星期五, 十月 02, 2015

Thalo

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/800/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ฉนฺโท ในสูตรนี้เป็นชื่อของราคะอย่างอ่อน. บทว่า ปริคฺคโห ได้แก่
ทำการยึดถือด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า มจฺฉริยํ ได้แก่
ทนต่อความเป็นของทั่วไปแก่ผู้อื่นไม่ได้. ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่าน
โบราณาจารย์จึงกล่าวความแห่งถ้อยคำอย่างนี้ของ มัจฉริยะนั้นว่า
ความอัศจรรย์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มัจฉริยะ เพราะเป็น
ไปแล้วในความว่า ขอความอัศจรรย์จงมีแก่เราเท่านั้น ขอจงอย่า
มีแก่คนอื่นเลยดังนี้. บทว่า อารกฺขา ได้แก่ การรักษาไว้ด้วยดี
โดยปิดประตูและเก็บรักษาไว้ในหีบเป็นต้น. ชื่ออธิกรณะเพราะ
ทำให้ยิ่ง บทนั้นเป็นชื่อของเหตุ. บทว่า อารกฺขาธิกรณํ เป็นนปุงสก-
ลิงค์ภาวสาธนะ อธิบายว่า เหตุแห่งการอารักขา. ในบทว่า ทณฺฑาทานํ
เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การถือท่อนไม้เพื่อกั้นผู้อื่น ชื่อว่า
ทณฺฑาทานํ การถือศัสตราอาทิผิด อักขระมีคมข้างเดียวเป็นต้น ชื่อว่า สตฺถาทานํ.
การทะเลาะอาทิผิด สระกันด้วยกายก็ดี การทะเลาะกันด้วยวาจาก็ดี ชื่อว่า
กลโห. ตอนแรกเป็นวิคคหะ ตอนหลังเป็นวิวาท. บทว่า ตุวํตุวํ
ได้แก่ พูดขึ้นมึงขึ้นกู โดยไม่เคารพกัน.
จบ อรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๓
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: