星期六, 二月 28, 2015

Prachachon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/71/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำว่า อิทํ ปิสฺส โหติ จรณสฺมึ ความว่า แม้อันนี้ก็ย่อมชื่อว่า
จรณะของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า จรณะมีมากมิใช่อย่างเดียว ได้แก่อาทิผิด อาณัติกะ ธรรม ๑๕ มีศีล
เป็นต้น . อธิบายว่า ในธรรม ๑๕ นั้น แม้ศีลนี้ก็เป็นจรณะอย่างหนึ่ง แต่
โดยใจความเฉพาะบท ผู้ใดเที่ยว คือไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปด้วยคุณชาตินี้ เหตุ
นั้นคุณชาตินี้ชื่อว่า จรณะ เครื่องเที่ยวไป. ในที่ทุกแห่ง ก็มีนัยนี้. คำว่า
อิทํ ปิสฺส โหติ วิชฺชาย ความว่า ปุพเพนิวาสญาณนี้ ย่อมชื่อว่า วิชชา
ของภิกษุนั้น. ชื่อว่า วิชชามีมาก มิใช่อย่างเดียว ได้แก่ ญาณ ๘ มีวิปัสสนา-
ญาณเป็นต้น . อธิบายว่า ในญาณ ๘ นั้น ญาณแม้นี้ ก็ชื่อว่า วิชชาอย่าง
หนึ่ง แต่โดยใจความเฉพาะบท ผู้ใดรู้แจ้งแทงตลอดด้วยคุณชาตนี้ เหตุนั้น
คุณชาตินี้ชื่อว่า วิชชา เครื่องรู้แจ้งแทงตลอด. คำว่า วิชฺชาสมฺปนฺโน อติปิ
ความว่า ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาดังนี้บ้าง. คำว่า
จรณสมฺปนฺโน อิติปิ ความว่า ถึงพร้อมด้วยธรรม ๑๕ เรียกว่า ผู้สมบูรณ์
ด้วยจรณะดังนี้บ้าง. คำว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน อิติปิ ความว่า ส่วนผู้
ถึงพร้อมด้วยทั้งสองอย่างนั้น เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะดังนี้บ้าง.
คำว่า สนฺนงฺกุมาเรน คือ เด็กโบราณ ที่ปรากฏชื่อว่า กุมารมาตั้งแต่กาล
ไกลโน้น เล่ากันว่า ในถิ่นมนุษย์สันนังกุมารนั้น ทำฌานให้บังเกิดครั้งยังเป็น
เด็กไว้จุก ๕ จุก ฌานก็ไม่เสื่อม ไปบังเกิดในพรหมโลก อัตภาพของเขาน่ารัก
น่าพอใจ เพราะฉะนั้นเขาจึงเที่ยวไปด้วยอัตภาพเช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น คน
ทั้งหลายจึงให้สมญานามเขาว่า สันนังกุมาร. คำว่า ชเนตสฺมึ คือ ในหมู่ชน.
อธิบายว่า ในหมู่ประชาชนอาทิผิด อักขระ. คำว่า เย โคตฺตปฏิสารโน ความว่า ชนเหล่า
ใดยึดถือโคตร ในชนหมู่นั้นว่าเราเป็นโคตมะ เราเป็นกัสสปะ ในหมู่คนที่
ยึดถือเรื่องโคตรนั้น กษัตริย์ก็เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก. คำว่า อนุมตา

๑. บาลีเป็นสนังกุมาร
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 26, 2015

Phueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 40/36/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โจรเป็นอันมาก ทำโจรกรรมมีปล้นบ้านเป็นต้นอยู่ด้วยกัน เมื่อมีใคร
ถามว่า “ใครเป็นหัวหน้าของพวกมัน ?” ผู้ใดเป็นปัจจัยของพวกมัน คือ
อาศัยผู้ใดจึงทำกรรมนั้นได้ ผู้นั้นชื่อทัตตะก็ตาม ชื่อมัตตะก็ตาม เขา
เรียกว่าหัวหน้าของมัน ฉันใด; คำอุปไมยซึ่งเป็นเครื่องให้อรรถถึงพร้อม
นี้ บัณฑิตพึงอาทิผิด สระรู้แจ้ง ฉันนั้น. ใจชื่อว่าเป็นหัวหน้าของธรรมทั้งหลายนั่น
ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้นฉะนี้ เหตุนั้น ธรรม
ทั้งหลายนั่น จึงชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า, เพราะเมื่อใจไม่เกิดขึ้น ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้. ฝ่ายใจ ถึงเจตสิกธรรมบางเหล่า
แม้ไม่เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แท้. อนึ่ง ใจชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรม
ทั้งหลายนั่น ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายนั่นจึงชื่อว่า
มีใจเป็นใหญ่. เหมือนอาทิผิด อักขระอย่างว่า ชนทั้งหลายมีโจรผู้เป็นหัวโจกเป็นต้น
ผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของชนทั้งหลายมีโจรเป็นต้น ฉันใด,
ใจผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น, เหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีใจเป็นใหญ่. อนึ่ง สิ่งทั้งหลายนั้น ๆ เสร็จ
แล้วด้วยวัตถุมีไม้เป็นต้น ก็ชื่อว่าของสำเร็จแล้วด้วยไม้เป็นต้น ฉันใด.
แม้ธรรมทั้งหลายนั่น ได้ชื่อว่าสำเร็จแล้วด้วยใจ เพราะเสร็จมาแต่ใจ
ฉันนั้น.
บทว่า ปทุฏฺเฐน คือ อันโทษมีอภิชฌาเป็นต้นซึ่งจรมาประทุษ-
ร้ายแล้ว. จริงอยู่ ใจปกติชื่อว่าภวังคจิต, ภวังคจิตนั้นไม่ต้องโทษ
ประทุษร้ายแล้ว. เหมือนอย่างว่า น้ำอาทิผิด ใสเศร้าหมองแล้ว เพราะสีทั้งหลาย
มีสีเขียวเป็นต้นซึ่งจรมา (กลับ ) เป็นน้ำต่างโดยประเภทมีน้ำเขียว
เป็นต้น จะชื่อว่าน้ำใหม่ก็มิใช่ จะชื่อว่าน้ำใสตามเดิมนั่นแลก็มิใช่ ฉันใด,
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 25, 2015

Burut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/34/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์
นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ คือ
มีโลมาขุมละเส้น ๑ และมีอุณาโลมในระหว่างคิ้วมีสีขาวอ่อนเหมือนปุย
ฝ้าย ๑. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๒ ประการนั้น ถ้าอยู่
ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร
เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็นที่ประพฤติตามของมหาชน ที่
เป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์
เป็นมหาอำมาตย์ เป็นกองทหาร เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท
เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็นราชกุมาร ถ้าออกทรงผนวชจะเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็น
พระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็นที่
ประพฤติตามของมหาชนที่เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา
เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๖๓] ในชาติก่อน ๆ พระมหาบุรุษอาทิผิด อักขระมีปฏิญญา
เป็นสัจจะมีพระวาจาไม่เป็นสอง เว้นคำเหลว
ไหล ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดจากใคร ๆ ตรัส
โดยคำจริง คำแท้ คำคงที่
มีพระอุณาโลมสีขาวสะอาดอ่อนดีดังปุย
นุ่น เกิดในระหว่างพระขนง และในขุมพระ
โลมา ทั่วไป ไม่มีพระโลมาเกิดเป็นสองเส้น
มีพระสรีระอันพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ ขึ้นสะพรั่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 22, 2015

Sattha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/205/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น
พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายในแล้ว จึงโจทผู้อื่น.
[๒๙๓] องค์แห่งความเพียร ๕
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธาอาทิผิด อักขระ
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุอันมี
วิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลาง ๆ ควรแก่ความเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระ-
ศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อมเป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นไม่ทอดธุระในบรรดา
ธรรมที่เป็นกุศล
๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับอัน
ประเสริฐชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
[๒๙๔] สุทธาวาส ๕
๑. อวิหา ๓. สุทัสสา
๒. อตัปปา ๔. สุทัสสี
๕. อกนิฏฐา.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 21, 2015

Athit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/180/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เหล่านั้น น้ำเป็นของปฏิกูลสำหรับแพะทั้งหลาย แต่น้ำนั้นเป็นที่ชอบใจ
ของช้างทั้งหลาย เป็นที่ผาสุกของฝูงโค เพราะมีความเย็นและความร้อน
เสมอกัน. ฉะนั้น ในเวลาใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของแพะ
เวลานั้น ฝนไม่ตกเลยแม้สักเม็ดเดียว เมื่อใดดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อาทิผิด
ขึ้นสู่วิถีของช้าง เมื่อนั้นฝนจะตกแรงเหมือนท้องฟ้ารั่วอาทิผิด อาณัติกะ. เมื่อดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของโค เมื่อนั้นความสม่ำเสมอของฤดูก็ย่อมถึง
พร้อม.
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมเคลื่อนอยู่ภายนอกภูเขาอาทิผิด อาณัติกะสิเนรุเป็น
เวลา ๖ เดือน และโคจรอยู่ภายในอีก ๖ เดือน. ความจริงดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์นั้นย่อมโคจรไปใกล้ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘. แต่นั้นเคลื่อน
ออกไปโคจรอยู่ในภายนอก ๒ เดือนแล้ว เคลื่อนไปอยู่โดยท่ามกลางใน
ต้นเดือน ๑๒. แต่นั้น เคลื่อนมุ่งหน้าต่อจักรวาลแล้วโคจรอยู่ ใกล้ๆจักรวาล
เป็นเวลา ๓ เดือน แล้วเคลื่อนออกห่างมาอีก ไปอยู่ตรงกลางจักรวาลใน
เดือน ๕ ต่อแต่นั้นในเดือนอื่นก็เคลื่อนมุ่งหน้าต่อภูเขาสิเนรุ แล้วไป
โคจรอยู่ใกล้ ๆ ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘ อีก.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ทำแสงอาทิผิด อักขระสว่างใน
ที่นี้ประมาณเท่าไร ดังนี้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมทำแสงสว่างใน
ทวีปทั้ง ๓ โดยพร้อมกัน. กระทำได้อย่างไร. ก็เวลาพระอาทิตย์ขึ้นใน
ทวีปนี้เป็นเวลาเที่ยงในปุพพวิเทหทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอุตตรกุรุ
ทวีปเป็นมัชฌิมยามในอมรโคยานทวีป. เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในปุพพวิ-
เทหทวีปเป็นเวลาเที่ยงในอุตตรกุรุทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอมรโค-
ยานทวีปเป็นมัชฌิมยามในทวีปนี้. เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอุตตรกุรุทวีป
เป็นเวลาเที่ยงในอมรโคยานทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในทวีปนี้ เป็นเวลา
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 20, 2015

Kamesumitchachan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/182/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีรสหวานได้มีแก่เราทั้งหลายแล้วหนอ. บทว่า อหายิ วต โน ความว่า
เครือดินนั้น ของพวกเราได้หายไปแล้วในบัดนี้.
บทว่า อกฏฺฐปาโก ความว่า เกิดขึ้นในภูมิภาคซึ่งไม่ได้ไถ
เลย. บทว่า อกโณ แปลว่า ไม่มีรำเจือปน. บทว่า อถุโส แปลว่าไม่มี
แกลบ. บทว่า สุคนฺโธ ความว่า กลิ่นทิพย์ ย่อมฟุ้งขจายไป. บทว่า
ตณฺฑุลปฺผโล ความว่า ย่อมเผล็ดอาทิผิด อักขระผลเป็นเมล็ดข้าวสารขาวบริสุทธิ์. บทว่า
ปกฺกํ ปฏิวิรุฬฺหํ ความว่า ที่ที่เขาเก็บในเวลาเย็น ก็ได้สุกแทนในตอน
เช้า งอกงามขึ้นตามปกติอีก ที่ที่เขาเก็บไปหาปรากฏไม่. บทว่า นาปทานํ
ปญฺายติ ความว่า ย่อมปรากฏเป็นพืชที่ไม่ถูกเก็บเกี่ยวไม่มีบกพร่องเลย
บทว่า อิตฺถิยา จ ความว่า เพศหญิงของหญิงในเวลาเป็นมนุษย์ในชาติก่อนๆ
ก็ปรากฏ เพศชายของชายในกาลก่อน ๆ นั้นก็ปรากฏ. ความจริง มาตุ-
คาม เมื่อต้องการได้ความเป็นบุรุษก็พยายามบำเพ็ญธรรมอันเป็นปัจจัยแห่ง
ความเป็นบุรุษโดยลำดับก็ย่อมสำเร็จได้. บุรุษ เมื่อต้องการเป็นหญิงก็
ประพฤติกาเมอาทิผิด อักขระสุมิจฉาจาร ย่อมสำเร็จได้. ก็ในเวลานั้น ตามปกติ เพศ
หญิงย่อมปรากฏขึ้นแก่มาตุคาม เพศชายก็ปรากฏขึ้นแก่บุรุษ. บทว่า
อุปนิชฺฌายตํ ความว่า เพ่งอยู่คือแลดูอยู่. บทว่า ปริฬาโห ได้แก่ความ
เร่าร้อนด้วยอำนาจราคะ. บทว่า เสฏฺฐึ ได้แก่เถ้าถ่าน. บทว่า
นิพฺพุยฺหมานาย ความว่า นำออกไป.
บทว่า อธมฺมสมฺมตํ ความว่าการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นสมมุติกัน
ว่าไม่เป็นธรรม. บทว่า ตเทตรหิ ธมฺมสมฺมตํ ความว่า แต่ในบัดนี้
การโปรยฝุ่นเป็นต้นนี้สมมุติกันว่าเป็นธรรม. พวกพราหมณ์ทั้งหลายพากัน
ถือเอาการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม เที่ยวไป. จริงอย่างนั้น ใน
ชนบทบางแห่ง พวกหญิงทั้งหลายทะเลาะกันย่อมกล่าวว่า เพราะเหตุไร
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 14, 2015

Sattra

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/101/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期五, 二月 13, 2015

Kaem

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/63/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สองหลัง มีคำข้าวอาทิผิด อักขระสองคำ หรืออยู่เรือนเจ็ดหลัง มีคำข้าวเจ็ดคำ เยียวยา
อัตตภาพด้วยภิกษาในภาชนะใบเดียวบ้าง สองใบบ้าง เจ็ดใบบ้าง
กินอาหารที่เก็บไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง เป็นผู้
ประกอบความขวนขวายในการบริโภคอาหารที่เวียนมาจนถึง ที่เก็บไว้กึ่ง-
เดือน ด้วยประการฉะนี้ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็น
ภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากอาทิผิด อักขระข้าวเป็นภักษาบ้าง มีของจืด
เป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็น
ภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าและผลไม้
ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตตภาพ. เขาทรงผ้าป่าน
บ้าง ผ้าแกมอาทิผิด อักขระกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง
หนังเสืออาทิผิด สระบ้าง หนังเสืออาทิผิด สระทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง
ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากำพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากำพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง
ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประกอบความ
ขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืนคือห้ามอาสนะบ้าง เป็น
ผู้กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบน
หนาม คือสำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดาน
บ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง
เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะ
ตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือประกอบการขวนขวายในการ
บริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง
เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือประกอบการขวนขวายในการลงน้ำบ้าง
นิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การ
เกลียดบาปด้วยตบะ เป็นการเกลียดบริบูรณ์ หรือไม่บริบูรณ์
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 10, 2015

Sawang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/105/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
พระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นจักรแก้วนั้น ก็ลงสู่สมุทรด้านทิศปัจฉิม
แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศอุดร. พระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
ก็เสด็จติดตามไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ
ประเทศใดท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ
ประเทศนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศอุดรก็
พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมา
เถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักร
เหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงปกครอง
เถิด. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึง
กล่าวคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม
เสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้
ชนะวิเศษยิ่งซึ่งแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตอาทิผิด ได้แล้ว จึงกลับคืนสู่
ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตูพระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือน
เครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว สว่างอาทิผิด อักขระไสวอยู่ทั่วภายในพระ-
ราชวังของท้าวเธอ.

ว่าด้วยจักรแก้วทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิองค์ที่ ๒
ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์-
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 09, 2015

Phrachao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 59/321/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ส่งเภสัชทั้ง ๕ ไปถวายพระเถระ. ท่านแจกจ่ายเภสัชเหล่านั้นแด่บริษัท
แต่บริษัทของท่านมีมาก พวกเขาเก็บของที่ได้ ๆ มาไว้เต็มกระถางบ้าง
หม้อบ้าง ถลกบาตรบ้าง. คนทั้งหลายเห็นเข้าพากันยกโทษว่า สมณะ
เหล่านี้มักมาก เป็นผู้รักษาคลังภายใน. พระศาสดาทรงสดับความเป็น
ไปนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็แลเภสัชที่เป็นของควรลิ้มของ
ภิกษุผู้เป็นไข้เหล่านั้นใดดังนี้เป็นต้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัณฑิตสมัยก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ บวชเป็นนักบวชใน
ลัทธิภายนอก แม้รักษาเพียงศีล ๕ ก็ไม่เก็บก้อนเกลือไว้ เพื่อประโยชน์
ในวันรุ่งขึ้น ส่วนเธอทั้งหลายบวชในศาสนา ที่นำออกจากทุกข์เห็น
ปานนี้ เมื่อพากันทำการสะสมอาหารไว้ เพื่อประโยชน์แก่วันที่ ๒ วัน
ที่ ๓ ชื่อว่าทำสิ่งที่ไม่สมควร แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าคันธาระ
ในคันธารรัฐ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ โดยพระราชบิดาทิวงคตแล้ว
ทรงครองราชย์โดยธรรม. แม้ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าวิเทหะก็ทรง
ครองราชย์ในวิเทหรัฐ. พระราชาทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงเป็นพระ-
สหายที่ไม่เคยเห็นกัน แต่ก็ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง. คนสมัย
นั้นมีอายุยืนดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง ๓ แสนปีดังนั้นในวันอุโบสถกลางเดือน
พระเจ้าอาทิผิด สระคันธาระก็ทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว แล้วเสด็จไปประทับบน
พระบวรบัลลังก์ภายในชั้นที่โอ่โถง ทรงตรวจดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 08, 2015

Loet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/164/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๖๙] ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี
แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี มีปกติทำกรรมทั้งสองอย่าง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
มีความเห็นเจือปนกัน ยึดถือกรรมด้วยอำนาจความเห็นอันเจือปนกัน
เพราะการยึดถือกรรมด้วยอำนาจความเห็น อันเจือปนกันเป็นเหตุ เบื้อง
หน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง.
[๗๐] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ฯลฯ พราหมณ์
ก็ดี ฯลฯ แพศย์ก็ดี ฯลฯ ศูทรก็ดี สำรวมทางกาย สำรวมทางวาจา
สำรวมทางใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗อาทิผิด แล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในโลกนี้แท้.
[๗๑] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้
วรรณะใดเป็นภิกษุผู้อรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบแล้ว มีกรณียะอันกระทำ
แล้ว ปลงภาระได้แล้ว ตามบรรลุประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์
เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว ¹····¹ เพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้น
ปรากฏว่าเป็นผู้เลิศอาทิผิด สระกว่าวรรณะเหล่านั้นโดยธรรม หาใช่โดยอธรรมไม่.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งใน
ทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ. ดูก่อนวาเสฏฐะและอาทิผิด สระภารทวาชะ แม้สนัง-
กุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า
[๗๒] กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความ
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและ
มนุษย์ดังนี้.
ดูก่อนวาเสฏฐะอาทิผิด อักขระและภารทวาชะ ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมขับไว้
ถูกต้องไม่ผิด ภาษิตไว้ถูก ไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบ
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 07, 2015

Phrom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/550/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หรือในมนุษย์ทั้งหลาย เพราะความบริบูรณ์ด้วยสุจริต. กรรมที่เป็นเหตุให้เขา
เกิดในสุคติมีเทวดาเป็นต้นนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรม
ชื่อว่า อุปปัตติภพ ก็สัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในกรรมภพและ
อุปปัตติภพนั้นเหมือนกัน กามุปาทานเป็นปัจจัยแก่กามภพพร้อมทั้งประเภท
พร้อมทั้งผนวกเข้าด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.
อีกคนหนึ่ง ฟังมาหรือคิดเอาเองว่า ในรูปภพและอรูปภพ กาม
ทั้งหลายสำเร็จดีกว่ากามภพนั้น จึงยังรูปและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
กามุปาทานแล้วบังเกิดขึ้นในโลกแห่งรูปพรหมอาทิผิด อักขระหรืออรูปพรหมด้วยกำลังแห่ง
สมาบัติ. ในการเกิดขึ้นในรูปพรหมหรืออรูปพรหมนั้น กรรมที่เป็นเหตุให้
บุคคลนั้นเกิด ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ
ส่วนสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ
และปัญจโวการภพก็รวมอยู่ภายในรูปภพหรืออรูปภพนั้น. กามุปาทาน เป็น
ปัจจัยแม้แก่รูปภพและอรูปภพ พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วย
ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
อีกบุคคลหนึ่ง อาศัยอุจเฉททิฏฐิว่า “ที่ชื่อว่า อัตตานี้ ขาดสูญแล้ว
ในภพอันเป็นสมบัติของกามาพจร หรือว่าบรรดารูปภพหรืออรูปภพ ภพใด
ภพหนึ่งย่อมขาดสูญโดยแท้” ดังนี้ จึงทำกรรมอันเข้าถึงภพนั้น. กรรมนั้น
ของบุคคลนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายอันเกิดแต่กรรม ชื่อว่า
อุปปัตติภพ ส่วนภพมีสัญญาภพเป็นต้นก็รวมอยู่ภายในกรรมภพและอุปปัตติ
ภพนั้นนั่นแหละ ทิฏฐุปาทานเป็นปัจจัยแก่กามภพ รูปภพ และอรูปภพทั้ง ๓
พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 06, 2015

Phro

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/525/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จริงอยู่ ในนามรูปที่เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น ขันธ์ ๓ มีเวทนา
เป็นต้น ชื่อว่า นาม ส่วนรูปที่นับเนื่องด้วยสันตติของตน พึงทราบว่า
ท่านเรียกว่า ภูตะอาทิผิด อักขระและวัตถุ โดยกำหนดอย่างนี้ คือ ภูตรูป ๔ วัตถุรูป ๖
และชีวิตินทรีย์ ก็นามรูปนั้น ท่านทำเอกเสสนัยไว้อย่างนี้ว่า นามด้วย รูปด้วย
นามรูปด้วย ชื่อว่า นามรูป. นามรูปนั้น พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่
สฬายตนะที่ท่านทำเอกเสสนัยอย่างนั้นแหละ ด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ฉฏฺฐาย-
ตนญฺจ สฬายตนญฺจ สฬายตนํ (อายตนะที่ ๖ ด้วย อายตนะ ๖ ด้วย
ชื่อว่า สฬายตนะ ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะอาทิผิด สระในอรูปภพ นามอย่างเดียว
เป็นปัจจัย และนามนั้นก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะทั้ง ๖ เท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยแก่
อายตนะอื่น เพราะในอัพยากตวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นามปจฺจยา
ฉฏฺฐายตนํ (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นามที่ทรง
สงเคราะห์ไว้ในทีนี้ พึงทราบว่าทรงจำแนกไว้ในอัพยากตวาระนั้นแล.*
ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไรว่า “นามรูป
เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะเล่า” ตอบว่า ทราบได้เพราะเมื่อนามรูปมีสฬายตนะก็มี.
จริงอยู่ เมื่อนามและรูปนั้น ๆ มี อายตนะนั้น ๆ ก็ย่อมมี มิใช่เป็นโดยประการอื่น
ก็สฬายตนะนั้นมีเพราะความที่นามรูปมีนั้นจักแจ่มแจ้งในนัยแห่งปัจจัยทีเดียว
เพราะฉะนั้น
นามรูปใด เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด
ในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาล และเป็น
ปัจจัยโดยประการใด บัณฑิตพึงแนะนำโดย
ประการนั้น.
* อภิ. วิ. เล่ม ๓๕ นี้ ๓๗๙/๒๓๕
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 05, 2015

Khap Khaen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/539/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่าด้วยนิเทศอุปาทาน (บาลีข้อ ๒๖๔)
พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยต่อไป.
บัณฑิตพึงชี้แจงอุปาทาน ๔ เหล่านั้น
โดยการจำแนกโดยอรรถ โดยย่อและพิสดาร
แห่งธรรม และโดยลำดับ.
จริงอยู่ ในพระบาลี ทรงยกอุปาทาน ๔ เหล่านั้นขึ้น ด้วยพระดำรัส
ที่ตรัสว่า คำว่า อุปาทาน ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน.

ว่าด้วยการจำแนกโดยอรรถ
การจำแนกโดยอรรถแห่งอุปาทาน ๔ เหล่านั้น ดังนี้
ธรรมที่ชื่อว่า กามุปทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่นกามกล่าวคือ
วัตถุกาม. อนึ่ง กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
กามุปาทาน.
คำว่า อุปาทาน ได้แก่การยึดมั่น เพราะอุปศัพท์ในคำว่า อุปาทาน
นี้ มีอรรถว่ามั่น เหมือนในศัพท์มีคำว่า อุปายาส (ความคับแค้นอาทิผิด อักขระใจ)
อุปกัฏฐะ (เวลาใกล้เข้ามาแล้ว ) เป็นต้น. อนึ่ง ทิฏฐินั้น ด้วยเป็นอุปาทาน
ด้วย จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะ
อรรถว่า ยึดมั่นทิฏฐิ เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิแรก เหมือนในประโยค
มีอาทิว่า "อัตตาและโลกเที่ยง" เป็นต้น. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน
เพราะอรรถว่า ยึดมั่นศีลและพรต. ศีลและพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย
ดังนี้ก็ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะโคศีล (ปรกติของโค) โควัตร
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 04, 2015

Prachum

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 14/353/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期一, 二月 02, 2015

Nang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 14/283/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในกายนี้เท่านั้น ท่านอธิบายว่า มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น. คนทั้งหลาย
แลเห็นน้ำในพยับแดด แม้ที่ไม่มีน้ำฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงามว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นตัวตน และสวยงาม ฉันนั้น หามิได้ ที่แท้ พิจารณาเห็นกาย ท่าน
อธิบายว่า พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของอาการ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มิใช่ตัวตน และไม่สวยงามต่างหาก.
อีกอย่างหนึ่ง ก็กายอันนี้ใด ที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้าว่า มีลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ เป็นต้น มีกระดูกที่ป่นเป็นที่สุด ตามนัย พระบาลีเป็นต้น ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปป่าก็ดี ฯลฯ เธอมีสติหายใจ
เข้า ดังนี้ และกายอันใดที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค (ขุททกนิกาย) ว่า
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ
กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิวหนัง กายคือหนังอาทิผิด กายคือเนื้อ
กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมด แม้อย่างนี้ว่า
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกาย ที่นับว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมมีผมเป็นต้นในกาย โดยไม่พิจารณาเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
ที่พึงถือว่าเป็นเรา เป็นของเราในกาย แต่พิจารณาเห็นกายนั้น ๆ เท่านั้นเป็น
ที่รวมแห่งธรรมต่าง ๆ มีผม ขนเป็นต้น.
อนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกายในกาย แม้โดยพิจารณา
เห็นกายที่นับว่าเป็นที่รวมแห่งอาการ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นต้น ทั้งหมดทีเดียว
ซึ่งมีนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค ตามลำดับบาลี เป็นต้นว่า พิจารณาเห็นใน
 
พระปิฎกธรรม