星期四, 十一月 17, 2022

Nipphan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 28/281/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ
สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ใน
มโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพาน.
จบ จตุตถสัปปายสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนิจจนิพพานสัปปายสูตรที่ ๒ เป็นต้น
ในอนิจจนิพพานสัปปายสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิพฺพานสปฺปายํ ได้แก่ อันเป็นสัปปายะ คือ ปฏิปทาอัน
เป็นอุปการะแก่พระนิพพาน. แม้ในสูตรที่ ๓ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
แต่ในพระสูตรทั้ง ๔ นี้ ตรัสมรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนาโดยลำดับ.
จบ อรรถกถาอนิจจนิพพานอาทิผิด อักขระสัปปายสูตรที่ ๒ - ๕
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: