Samuthai
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 14/302/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์. นี้เป็นทาง
ปฏิบัตินำออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนด อิริยาบถ ๔ รูปหนึ่ง
ฉะนี้แล.
จบอิริยาบถบรรพ
สัมปชัญญบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา โดยทาง
อิริยาบถ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางสัมปชัญญะ ๔
จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น ในสัมปชัญญบรรพนั้น คำว่า ก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น ทรงพรรณนาไว้แล้ว ในสามัญญผลสูตร. คำว่า หรือภายใน
ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น หรือในกาย
ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล โดยกำหนดสัมปชัญญะ ๔ อย่างนี้อยู่.
ความเกิด และความเสื่อมของรูปขันธ์นั้นแล พึงนำออกแสดงในคำว่า พิจารณา
เห็นธรรม คือความเกิดเป็นต้น แม้ในสัมปชัญญบรรพนี้. คำนอกจากนี้ ก็
เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
สติกำหนดสัมปชัญญะ เป็นอริยสัจ ๔
ในสัมปชัญญบรรพนี้ สติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ เป็นทุกขสัจ ตัณหา
ที่มีในก่อน อันยังสติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสมุทัยอาทิผิด สระสัจ การ
ไม่เกิดทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคมีประการดังกล่าว
มาแล้วเป็นมรรคสัจ ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อม
บรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล. นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของ
ภิกษุผู้กำหนดสัมปชัญญะ ๔ รูปหนึ่งฉะนี้แล.
จบสัมปชัญญบรรพ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论