Prachum
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 69/120/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็น
ผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้าหายใจออก ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมอาทิผิด อักขระลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์อนุปัสสนาญาณ
[ญาณในการพิจารณา] ๘ อุปัฏฐานานุสติ [อนุสติที่ปรากฏ] ๘ และ
สุตตันติกวัตถุ [เรื่องอันมีมาในพระสูตร] ในการพิจารณากายในกาย ๔.
จบภาณวาร
[๔๐๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักรู้แจ้งปีติหายใจออกอย่างไร ?
ปีติเป็นไฉน ? เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถลมหายใจเข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่
จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ปีติและ ปราโมทย์
ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง
กายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วย
สามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับ
กายสังขารหายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือ
ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต
ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论