星期二, 十一月 29, 2022

Rokhaphat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/277/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๑๔๙] กษัตริย์ที่กำลังเสด็จมานั้น คือ พระเจ้า
มโนชราชาธิราชเป็นเพียงดังพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่กว่า
เทวดาชั้นดาวดึงส์ เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันท-
ดาบส กำลังมาสู่อาศรมอันเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์
เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุด ดุจคลื่นใน
มหาสมุทร กำลังตามหลังพระเจ้ามโนชะนั้นมา.
[๑๕๐] พระราชาทุกพระองค์ ทรงลูบไล้ด้วย
จันทน์หอม ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์
ทรงประคองอัญชลีเข้าไปยังสำนักของฤๅษีทั้งหลาย.
[๑๕๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญไม่มีโรคาพาธอาทิผิด สระดอกหรือ
พระคุณเจ้าสุขสำราญดีอยู่หรือ พระคุณเจ้าพอยังอัต-
ภาพให้เป็นไปได้สะดวกด้วยการแสวงหามูลผลาหาร
แลหรือ เหง้ามันและผลไม้มีมากแลหรือ เหลือบ ยุง
และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อน-
กล่นไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนบ้างหรือ.
[๑๕๒] ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลาย
ไม่มีโรคาพาธ มีความสุขสำราญดี เยียวยาอัตภาพ
ได้สะดวกด้วยการแสวงหามูลผลาหาร ทั้งมูลมันผลไม้
ก็มีมาก เหลือบ ยุงและสัตว์เลื้อยคลานมีน้อย ในป่า
อันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤคไม่มีมาเบียดเบียนอาต-
มภาพ เมื่ออาตมภาพได้อยู่ในอาศรมนี้หลายปี มาแล้ว
อาตมภาพไม่รู้สึกอาพาธอันไม่เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 28, 2022

Sombun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 42/390/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๔. ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี ภัยย่อม
เกิดแต่ความยินดี ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษ
แล้วจากความยินดี ภัยจักมีแต่ที่ไหน
๕. ความโศกย่อมเกิดแต่กาม ภัยย่อมเกิดแต่
กาม ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจาก
กาม ภัยจักอาทิผิด มีแต่ที่ไหน.
๖. ความโศกย่อมเกิดเพราะตัณหา ภัยย่อมเกิด
เพราะตัณหา ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากตัณหา ภัยจักมีแต่ที่ไหน.
๗. ชนย่อมทำท่านผู้สมบูรณ์อาทิผิด อักขระด้วยศีลและทัสสนะ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้มีปกติกล่าวแต่วาจาสัตย์ ผู้กระทำ
การงานของตนนั้นให้เป็นที่รัก.
๘. ภิกษุผู้มีฉันทะเกิดแล้ว ในพระนิพพาน
อันใคร ๆ บอกไม่ได้ พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี
ผู้มีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลายก็ดี ท่านเรียกว่า
ผู้มีกระแสในเบื้องบน.
๙. ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษ
ผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี
ย่อมยินดียิ่งว่ามาแล้ว ฉันใด บุญทั้งหลายก็ย่อม
ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งจากโลกนี้สู่โลก
หน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้วต้อนรับอยู่
ฉันนั้น.
จบปิยวรรคที่ ๑๖
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 27, 2022

Klum Lum

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/8/16  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กิเลสห้อมล้อมจับไว้ได้แล้ว เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่ไปสู่พระนิพพานมีอยู่
แต่ไม่แสวงหาทางนั้น หาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้น
เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้รักษาความ
เจ็บป่วยมีอยู่ หากเขาไม่แสวงหาหมอนั้นให้รักษาความเจ็บป่วย ข้อนั้นหาเป็น
ความผิดของหมอไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลส
เบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในการระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็น
ความผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลสให้พินาศไม่
ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
บุรุษผู้ตกอยู่ในคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไป
หาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระไม่ฉันใด
เมื่อสระคืออมตะในการที่จะชำระล้างมลทินคือกิเลส
มีอยู่ เขาไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของ
สระคืออมตะไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.
คนผู้ถูกศัตรูกลุ้มรุมเมื่อทางหนีไปมีอยู่ไม่หนีไป
ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ฉันใด คนที่ถูกกิเลส
กลุ้มรุมอาทิผิด อาณัติกะ เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ไม่ไปหาทางนั้น ข้อ
นั้น หาเป็นความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
คนผู้เจ็บป่วยเมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้
รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของ
หมอนั้นไม่ ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วย
คือกิเลสเบียดเบียนแล้ว ไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้น
หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十一月 26, 2022

Nai Chai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/493/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๑. . . . มีจำนวนเท่ากัน
๑๒. . . . มีจำนวนน้อยกว่า. . .
๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
๑๔. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .
๑๕. . . . จำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว
พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
ฝืนใจอาทิผิด อักขระทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ จบ

มุ่งความแตกร้าวทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ
[๑๙๕] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ
มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มาและมุ่งความแตกร้าวว่า ขอ
ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุ
เหล่านั้น ดังนี้ จึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์
ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวด
ปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .
๓. . . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว ก็เป็น อันสวดดีแล้ว
พวกภิกษุที่มาทีหลัง พึงฟังส่วนที่เหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 23, 2022

Khao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/760/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป
กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ
อกุศลมูลนั้น อกุศลอื่นของเขาจักปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้จักเป็น
ผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนด
รู้ใจบุคคลด้วยใจ กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษ กำหนด
รู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า ธรรมขาวของบุคคลนี้ แม้
ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศล
ธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว เมื่อตายไปจักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่หักเน่า ถูกลมและแดดแผดเผา อันบุคคลปลูก ณ
ที่ดินซึ่งพรวนดีแล้วในนาดี เธอพึงทราบไหมว่า เมล็ดพืชนี้จักไม่ถึงความ
เจริญงอกงามไพบูลย์.
อา. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา
เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจอย่างนี้ว่า ธรรมขาวอาทิผิด อักขระของบุคคลนี้ แม้
ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศล
ธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจ กำหนดรู้
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 22, 2022

Phumi Phraphak Chao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/236/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อสนโพธิยเถราปทานที่ ๑๐ (๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการปลูกไม้โพธิ์
[๖๒] เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
เป็นนายกของโลก เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้เข้า
ไปเฝ้าพระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน เราร่าเริง มีจิตโสมนัส
ได้ปลูกไม้โพธิ์อันอุดม ถวายแด่พระผู้มีอาทิผิด สระพระภาคเจ้าพระนาม
ว่าติสสะเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ต้นไม้อันงอกขึ้นบนแผ่น
ดิน โดยนามบัญญัติชื่อว่าอสนะ (ประดู่) เราบำรุงโพธิ์ชื่อ
อสนะอันอุดมนี้อยู่ ๕ ปี.
จึงได้เห็นต้นไม้มีดอกบานน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุให้
ขนพองสยองเกล้า เมื่อจะประกาศกรรมของตน จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
เวลานั้นองค์พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ เป็นสยัมภู
อัครบุคคล ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า.
ผู้ใดปลูกต้นโพธิ์นี้ และกระทำพุทธบูชาโดยเคารพ เรา
จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติในเทวดาทั้งหลาย ตลอด
๓๐ กัป และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๔ ครั้ง เคลื่อนจาก
ดุสิตพิภพแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว
จักรื่นรมย์อยู่ในความเป็นมนุษย์ ผู้นั้นมีใจแน่วแน่เพื่อความ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 18, 2022

Phatthawadi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/256/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้
วันละ ๕๐ โยชน์ หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าจัณฑ-
ปัชโชตด้วยกราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด ครั้นให้
พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยเนยใสแล้วก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนครไปโดย
ช้างพังภัททวดีอาทิผิด อักขระ. ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้
ทำให้ทรงเรอขึ้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า พนายทั้ง
หลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่มเนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมา
เร็วไว.
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้าง
พังภัททวดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิด
กับอมนุษย์ เดินทางได้วันละ ๖๐ โยชน์ พระเจ้าจัณฑอาทิผิด ปัชโชตจึงดำรัสสั่งกากะมหาด
เล็กว่า พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญหมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์
พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งอาทิผิด สระให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้แลมีมารยามาก
เจ้าอย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันชีวกโกมารภัจจ์ ผู้กำลังรับ
ประทานอาหารมื้อเช้าในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี จึงได้เรียนแก่ชีวก
โกมารภัจจ์ว่าท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เชิญท่านกลับไป.
ชี. นายกากะ ท่านจงรออยู่เพียงชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร
เชิญท่านรับประทานอาหารด้วยกันเถิด.
ก. ช่างเถิด ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่า นาย
กากะ ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้มีมารยามาก อย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 17, 2022

Nipphan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 28/281/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ
สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ใน
มโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพาน.
จบ จตุตถสัปปายสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนิจจนิพพานสัปปายสูตรที่ ๒ เป็นต้น
ในอนิจจนิพพานสัปปายสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิพฺพานสปฺปายํ ได้แก่ อันเป็นสัปปายะ คือ ปฏิปทาอัน
เป็นอุปการะแก่พระนิพพาน. แม้ในสูตรที่ ๓ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
แต่ในพระสูตรทั้ง ๔ นี้ ตรัสมรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนาโดยลำดับ.
จบ อรรถกถาอนิจจนิพพานอาทิผิด อักขระสัปปายสูตรที่ ๒ - ๕
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十一月 15, 2022

Paliphot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/539/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คิดว่า จงเป็นของสาธารณะกับหมู่สงฆ์ ย่อมเห็นเสมือนเป็นของสงฆ์ ที่จะต้อง
ตีระฆังให้มาบริโภคร่วมกัน. ถามว่า ก็ใครบำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ให้บริบูรณ์ได้
ใครไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ? ตอบว่า ผู้ทุศีล ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ไม่ได้ ก่อน
เพราะภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย จะไม่ยอมรับสิ่งของของผู้ทุศีลนั้น. ส่วนภิกษุผู้มีศีล
บริสุทธิ์ไม่ยอมให้วัตรด่างพร้อย ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้. ในการบำเพ็ญ
สาราณียธรรมให้บริบูรณ์ได้นั้น มีธรรมเนียม ดังนี้.
ก็ภิกษุใดตั้งใจให้ของแก่มารดาก็ดี แก่บิดาก็ดี แก่อาจารย์และ
อุปัชฌาย์เป็นต้นก็ดี ภิกษุนั้น (ชื่อว่า) ย่อมให้สิ่งที่ควรให้ (แก่คนที่ควรให้)
แต่ไม่ชื่อว่า มีสาราณียธรรม มีแต่เพียงการปฏิบัติผู้ที่ควรห่วงใย. เพราะว่า
สาราณียธรรม ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่พ้นจากปลิโพธอาทิผิด สระ (ความห่วงใย) แล้ว.
ก็ผู้ที่จะบำเพ็ญสาราณียธรรมนั้น เมื่อจะให้โดยเจาะจง ควรให้แก่ภิกษุไข้
ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง และภิกษุ
ผู้บวชใหม่ ยังไม่รู้การรับสังฆาฏิ และการรับบาตร ครั้นให้แก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว
ยังมีของเหลือ นับจำเดิมแต่อาสนะแห่งพระเถระไป ภิกษุใดจะรับเท่าใด
ควรให้ภิกษุนั้น เท่านั้น โดยไม่ให้องค์ละเล็กละน้อย. เมื่อไม่มีของเหลือ
ออกไปบิณฑบาตอีก ควรให้ส่วนที่ประณีตนั้น ๆ จำเดิมแต่อาสนะแห่งพระ-
เถระไป (ตัวเอง) บริโภคส่วนที่เหลือ.
เพราะมีพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ ดังนี้ ถึงจะไม่ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลก็ควร.
ก็สาราณียธรรมนี้ บำเพ็ญได้ง่าย ในบริษัทที่ศึกษาดีแล้ว เพราะในหมู่บริษัท
ที่ศึกษาดีแล้ว ภิกษุใดได้ (อาหาร) มาจากที่อื่น ภิกษุนั้นจะไม่ยอมรับ
ถึงแม้จะไม่ได้มาจากที่อื่น ก็จะรับแต่พอประมาณเท่านั้น ไม่รับจนเหลือเฟืออาทิผิด .
ก็สาราณียธรรมนี้ เมื่อภิกษุจะให้ของที่ตนไปบิณฑบาตได้มาบ่อย ๆ อย่างนี้
จะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ต้องใช้เวลา ๑๒ ปี ต่ำกว่านั้นบริบูรณ์ไม่ได้.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十一月 12, 2022

Pen Suk

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/221/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๔. ผาสุสูตร
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขอาทิผิด ๕ ประการ
[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ๑ บรรลุ
ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ๑ ภิกษุมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็น
สุข ๑ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับ
โสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล.
จบผาสุสูตรที่ ๔
อรรถกถาผาสุสูตร
ในผาสุสูตรที่ ๔ บทว่า ผาสุวิหารา ได้แก่ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข
จบอรรถกถาผาสุสูตรที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 11, 2022

Mae

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/217/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เปรียบเหมือนตาชั่งที่กำลังชั่งของ ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง
เมื่อเอาของหนักออกเสีย ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้นฉะนั้น.
นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะ
ได้เสพบาปกรรม ที่ตนกระทำไว้ในปางก่อน บาป
ของเขาจะหมดสิ้น เขาจึงมายินดีในวินัยอย่างนั้น ทูล
กระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก ทรงดำเนินทาง
ผิดเลยเพคะ.
[๘๖๒] ข้าแต่พระราชบิดา บุคคลคบคนเช่น
ใดๆ เป็นบุรุษผู้มีศีลหรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขาย่อม
ตกอยู่ในอำนาจของผู้นั้น บุคคลกระทำคนเช่นใด
ให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อม
เป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
ได้ ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัย
ผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง
ฉะนั้น.
นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามกเป็นสหาย
เพราะกลัวจะแปดเปื้อน การเสพคนพาล ย่อมเป็น
เหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่น
เหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น ส่วนการคบหาสมาคมกับนัก
ปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม
แม้อาทิผิด อาณัติกะใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังใบอาทิผิด สระไม้สำหรับห่อ
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十一月 09, 2022

Nueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 8/171/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หมวดที่ ๕
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่
เป็นธรรม อาทิผิด สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๗
[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอัน
เป็นบาป ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่
เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十一月 07, 2022

Phu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/32/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถ. เพราะเรื่องอะไร
ต. เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ขอจีวร กะเศรษฐีบุตรผู้
มิใช่ญาติ.
มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖. . .
[๓๓] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ขอจีวร
ยิ่งกว่านั้น กะพ่อเจ้าเรือนก็ดี กะแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี
ถ. ทรงปรารภใคร
ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์
ถ. เพราะเรื่องอะไร
ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์ ไม่รู้ประมาณแล้วขอจีวรเป็นอันมาก.
มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย
สมุฏฐาน ๖. . .
[๓๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้อันเขา
ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติแล้วถึงการกำหนดในจีวร
ณ ที่ไหน
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี
ถ. ทรงปรารภใคร
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十一月 06, 2022

Khropngam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/134/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มาตุคามนี้ มิใช่ผูกพันเพียงเท่านี้ แม้บวม
ขึ้น ตายไปแล้วก็ยังผูกพันชายได้ กามคุณ
๕ นี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อม
ปรากฏในรูปหญิง เหล่าชนผู้ถูกห้วงกาม
พัด ไม่กำหนดรู้กาม มุ่งคติในกาลและ
ภพน้อยภพใหญ่ในสงสาร ส่วนชน
เหล่าใดกำหนดรู้กาม ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
เที่ยวไป ชนเหล่านั้นบรรลุถึงความสิ้น
อาสวะ ย่อมข้ามอาทิผิด สระฝั่งสงสารในโลกได้.
จบมาตุปุตติกสูตรที่ ๕
อรรถกถามาตุปุตติกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมาตุปุตติกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริยาทาย ติฏฺฐติ ความว่า ย่อมครอบงำอาทิผิด สระคือยึดเอา ได้แก่
ให้ส่ายไปตั้งอยู่. บทว่า อุคฺฆานิตา ได้แก่ พองขึ้น.
บทว่า อสิหตฺเถน ความว่า แม้กับผู้ถือเอาดาบมา หมายตัดศีรษะ.
บทว่า ปิสาเจน ความว่าแม้กับยักษ์ที่มาหมายจะกิน. บทว่า อาสทฺเท แปลว่า
พึงแตะต้อง. บทว่า มญฺชุนา แปลว่า อันอาทิผิด อักขระอ่อนโยน. บทว่า กาโมฆวุฬฺหานํ
คือ อันโอฆะคือกามพัดพาไปคร่าไป. บทว่า กาลํ คตึ ภวาภวํ คือ ซึ่งคติ
และการมีบ่อย ๆ ตลอดกาลแห่งวัฏฏะ. บทว่า ปุรกฺขตา คือให้เที่ยวไป
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十一月 05, 2022

Nana Khanika

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 88/106/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่
เกิดภายหลัง และโมหะ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตปัจจัย.

๑๒. อาเสวนปัจจัย
[๘๘] ๑. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย เหมือนกับ อนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะก็ดี ภวังค์ก็ดี ไม่มี ในอาเสวนปัจจัย พึงเว้นทั้ง ๙ วาระ.

๑๓. กัมมปัจจัย
[๘๙] ๑. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะอาทิผิด อักขระ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุก-
ธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 03, 2022

Attama Phap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/154/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้
ถึงพร้อมด้วยธรรมทุก ๆ ข้อ และทุก ๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้นผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด
ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงทราบมรรค ทรงรู้มรรค และทรงฉลาด
ในมรรค ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมใน
ภายหลังอยู่ ก็แหละคำพูดระหว่างท่านพระอานนท์กับพราหมณ์โคปกโมคคัล
ลานะได้ค้างอยู่เพียงนี้
[๑๐๗] ขณะนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ เที่ยว
ตรวจงานในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไปยังที่ทำงานของพราหมณ์โคปกโมคคัล-
ลานะ ที่มีท่านพระอานนท์อยู่ด้วย แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ข้าแต่ท่าน
อานนท์ผู้เจริญ ณ บัดนี้ พระคุณท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และ
พระคุณท่านพูดเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องที่พูดกันอยู่นี้
พราหมณ์โคปกโมคคัลลานะ ได้ถามอาตมภาพอาทิผิด อักขระอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระ
อานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆข้อและทุกๆ
ประการที่ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึง
พร้อมแล้ว เมื่อพราหมณ์โคปกโมคคัลลานะถามแล้วอย่างนี้ อาตมาภาพได้
ตอบ ดังนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม
ทุก ๆ ข้อ และทุก ๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นพระ
 
พระปิฎกธรรม