星期二, 十一月 15, 2022

Paliphot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/539/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คิดว่า จงเป็นของสาธารณะกับหมู่สงฆ์ ย่อมเห็นเสมือนเป็นของสงฆ์ ที่จะต้อง
ตีระฆังให้มาบริโภคร่วมกัน. ถามว่า ก็ใครบำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ให้บริบูรณ์ได้
ใครไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ? ตอบว่า ผู้ทุศีล ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ไม่ได้ ก่อน
เพราะภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย จะไม่ยอมรับสิ่งของของผู้ทุศีลนั้น. ส่วนภิกษุผู้มีศีล
บริสุทธิ์ไม่ยอมให้วัตรด่างพร้อย ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้. ในการบำเพ็ญ
สาราณียธรรมให้บริบูรณ์ได้นั้น มีธรรมเนียม ดังนี้.
ก็ภิกษุใดตั้งใจให้ของแก่มารดาก็ดี แก่บิดาก็ดี แก่อาจารย์และ
อุปัชฌาย์เป็นต้นก็ดี ภิกษุนั้น (ชื่อว่า) ย่อมให้สิ่งที่ควรให้ (แก่คนที่ควรให้)
แต่ไม่ชื่อว่า มีสาราณียธรรม มีแต่เพียงการปฏิบัติผู้ที่ควรห่วงใย. เพราะว่า
สาราณียธรรม ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่พ้นจากปลิโพธอาทิผิด สระ (ความห่วงใย) แล้ว.
ก็ผู้ที่จะบำเพ็ญสาราณียธรรมนั้น เมื่อจะให้โดยเจาะจง ควรให้แก่ภิกษุไข้
ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง และภิกษุ
ผู้บวชใหม่ ยังไม่รู้การรับสังฆาฏิ และการรับบาตร ครั้นให้แก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว
ยังมีของเหลือ นับจำเดิมแต่อาสนะแห่งพระเถระไป ภิกษุใดจะรับเท่าใด
ควรให้ภิกษุนั้น เท่านั้น โดยไม่ให้องค์ละเล็กละน้อย. เมื่อไม่มีของเหลือ
ออกไปบิณฑบาตอีก ควรให้ส่วนที่ประณีตนั้น ๆ จำเดิมแต่อาสนะแห่งพระ-
เถระไป (ตัวเอง) บริโภคส่วนที่เหลือ.
เพราะมีพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ ดังนี้ ถึงจะไม่ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลก็ควร.
ก็สาราณียธรรมนี้ บำเพ็ญได้ง่าย ในบริษัทที่ศึกษาดีแล้ว เพราะในหมู่บริษัท
ที่ศึกษาดีแล้ว ภิกษุใดได้ (อาหาร) มาจากที่อื่น ภิกษุนั้นจะไม่ยอมรับ
ถึงแม้จะไม่ได้มาจากที่อื่น ก็จะรับแต่พอประมาณเท่านั้น ไม่รับจนเหลือเฟืออาทิผิด .
ก็สาราณียธรรมนี้ เมื่อภิกษุจะให้ของที่ตนไปบิณฑบาตได้มาบ่อย ๆ อย่างนี้
จะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ต้องใช้เวลา ๑๒ ปี ต่ำกว่านั้นบริบูรณ์ไม่ได้.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: