星期三, 四月 13, 2011

Khong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/377/7  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อ
ก่อนแลพระเจ้าอาวาสรูปนี้จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ เธอเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร อาวุโสทั้ง
หลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น พวกเราจงยกพระเจ้า
อาวาสรูปนี้เสีย ต่อมาจึงประชุมกัน ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า เมื่อ
ก่อนแล ท่านได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัดแจงยาคู ของอาทิผิด อักขระควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว
อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงยกข้าพระ-
พุทธเจ้าเสียฐานไม่เห็นอาบัติทันที ข้าพระพุทธเจ้าได้มีความปริวิตกว่า เราไม่
รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยก
เสียแล้วหรือไม่ถูกยก โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะหรือไม่ควรแก่ฐานะ ถ้ากระไร เราพึงไปจัมปานคร แล้วทูลถาม
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากวาสภคามนั้น พระพุทธ-
เจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหา
มิได้ เธอไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกยกเสีย เธอถูกยกเสีย
หามิได้ เธอถูกยกเสียโดยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ไปเถิดอาทิผิด อักขระ
ภิกษุ เธอจงอาศัยอยู่ในวาสภคามนั้นแหละ.
พระกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้นพระพุทธ-
เจ้าข้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว
กลับไปวาสภคาม.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: