธ์นั้นแล พึงนำออกแสดงในคำว่า พิจารณา
เห็นธรรม คือความเกิดเป็นต้น แม้ในสัมปชัญญบรรพนี้. คำนอกจากนี้ ก็
เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

สติกำหนดสัมปชัญญะ เป็นอริยสัจ ๔

ในสัมปชัญญบรรพนี้ สติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ เป็นทุกขสัจ ตัณหา
ที่มีในก่อน อันยังสติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสมุทัยอาทิผิด สระสัจ การ
ไม่เกิดทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคมีประการดังกล่าว
มาแล้วเป็นมรรคสัจ ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อม
บรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล. นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของ
ภิกษุผู้กำหนดสัมปชัญญะ ๔ รูปหนึ่งฉะนี้แล.
จบสัมปชัญญบรรพ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 17, 2019

Phuta

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/525/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จริงอยู่ ในนามรูปที่เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น ขันธ์ ๓ มีเวทนา
เป็นต้น ชื่อว่า นาม ส่วนรูปที่นับเนื่องด้วยสันตติของตน พึงทราบว่า
ท่านเรียกว่า ภูตะอาทิผิด อักขระและวัตถุ โดยกำหนดอย่างนี้ คือ ภูตรูป ๔ วัตถุรูป ๖
และชีวิตินทรีย์ ก็นามรูปนั้น ท่านทำเอกเสสนัยไว้อย่างนี้ว่า นามด้วย รูปด้วย
นามรูปด้วย ชื่อว่า นามรูป. นามรูปนั้น พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่
สฬายตนะที่ท่านทำเอกเสสนัยอย่างนั้นแหละ ด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ฉฏฺฐาย-
ตนญฺจ สฬายตนญฺจ สฬายตนํ (อายตนะที่ ๖ ด้วย อายตนะ ๖ ด้วย
ชื่อว่า สฬายตนะ ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะอาทิผิด สระในอรูปภพ นามอย่างเดียว
เป็นปัจจัย และนามนั้นก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะทั้ง ๖ เท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยแก่
อายตนะอื่น เพราะในอัพยากตวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นามปจฺจยา
ฉฏฺฐายตนํ (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นามที่ทรง
สงเคราะห์ไว้ในทีนี้ พึงทราบว่าทรงจำแนกไว้ในอัพยากตวาระนั้นแล.*
ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไรว่า “นามรูป
เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะเล่า” ตอบว่า ทราบได้เพราะเมื่อนามรูปมีสฬายตนะก็มี.
จริงอยู่ เมื่อนามและรูปนั้น ๆ มี อายตนะนั้น ๆ ก็ย่อมมี มิใช่เป็นโดยประการอื่น
ก็สฬายตนะนั้นมีเพราะความที่นามรูปมีนั้นจักแจ่มแจ้งในนัยแห่งปัจจัยทีเดียว
เพราะฉะนั้น
นามรูปใด เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด
ในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาล และเป็น
ปัจจัยโดยประการใด บัณฑิตพึงแนะนำโดย
ประการนั้น.
* อภิ. วิ. เล่ม ๓๕ นี้ ๓๗๙/๒๓๕
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 15, 2019

Pa Cha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/44/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวว่า วิปกฺกํ ก็มี. เนื้อความคือเกิดแล้ว. ถึง
คราวนี้ ควรจะได้ประมวลปาฏิหาริย์มา ก็เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เป็นปาฏิอาทิผิด อักขระ-
หาริย์ ๕ อย่าง. คือ พระดำรัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักตายในวันที่ ๗
เขาก็ตายตามพระดำรัสนั้น นี้ เป็นปาฏิหาริย์ ข้อที่ ๑ พระดำรัสว่า เขา
จักตายด้วยโรค “อลสกะ” เขาก็ตายด้วยโรคอลสกะจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์
ข้อที่ ๒ พระดำรัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักเกิดในภพอสูรชื่อว่า กาลกัญ-
ชิกา เขาก็เกิดในภพอสูรจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๓. พระดำรัสว่า
พวกเดียรถีย์จักทิ้งซากศพไว้ในป่าช้า วีรณัตถัมภกะ เขาก็ถูกทิ้งในป่า-
ช้าอาทิผิด อักขระนั้นจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๔. พระดำรัสว่า เขาจักมาจากที่ตน
เกิดแล้ว กล่าวกับสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีเขาก็กล่าวจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์
ข้อที่ ๕.
บทว่า กฬารมชฺชโก คือ นักบวชเปลือย ผู้มีฟันและหนวดงอก
ออกมา หรือคำว่า กฬารมชฺชโก นี้เป็นชื่อของนักบวชเปลือยผู้นั้นเท่า
นั้น บทว่า ลาภคฺคปฺปตโต คือผู้ถึงความเลิศด้วยลาภ อธิบายว่าผู้ประสบ
ลาภที่ดีเลิศ บทว่า ยสคฺคปฺปตฺโต คือ ประสบความเลิศด้วยยศ คือมี
บริวารอย่างยอดเยี่ยม. บทว่า วตฺตปทานิ คือข้อปฏิบัติทั้งหมด หรือข้อ
ปฏิบัติบางส่วน บทว่า สมตฺตานิ ได้แก่ ถือเอา. บทว่า สมาทินฺนานิ
เป็นไวพจน์ของบทว่า สมตฺตานิ นั่นแล. คำว่า ปุรตฺถิเมน เวสาลิํอาทิผิด อักขระ ได้
แก่อาทิผิด ในทิศบูรพาใกล้กรุงเวสาลี. บทว่า เจติยํ คือเป็นเจดีย์สถานของยักษ์.
ทุก ๆ บท ก็มีนัยเช่นนี้.
คำว่า เยน อเจโล มีอธิบายว่า สุนักขัตตะ โอรสเจ้าลิจฉวี
กระทำวัตรพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ไปทางทิศที่ อเจลกปริพาชก
ชื่อว่า กฬารมัชชกะ อยู่. บทว่า ปญฺหํ ปุจฺฉิ คือ ถามปัญหาที่ประกอบ
ด้วยไตรลักษณ์อย่างลึกซึ้ง. บทว่า น สมฺปายาสิ อธิบายว่า กฬารมัชชก-
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 14, 2019

Khaphachao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/669/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธรณีมหิสฺสรา มีอรรถาธิบายว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ผู้คุ้มครองแผ่นดิน พระคาถา ๔
พระคาถาเกิดขึ้นแล้วอย่างไร มีข้อความอันลึกซึ้งประเสริฐยิ่งนัก เปรียบ
ด้วยสาคร ข้าพระองค์มายังสถานที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง ขอ
พระองค์จงทรงสดับคาถาอันควรแก่ค่าราคาร้อยหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประ-
โยชน์อย่างยิ่ง อันพระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้แล้วนี้เถิด.
พราหมณ์ทูลดังนั้นแล้ว ทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คาถาชื่อว่า
สตารหา ๔ พระคาถานี้ พระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับว่า
พระองค์ทรงโปรดปรานในการศึกษา จึงมาเพื่อแสดงแก่พระองค์ พระราชามี
พระหฤทัยโสมนัส ตรัสว่า ท่านอาจารย์ ท่านมาดีแล้ว แต่ข้าพเจ้าไม่อาจจะ
กลับจากที่นี่ได้ วันนี้ข้าพเจ้าจักมาสรงเศียรโดยคลองแห่งผุสสนักษัตรฤกษ์
เพราะฉะนั้น. ข้าพเจ้าอาทิผิด สระจักมาฟังในวันพรุ่งนี้ ขอท่านอย่าได้หน่ายแหนงไปเลย
แล้วตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงไปจัดที่นอนให้แก่พราหมณ์ ที่เรือน
หลังโน้น จงจัดอาหารและผ้านุ่งด้วย แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระราช-
อุทยาน พระราชอุทยานนั้นแวดล้อมด้วยกำแพงสูง ๑๘ ศอก ช้างยืนเรียง
ต่อ ๆ กัน แวดวงเป็นหลั่น ๆ ไป ต่อนั้นออกไปเป็นขบวนม้า ต่อออกไปก็
เป็นขบวนรถ ถัดไปเป็นขบวนนายขมังธนู ถัดไปเป็นขบวนคนเดินเท้า ตั้ง
ล้อมวงเป็นลำดับกันดังนี้แล พลนิกายได้บันลือลั่นดุจมหาสมุทรที่กำเริบฉะนั้น
พระราชาทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว ให้ทำมัสสุกรรม มีพระสรีระ
อันฟอกแล้วด้วยจุณสำหรับสนาน เสด็จสรงภายในมงคลสระโบกขรณี ตาม
พระราชประเพณีแล้ว เสด็จขึ้นทรงพระภูษาซับพระองค์ประทับ ยืนอยู่.
ลำดับนั้น เจ้าพนักงานทูลเกล้าถวายพระภูษาของหอมดอกไม้และเครื่อง
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 12, 2019

Thamnai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/20/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประสงค์จะรู้ทั่วถึงเข้าหาบรรพชิต สอบถาม
ตั้งใจฟังด้วยดี มุ่งความเจริญ อยู่ภายใน
ไตร่ตรองอรรถกถา
มาอุบัติเป็นมนุษย์ มีพระฉวีละเอียด
เพราะกรรมที่ได้ปัญญา บัณฑิตผู้ฉลาดใน
ลักษณะ และนิมิต ทำนายอาทิผิด สระว่า พระราชกุมาร
เช่นนี้ จะทรงหยั่งทราบอรรถ อันสุขุมแล้ว
เห็นอยู่
ถ้าไม่เข้าถึงบรรพชาก็จะยังจักรให้เป็นไป
ปกครองแผ่นดิน ในการสั่งสอนสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ และในการกำหนด ไม่มีใคร
ประเสริฐหรือเสมอเท่าพระองค์
ถ้าพระราชกุมารเช่นนั้นออกทรงผนวช
ยินดีด้วยความพอพระทัยในเนกขัมมะ มีพระ
ปรีชาเห็นแจ่มแจ้ง ทรงได้พระปรีชาอันพิเศษ
อันยอดเยี่ยม บรรลุโพธิญาณ ทรงพระปรีชา
ประเสริฐกว้างขวางดังแผ่นดิน.
[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นผู้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความแค้นใจแม้
คนหมู่มากว่าเอาก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่จองผลาญ ไม่ทำความ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 10, 2019

Asava

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/64/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ธรรมวินัยนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอาทิผิด อักขระ ปรินิพ-
พาน ภิกษุพหูสูตเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรม
เครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขาแล.
อานิสงส์ในอาวาสทานแม้นี้ ก็มีด้วยประการฉะนี้. คำว่า อยมฺปิจานิ-
สํโส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอานิสังสกถาในอาวาสทาน ตลอดราตรี
เป็นอันมาก คือเกินสองยามครึ่ง. ในพระบาลีนั้น คาถาเหล่านี้เท่านั้น ท่าน
ยกขึ้นสู่สังคีติ (สังคายนา) ส่วนปกิณณกธรรมเทศนาหาขึ้นสู่สังคีติไม่. คำว่า
สนฺทสฺเสมิ เป็นต้น มีเนื้อความที่กล่าวแล้วทั้งนั้น. คำว่า อายสฺมนฺตํ
อานนฺทํ อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้
ท่านพระอานนท์กล่าวธรรมกถา จึงรับสั่งให้ทราบ. ถามว่า ก็เมื่อพระมหาเถระ
ผู้เป็นพระอสีติมหาสาวก เช่นท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะและ
ท่านพระมหากัสสปะเป็นต้น ก็มีอยู่ เหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงมอบภาระ
ให้ท่านพระอานนทเถระเล่า ? ตอบว่า เพราะอำนาจอัธยาศัยของบริษัท เป็น
ความจริงท่านพระอานนท์มีชื่อเสียงปรากฏ ไปในฝ่ายเจ้าศากยะว่า เป็นยอดของ
เหล่าภิกษุผู้เป็นพหูสูต สามารถจะกล่าวธรรมกถาได้ไพเราะ ด้วยบทพยัญชนะ
ที่กลมกล่อม เหล่าเจ้าศากยะแม้เสด็จไปพระวิหาร ก็เคยฟังธรรมกถาของ
ท่าน ส่วนฝ่ายในแห่งเจ้าศากยะเหล่านั้น ไม่ได้โอกาสที่จะไปยังพระวิหารได้
ตามความพอใจ เจ้าศากยะเหล่านั้นจึงได้ดำริอยู่แต่ในใจว่า น่าที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจะตรัสธรรมกถาแต่น้อย ๆ แล้วทรงมอบภาระให้ท่านพระอานนท์ พระ
ญาติผู้ประเสริฐของเรา. เพราะอำนาจอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงทรงมอบภาระให้ท่านพระอานนท์นั้นแต่องค์เดียว. คำว่า เสโข
ปฏิปโท ได้แก่ เป็นเสขสมณะผู้ปฏิบัติพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสว่า เสข-
ปฏิปทาจงแจ่มแจ้ง ปรากฏแก่เธอ เธอจงแสดงปฏิปทาของเสขสมณะนั้น ทรง
กำหนดบุคคลแสดงด้วยปฏิปทา.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 07, 2019

Upatthak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 40/31/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บาทมูล กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญเจ้าข้า ข้าพเจ้าเห็นเหตุนี้แล้วจึงไม่ยอม
ให้ท่านบวช” ดังนี้เป็นต้นแล้ว ทำเด็กทาส ๒ คนให้เป็นไทให้บวช
ในสำนักของพระเถระแล้ว สั่งว่า “ท่านทั้งหลาย จงนำเอาของฉันมี
ข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น มาจากภายในบ้านอุปัฏฐากอาทิผิด อักขระพระเถระ” ดังนี้
แล้ว มอบให้แล้ว. สามเณรทั้งหลาย ก็ทำวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากพระเถระ
แล้ว.
ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในทิศ (ผู้อยู่ที่อื่น) มาสู่
พระเชตวัน ด้วยหวังว่า “ จักเฝ้าพระศาสดา" ถวายบังคมพระศาสดา
เยี่ยมพระอสีติมหาเถระแล้ว เที่ยวจาริกอยู่ในวิหาร ถึงที่อยู่ของพระจักขุ-
ปาลอาทิผิด อักขระเถระแล้ว มีหน้าตรงต่อที่นั้นในเวลาเย็น ด้วยหวังว่า "จักดูแม้
ที่นี้.”
ในขณะนั้น มหาเมฆตั้งขึ้นแล้ว. พวกเธอคิดว่า “เดี๋ยวนี้เย็น
แล้ว, และเมฆก็ตั้งขึ้นแล้ว, เราจักมาดูแต่เช้าเทียว” ดังนี้แล้วกลับไป.
ฝนตกในปฐมยาม หยุดในมัชฌิมยาม. พระเถระเป็นผู้ (เคย) ปรารภ
ความเพียร เดินจงกรมเป็นอาจิณ; เหตุฉะนั้น จึงลงสู่ที่จงกรมแล้วใน
ปัจฉิมยาม. แลในกาลนั้น ตัวแมลงค่อมทอง (หรือแมลงเม่า) เป็น
อันมาก ตั้งขึ้นแล้ว บนพื้นที่ฝนตกใหม่. ตัวเหล่านั้น เมื่อพระเถระ
จงกรมอยู่ ได้วิบัติ (ตาย) โดยมาก.
พวกอันเตวาสิก ยังไม่ทันกวาดที่จงกรมของพระเถระแต่เช้า. ฝ่าย
พวกภิกษุนอกนี้ มาด้วยหวังว่า “ จักดูที่อยู่ของพระเถระ” เห็นสัตว์
ทั้งหลายในที่จงกรมแล้ว ถามว่า “ใครจงกรมในที่นี้.” พวกอันเตวาสิก
ของพระเถระตอบว่า “ อุปัชฌาย์ของพวกกระผมขอรับ.” เธอทั้งหลาย
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 05, 2019

Watthu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/294/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
รายละเอียดเรื่องตัณหาหมวดนี้ไว้อย่างนี้ว่า “ฉันทราคะ ที่ประกอบด้วย
กามธาตุ ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอรูปธาตุ”. ด้วย วาระนี้ ท่านแสดงอย่างไร.
ท่านรวมเอาตัณหาทั้งหมดไว้ด้วยกามตัณหาว่า “ธรรมทั้งปวงที่เป็นไปใน
ภูมิ ๓ ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ด้วยอรรถว่า น่ากำหนัดยินดี” แล้ว
แสดงตัณหา ๒ อย่างนอกนี้แยกออกจากกามตัณหานั้น. พึงทราบวินิจฉัย
ในรูปตัณหาเป็นต้น. ฉันทราคะในรูปภพ ชื่อว่า รูปตัณหา. ฉันทราคะ
ในอรูปภพ ชื่อว่า อรูปตัณหา. ราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฐิ ชื่อว่า
นิโรธตัณหา.
พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชน์ ๓ อย่าง. ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะ
อรรถว่า ร้อยรัดผูกพันไว้ในวัฏฏะ. ความเห็นในกายเช่นรูป เป็นต้น
ว่ามีอยู่ หรือว่า ความเห็นในกาย อันมีอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฐิ.
เมื่อพิจารณาเลือกเฟ้นอยู่ ย่อมสงสัย คือไม่สามารถที่จะตกลงใจได้ เพราะ
ธรรมชาติอันนี้ ดังนั้น ธรรมชาติอันนั้นจึงชื่อว่า วิจิกิจฉา. บุคคลย่อม
ลูบคลำ ( ยึดติด ) ศีลด้วย วัตรด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.
แต่ว่าโดย ความหมายแล้ว ทิฐิอันมีวัตถุอาทิผิด อักขระ ๒๐ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
“ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตัวตน” ชื่อว่า สักกายทิฐิ ฯ ความสงสัยอัน
มีวัตถุ ๘ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า “ย่อมสงสัยในพระศาสดา” ชื่อว่า
วิจิกิจฉา. การยึดถืออย่างผิดปรกติ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า “บางคน
ในโลกนี้ ลูบคลำ ( ยึดติด ) ศีล ลูบคลำวัตร” ลูบคลำศีลพรตว่า
“หมดจดได้ด้วยศีล หมดจดได้ด้วยวัตร, หมดจดได้ด้วยศีลพรต, ทิฐิ
ความเห็นไปข้างทิฐิมีลักษณะอย่างนี้” ดังนี้ ชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.
 
พระปิฎกธรรม