星期四, 十一月 21, 2019

Omasa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/128/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มุสาวาทวรรค โอมสอาทิผิด อักขระวาทสิกขาบทที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์และโคนันทิวิสาล]
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอมสนฺติ คือ ย่อมกล่าวเสียดแทง.
บทว่า ขุํสนฺติ คือ ย่อมด่า.
บทว่า วมฺเภนฺติ คือ ย่อมขู่กรรโชก.
ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องนี้มาแสดง
เพื่อทรงตำหนิการกล่าวเสียดแทง.
คำว่า นนฺทิ ในคำว่า นนฺทิวิสาโล นาม (นี้) เป็นชื่อของโคถึก
นั้น. ก็โคถึกนั้น มีเขายาวใหญ่ เพราะเหตุนั้น เจ้าของจึงตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล,
โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นโคถึกชื่อนันทิวิสาล. พราหมณ์เลี้ยงดูโคถึกนั้น
อย่างดีเหลือเกิน ด้วยอาหารมียาคูและข้าวสวยเป็นต้น . ครั้งนั้น โคนันทิวิสาล
นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ จึงกล่าวคำว่า เชิญท่านไปเถิด ดังนี้เป็นต้น .
สองบทว่า ตตฺเถวอฏฺฐาสิ มีความว่า แม้ในกาลแห่งอเหตุกปฏิสนธิ
โคนันทิวิสาลย่อมรู้จักคำกล่าวเสียดแทงของผู้อื่นได้ โดยเป็นคำไม่เป็นที่พอใจ;
เพราะฉะนั้น มันใคร่เพื่อแสดงโทษแก่พราหมณ์ จึงได้ยืนนิ่งอยู่.
หลายบทว่า สกฏสตํ อติพทฺธํ ปวฏฺเฏสิ มีความว่า พระโพธิสัตว์
เมื่อจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่จอดไว้ตามลำดับสอดไม้ไว้ภายใต้ กระทำให้
ต่อเนื่องกันอันบรรทุกเต็มด้วยถั่วเขียว ถั่วเหลือง และทรายเป็นต้น. เกวียน
๑๐๐ เล่ม เป็นของอันตนจะต้องลากไปอีก ในเมื่อกำถึงส่วนของกำแรกตั้งอยู่
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: