星期六, 四月 30, 2011

Riap Roi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/413/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระสารีบุตรยังที่อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่าน
พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาส
เหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของ
อนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล
ท่านพระสารีบุตรนุ่งอาทิผิด สระสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ
เข้าไปยังนิเวศน์ของอาทิผิด อักขระอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้
[๗๒๒] พอนั่งเรียบร้อยอาทิผิด อาณัติกะแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า
ดูก่อนคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ
ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ.
อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว
ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด
ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ความเป็นไปแห่งอาพาธ
[๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อม
ของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผม
จึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา
ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
[๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะ
กระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 28, 2011

Hai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/205/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ศุกลปักษ์ ๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้
นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-
๑. รู้จักอาบัติ.
๒. รู้จักอนาบัติ.
๓. รู้จักอาบัติเบา.
๔. รู้จักอาบัติหนัก และ.
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อาทิผิด สระ
อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-
๑. ไม่รู้จักอาบัติ.
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ
๕. มีพรรษาหย่อน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อาทิผิด สระ
อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 27, 2011

Tang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/191/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สองบทว่า เสยฺยา อุสฺสาทิยึสุ คือเมื่อให้ถือเอาอย่างนั้น ที่ตั้ง
เตียงได้เหลือมาก. แม้ในจำนวนวิหารเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. วิหารนั้น
ประสงค์ห้องมีอุปจาร.
บทว่า อนุภาคํ มีความว่า เราอนุญาตเพื่อให้ส่วนแม้อื่นอีก, จริง
อยู่ เมื่อภิกษุมีน้อยนัก สมควรให้รูปละ ๒-๓ บริเวณ.
ข้อว่า น อกามา ทาตพฺโพ มีความว่า ส่วนเพิ่มนั้น ผู้แจกไม่
พึงให้ เพราะไม่ปรารถนาจะให้.
ในวันเข้าพรรษา ครั้นเมื่อส่วนเพิ่มอันภิกษุทั้งหลายถือเอาแล้ว ส่วน
เพิ่มนั้น ไม่ควรให้ภิกษุผู้มาภายหลัง เพราะคน (คือผู้ถือเอาแล้ว) ไม่พอใจ.
แต่ถ้าส่วนเพิ่มอันภิกษุใดไม่ถือแล้ว ภิกษุนั้นย่อมให้ส่วนเพิ่มนั้น หรือส่วน
แรก ด้วยความพอใจของตน เช่นนี้ ควรอยู่.
สองบทว่า นิสฺสีเม ฐิตสฺส ได้แก่ ผู้ตั้งอาทิผิด อยู่ภายนอกอุปจารสีมา.
แต่ว่า แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ไกล แต่เป็นภายในอุปจารสีมา ย่อมได้แท้.
สองบทว่า เสนาสนํ คเหตฺวา ได้แก่ ถือในวัน เข้าพรรษา.
สองบทว่า สพฺพกาลํ ปฏิพาหนฺติ ได้แก่ หวงแม้ในฤดูกาลโดยอาทิผิด สระ
ล่วง ๔ เดือนไป.
[เสนาสนคาหวินิจฉัย]
บรรดาการถือเสนาสนะ ๓ อย่าง การถือ ๒ อย่าง เป็นการถือยั่งยืน
คือ ถือในวันเข้าพรรษาแรก ๑ ถือในวัน เข้าพรรษาหลัง ๑.
การถือเสนาสนะที่เป็นอันตราอาทิผิด สระมุตกะ คือพ้นจากนั้น มีวินิจฉัย ดังนี้ :-
ในวิหารหนึ่ง มีเสนาสนะซึ่งมีลาภมาก. เจ้าของเสนาสนะบำรุงภิกษุ
ผู้จำพรรษา ด้วยปัจจัยทั้งปวงโดยเอื้อเฟื้อ ถวายสมณบริขารมากในเวลา
ปวารณาแล้วจะไป.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 25, 2011

Bat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 27/217/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลำดับนั้น พระองค์จึงอาทิผิด สระทรงมีพระดำริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้
เราขับไล่เพราะอาหารเป็นเหตุ ธรรมเทศนาเรื่องคำข้าวที่ทำเป็นก้อน
เท่านั้นเป็นสัปปายะแก่ภิกษุเหล่านั้น เราแสดงธรรมเทศนาแล้วจัก
แสดงเทศนามีปริวัฏ ๓ (๓ รอบ) ในตอนท้ายเวลาจบเทศนา ภิกษุ
ทั้งหมดก็จักบรรลุอรหัตตผล.
ครั้นอาทิผิด อาณัติกะแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมเทศนานั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น
จึงตรัสคำว่า อนฺตมิทํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตํ ได้แก่ ต่ำช้า คือ เลวทราม.
บทว่า ยทิทํ ปิณฺโฑลฺยํ ความว่า ความเป็นอยู่ของบุคคล
ผู้เลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้นใด.

ความหมายของคำว่า ปิณโฑลยะ
ก็ในบทว่า ปิณฺโฑลฺยํ นี้มีความหมายเฉพาะบท ดังนี้ :- ภิกษุ
ชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะหมายความว่า เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว การ
ทำงานของภิกษุผู้เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว ชื่อว่า ปิณโฑลยะ อธิบายว่า
ความเป็นอยู่ที่ให้สำเร็จด้วยการแสวงหาก้อนข้าว.
บทว่า อภิสาโป แปลว่า การด่า อธิบายว่า ผู้คนทั้งหลาย
โกรธแล้วย่อมด่าว่า ท่านห่มจีวรที่ไม่เข้ากับตัวแล้วถือกระเบื้องเที่ยว
แสวงหาก้อนข้าว. ก็หรือว่า ย่อมด่าแม้อย่างนี้ทีเดียวว่า ท่านไม่มีอะไร
จะทำหรือ? ท่านขนาดมีกำลังวังชาสมบูรณ์ด้วยวิริยะเห็นปานนี้ ยัง
ละทิ้งหิริโอตตัปปะถือบาตรอาทิผิด อักขระเที่ยวแสวงหาคำข้าวไม่ต่างอะไรกับคนกำพร้า
บทว่า ตญฺจ โข เอตํ ความว่า การเที่ยวแสวงหาก้อนข้าว
ทั้ง ๆ ที่ถูกแช่งด่านั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 24, 2011

Mun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/228/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะ
เป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต
นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณา
ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
โรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่าง
อื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค
เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่
ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนอาทิผิด อักขระเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็น
ของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไป
เป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลอาทิผิด สระแห่งความลำบาก เป็นดัง
เพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอัน
เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชรา
เป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา
เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา
เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของ
ดับไป เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า
ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละ บรร
เทาทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สม
จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะใน
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 23, 2011

Fao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/212/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สตรังสิยเถราปทานที่ ๒ (๕๒)
ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระโลกนายก
[๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดมบุรุษ เสด็จขึ้นภูเขาอันสูงสุด
แล้ว ประทับนั่งอยู่ เราเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบมนต์ อยู่ใน
ที่ไม่ไกลภูเขา.
ได้เข้าไปเฝ้าอาทิผิด พระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็น
นราสภ ประนมกรอัญชลีแล้ว ชมเชยพระผู้นายกของโลกว่า
พระมหาวีรพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงประกาศธรรมอาทิผิด อักขระอันประเสริฐ
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงกำเริบดังมหา-
สมุทร หาผู้ต้านทานได้ยากดุจอรรณพ ไม่ทรงครั่นคร้าม
เหมือนราชสีห์ทรงแสดงธรรม
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงทราบความดำริ
ของเรา ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้ใดได้ถวายอัญชลีนี้ และเชยชมพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติตลอด ๓ หมื่นกัป.
ในแสนกัป พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอังคีรส ผู้มีกิเลส
ดังหลังคาเปิด จักเสด็จอุบัติในภพนั้น ผู้นั้น จักเป็นโอรสผู้รู้
มรดกในธรรมของพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิต
แล้ว จักเป็นพระอรหันต์มีชื่อว่าสตรังสี.
เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำหนด ออกบวชเป็นบรรพชิตมีชื่อว่า
สตรังสี รัศมีของเราแผ่ออกไป เรามักเพ่งฌาน ยินดีใน
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 17, 2011

Samphawa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/189/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อม
ของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความ
ดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรม
ด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรมด้วย
นิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตอาทิผิด สระผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนา-
คามี.
จบปัพพชิตสูตรที่ ๙

อรรถกถาปัพพชิตสูตรที่ ๙
ปัพพชิตสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุที่ประโยชน์แห่งสามัญญผล
[คุณเครื่องเป็นสมณะ] ไม่ถึงพร้อมแก่ผู้ที่มีจิตมิได้สร้างสมอย่างนี้ ฉะนั้น.
บทว่า ยถาปพฺพชฺชา ปริจิตญฺจ โน จิตฺตํ ภวิสฺสติ. ความว่า สร้างสม
มาโดยสมควรแก่การบวช จริงอยู่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่าบวช
คนเหล่านั้นทั้งหมด ก็ปรารถนาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จิตใดเขา
สร้างสมอบรมมาเพื่อประโยชน์แก่การบรรลุพระอรหัต จิตนั้นพึงทราบ
ว่า ชื่อว่าสร้างสมมาโดยสมควรแก่การบวช. เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักเป็นเช่นนี้. บทว่า โลกสฺส สมญฺจ วิสมญฺจ ได้แก่
สุจริตและทุจริตของสัตวโลก. บทว่า โลกสฺส สมฺภวอาทิผิด อักขระญฺจ วิภวญฺจ ได้แก่
ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกนั้น อีกนัยหนึ่ง สมบัติและวิบัติ.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 16, 2011

Chatchaeng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/374/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จัมเปยยขันธกะ
เรื่องพระกัสสปโคตร
[๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระ
โบกขรณีชื่อคัคครา เขตจัมปานคร ครั้งนั้น บ้านวาสภคามตั้งอยู่ในกาสี
ชนบท พระชื่อกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาส ในวาสภคามนั้นฝักใฝ่ในการก่อสร้าง
ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้ว
พึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึงถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ สมัยต่อมา
ภิกษุหลายรูป เที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้ไปถึงวาสภคาม พระกัสสปโคตร
ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงปูอาสนะ ตั้งอาทิผิด น้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดอาทิผิด อักขระเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจง
การสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร พระอาคันตุกะ
เหล่านั้น จึงอาทิผิด สระได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก
ได้จัดแจงอาทิผิด อักขระการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น
พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหล่ะ ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง
พระกัสสปโคตรจึงได้มีความปริวิตกว่า ความลำบากโดยฐานเป็นอาคันตุกะ
ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว พระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญในที่โคจร
เหล่านี้ บัดนี้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายในสกุลคนอื่น
จนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคนทั้งหลาย ถ้า
กระไรเราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ดังนี้แล้ว
ได้เลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 13, 2011

Khong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/377/7  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อ
ก่อนแลพระเจ้าอาวาสรูปนี้จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ เธอเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร อาวุโสทั้ง
หลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น พวกเราจงยกพระเจ้า
อาวาสรูปนี้เสีย ต่อมาจึงประชุมกัน ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า เมื่อ
ก่อนแล ท่านได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัดแจงยาคู ของอาทิผิด อักขระควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว
อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงยกข้าพระ-
พุทธเจ้าเสียฐานไม่เห็นอาบัติทันที ข้าพระพุทธเจ้าได้มีความปริวิตกว่า เราไม่
รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยก
เสียแล้วหรือไม่ถูกยก โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะหรือไม่ควรแก่ฐานะ ถ้ากระไร เราพึงไปจัมปานคร แล้วทูลถาม
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากวาสภคามนั้น พระพุทธ-
เจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหา
มิได้ เธอไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกยกเสีย เธอถูกยกเสีย
หามิได้ เธอถูกยกเสียโดยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ไปเถิดอาทิผิด อักขระ
ภิกษุ เธอจงอาศัยอยู่ในวาสภคามนั้นแหละ.
พระกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้นพระพุทธ-
เจ้าข้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว
กลับไปวาสภคาม.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 12, 2011

Bang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/219/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่ใด เวรัญชพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุใด
เวรัญชพราหมณ์ ก็เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนั้น,
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า อันอาทิผิด อักขระเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า
เพราะเหตุไร ?
พึงเข้าไปเฝ้า เพราะมีความประสงค์ ในการบรรลุคุณวิเศษมีประการ
ต่าง ๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ซึ่งผลิตผลเป็นนิตย์ อันหมู่ทิชาชาติทั้งหลาย พึงบิน
เข้าไปหา เพราะมีความประสงค์ในการจิกกินผลที่ดีฉะนั้น.
อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่า คโต แปลว่า ไปแล้ว.
คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำแสดงปริโยสานกาลกริยาแห่งการเข้าไปเฝ้า.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เวรัญชพราหมณ์ ไปแล้ว
อย่างนั้น คือไปยังสถานที่ใกล้ชิดกว่านั้น ได้แก่ที่นับว่าใกล้ต่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ดังนี้บ้างอาทิผิด อาณัติกะ.
หลายบทว่า ภควาตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสถามถึงความสุขทุกข์เป็นต้น* ได้ทรงมีความรื่นเริงเป็นไปกับพรามหมณ์
นั้นแล้ว ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์นั้น ก็ฉันนั้น ได้มีความรื่นเริงเป็นไปกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ถึงความเป็นผู้รื่นเริง ได้แก่ความเป็นพวกเดียวกัน
ดุจน้ำเย็นกับน้ำร้อนอาทิผิด อักขระผสมเป็นอันเดียวกันฉันนั้น.
* สารัตถทีปนีก็ดี อรรถโยชนาก็ดี เป็น ขมนยาทีนิ ได้แปลตามนั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 08, 2011

Sali

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/202/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือนำธรรมอันไม่มีอุปการะออกไป เสพธรรมอันมีอุปการะทั้งหลาย เมื่อท่าน
เสพธรรมอันมีอุปการะเหล่านั้นจึงไม่เสื่อมจากสมาบัติ. เปรียบเหมือนชาวนา
ผู้รักษานา ๒ คน เป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
คนหนึ่ง มีโรคผอมเหลือง ทนต่อความหนาวเป็นต้นไม่ได้ คนหนึ่ง
ไม่มีโรคอดทนต่อความหนาวเย็นเป็นต้นได้ คนที่มีโรคไม่ลงจากกระท่อมไป
ข้างล่าง เขาละทิ้งการรักษานา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน พวกนกแขกเต้า นก
พิราบอาทิผิด และนกยูงเป็นต้น พากันมาสู่นาของเขาในเวลากลางวัน จิกกินรวง
ข้าวสาลีอาทิผิด อักขระ ในเวลากลางคืน พวกเนื้อและสุกรเป็นต้น เข้าไปสู่ลานนาคุ้ยเขี่ย
ราวกะที่อันตนทำไว้เอง ครั้นคุ้ยเขี่ยแล้วก็ไป เขาย่อมไม่ได้แม้สักว่าข้าวปลูก
อีก เพราะเหตุแห่งความประมาทของตน ส่วนบุคคลผู้ไม่มีโรคไม่ละทิ้งการ
รักษานาตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เขาย่อมได้ข้าวประมาณ ๔ เกวียนบ้าง
๘ เกวียนบ้าง จากที่ประมาณกรีสหนึ่ง เพราะความไม่ประมาทของตน. ใน
พระโยคี ๒ รูปนั้น บัณฑิตพึงเห็นพระโยคีผู้เจตนาภัพพบุคคล เหมือนคน
ขี้โรครักษานา พึงเห็นพระโยคีผู้อนุรักขนาภัพพบุคคล เหมือนคนไม่มีโรค.
บัณฑิตพึงทราบความเสื่อมจากสมาบัติของเจตนาภัพพบุคคลผู้ไม่รู้
ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันมีอุปการะ เสพธรรมอัน
ไม่มีอุปการะอยู่ เหมือนกับการไม่ได้เมล็ดพืชที่จะปลูกอีกของคนมีโรค เพราะ
ความประมาทของตน พึงทราบความไม่เสื่อมจากสมาบัติของอนุรักขนาภัพพ-
บุคคลผู้รู้ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันไม่มีอุปการะ เสพ
อยู่ซึ่งธรรมมีอุปการะ เปรียบเหมือนกับการได้ข้าว ๔ เกวียน ๘ เกวียน จาก
ที่ประมาณกรีสหนึ่ง ของบุคคลผู้ไม่มีโรคเพราะความไม่ประมาทของตน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 07, 2011

Khit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/207/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือความครุ่นคิด ในวิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทรงถือเอาด้วยคำว่า
“อนุเสติ ย่อมครุ่นคิด.” ในคำว่า “อนุเสติ” นี้ ทรงถือเอาผู้ที่ยัง
ละความครุ่นคิดไม่ได้. ข้อว่า “อารมฺมณเมตํ โหติ อารัมมณปัจจัยนั้น
ย่อมมี” หมายความว่าเมื่อความครุ่นคิดมีอยู่ ความครุ่นคิดนั้นจึงเป็น
ปัจจัย (แห่งกัมมวิญญาณ) โดยแท้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งกัมมวิญญาณ
เป็นสิ่งที่ใครห้ามไม่ได้.
ในบทว่า “โน จ เจเตติ ก็ภิกษุไม่จงใจ” เป็นต้น กุศล-
เจตนาและอกุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
บทที่ ๑. ตัณหาและทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ตรัสไว้ในบทที่ ๒. ความครุ่นคิด
ที่บุคคลครุ่นคิด โดยที่สุดที่ยังละไม่ได้ในธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ตรัส
ไว้ในบทที่ ๓.
อีกอย่างหนึ่ง เพื่อมิให้ฉงนในพระสูตรนี้ ควรทราบหมวด ๔
ดังนี้คือ ย่อมจงใจ ย่อมดำริ ย่อมครุ่นคิด หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ
แต่ดำริ และครุ่นคิด หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ครุ่นคิดอาทิผิด อักขระ
หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด หมวด ๑. ในหมวด ๔
นั้น การกำหนดธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนัยที่ ๑.
กุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓ และอกุศลเจตนา ๔ ทรงถือเอาว่า
“ จงใจ” ในนัยที่ ๒. ตัณหาและทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ทรงกล่าวว่า
“ไม่ดำริ” ความครุ่นคิด โดยที่สุดแห่งอุปนิสัยอาทิผิด อักขระในกุศลอันเป็นไปใน
ภูมิ ๓ ก็ดี โดยที่สุดแห่งปัจจัยที่เกิดพร้อมกันในอกุศลเจตนา ๔ ก็ดี
โดยที่สุดแห่งอุปนิสัยก็ดี ทรงถือเอาว่า “อนุสโย ครุ่นคิด.” กุศลและ
อกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทรงกล่าวว่า “ไม่จงใจ” ในนัยที่ ๓. ตัณหาและ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 04, 2011

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/553/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุมีกิเลสหนาเกิดขึ้น
เป็นต้น, เพราะกิเลสหนาหยั่งลงภายในของปุถุชน
ฉะนั้น ชนนี้จึงเป็นผู้มีกิเลสหนา.
แม้ในการก้าวลงสู่ฌานอันเป็นลักษณะของปุถุชนดังกล่าวแล้ว ท่านก็
กล่าวว่า
ทุเว ปุถุชฺชน วุตฺตา พทฺเธนฺทิจฺจพนฺธุนา
อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ตรัสถึงปุถุชนไว้ ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน - ปุถุ-
ชนคนโง่เขลา และกัลยาณปุถุชน - ปุถุชนคนดี.
ในปุถุชนสองประเภทดังกล่าวแล้ว ท่านอธิบายไว้ว่า ศีลของ
กัลยาณปุถุชน ผู้เป็นปุถุชนอาทิผิด อักขระมีกัลยาณธรรมตั้งอยู่ในความเป็นกัลยาณ
ปุถุชน ล่วงเลยความเป็นอันธปุถุชนด้วยการประพฤติกัลยาณธรรมอาทิผิด อักขระ
อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีกัลยาณธรรมในหมู่ปุถุชน ชื่อว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณ
กานํ.
กุสล ศัพท์ในบทนี้ว่า กุสลธมฺเม ยุตฺตานํ ย่อมปรากฏใน
ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ ความฉลาด และผลของความสุข. กุสล
ศัพท์ ปรากฏในความไม่มีโรค ในบทมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ,
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 03, 2011

Patipajjanti

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/212/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อวิชชา.
บทว่า เย ลภนฺติ ตถาคตํ ทสฺสนาย ความว่า สัตว์เหล่าใด
รู้คุณของพระตถาคต ย่อมได้เห็นพระตถาคตด้วยจักขุวิญญาณ.
บทว่า ตถาคตปฺปเวทิตํ ความว่า อันพระตถาคตประกาศแล้ว
คือ ตรัสประกาศไว้แล้ว. บทว่า สวนาย ได้แก่ เพื่อสดับด้วยโสต-
บทว่า ธาเรนฺติ ได้แก่ ไม่หลงลืมพระธรรมวินัยนั้น. บทว่า
ธตานํ ธมฺมานํ อตฺถํ อุปปริกฺขนฺติ ความว่า สอบสวนอรรถและ
มิใช่อรรถะแห่งพระบาลีโดยคล่องแคล่ว. บทว่า อตฺถมญฺญาย ธมฺม-
มญฺญาย ได้แก่ รู้อรรถกถาและบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺมํ ปฏิปชฺชนฺติอาทิผิด
ได้แก่ บำเพ็ญปฏิปทาอันสมควร.
บทว่า สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ ได้แก่ ในเหตุอันน่าสังเวช. บทว่า
สํวิชฺชนฺติ ความว่า ย่อมถึงความสังเวช. บทว่า โยนิโส ปทหนฺติ
ความว่า กระทำปธานะ คือ ความเพียรอันตั้งไว้โดยอุบาย.
บทว่า ววสฺสคฺคารมฺมํ ความว่า พระนิพพานเรียกว่า ววัสสัคคะ
(เป็นที่สละสังขาร) กระทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์. บทว่า
ลภนฺติ สมาธึ ความว่า ย่อมได้มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
บทว่า อนฺนคฺครสคฺคานํ ได้แก่ ข้าวอย่างดีและรสอย่างดี. บทว่า
อุญฺเฉน กปาลภตฺเตน ยาเปนฺติ ความว่า ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยรากไม้ และผลไม้น้อยใหญ่ในป่า หรือด้วยภัตตาหารที่ตนนำมาแล้ว
ด้วยภาชนะกระเบื้อง โดยการแสวงหา ก็ในเรื่องนี้ บุคคลใดเมื่อจิต
เกิดต้องการของเคี้ยวของกิน อะไร ๆ ก็ไม่ได้ของนั้นในทันที บุคคลนี้
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 02, 2011

Wokan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 82/205/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็หรือว่า เวทนาขันธ์จักดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, รูปขันธ์
ก็กำลังดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
บุคคลที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอรูป-
ภูมิก็ดี เวทนาขันธ์จักดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่รูปขันธ์ไม่ใช่
กำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น บุคคลที่กำลังตายในปัญจโวการ-
ภูมิ เวทนาขันธ์จักดับ และรูปขันธ์ก็กำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้นใน
ภูมินั้น.
จบ รูปขันธมูละ เวทนาขันธมูลี
รูปขันธมูล จบ
เวทนาขันธมูล
เวทนาขันธมูละ สัญญาขันธมูลี :-
[๒๐๔] เวทนาขันธ์กำลังดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, สัญญาขันธ์
จักดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
บุคคลที่กำลังปรินิพพาน เวทนาขันธ์กำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้น
ในภูมินั้น แต่สัญญาขันธ์ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, บุคคล
นอกจากนี้ที่กำลังตายในจตุโวการภูมิก็ดี ในปัญจโวการอาทิผิด สระภูมิก็ดี เวทนา-
ขันธ์กำลังดับ และสัญญาขันธ์ก็จักดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
 
พระปิฎกธรรม