星期三, 一月 27, 2016

Asai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/302/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้ตรัสอัญญาณูเบกขา ไว้ในหนก่อน. จะตรัสฉฬังคุเบกขาในข้างหน้า ทรงถือ
เอาอุเบกขา ๒ อย่าง คือ สมถอุเบกขา วิปัสสนูเบกขา แม้ในที่นี้. ในอุเบกขา
๒ อย่างนั้นเพราะอุเบกขาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง อุเบกขาในเสียงเป็นต้นอย่างหนึ่ง.
ก็อุเบกขาในรูปย่อมไม่มีในเสียงเป็นต้น. อุเบกขาในรูปเท่านั้น ทำรูปเท่านั้นให้
เป็นอารมณ์. เสียงเป็นต้นย่อมไม่ทำรูปและความเป็นอุเบกขาให้ เป็นอารมณ์.
สมถอุเบกขาอื่น ๆ ก็คือ อุเบกขาที่ทำปฐวีกสิณให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อุเบกขา
อื่น ๆ คือ อุเบกขาที่เกิดขึ้นเพราะทำอาโปกสิณเป็นต้นให้เป็นอารมณ์. เพราะ
ฉะนั้น เมื่อจะทรงจำแนกความเป็นต่าง ๆ และอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ จึงตรัสว่า
อตฺถิ ภิกฺขเว อุเปกฺขา รูเป เป็นต้น ก็เพราะอากาสานัญจายตนะ หรือ
วิญญาณัญจายตนะ เป็นต้น ไม่มีสอง หรือสาม. เพราะฉะนั้น เมื่อทรง
จำแนกอาศัยอารมณ์หนึ่งจึงตรัสว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อุเปกขา อากาสานญฺ-
จายตนนิสฺสิตา ดังนี้เป็นต้น. บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น อากาสานัญจายตนู-
เบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนะ ด้วยอำนาจที่เป็นสัมปยุต วิปัสสนูเบกขา
ของภิกษุผู้เห็นแจ้งอากาสานัญจายตนขันธ์อาศัยอาทิผิด อักขระอากาสานัญจายตนะ ด้วยอำนาจ
แห่งอารมณ์. ในอุเบกขาแม้ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน . ทรงให้ละรูปาวจร
กุศลสมาบัติอุเบกขา ด้วยอรูปอาทิผิด สระาวจรสมาบัติอุเบกขา ทรงให้อรูปาวจรวิปัสสนู-
เบกขา ด้วยอรูปาวจรวิปัสสนูเบกขา ในบทนี้ว่า ตํ ปชหถ ดังนี้ ตัณหาอาทิผิด อักขระ
ชื่อว่า ตมฺมยตา ในบทนี้ว่า อตมฺมยตํ. วิปัสสนาอันให้ถึงการออกจากการ
กลุ้มรุม ของตัณหานั้น เรียกว่า อตมฺมยตา. ย่อมละอรูปาวจรสมาบัติ
อุเบกขาและวิปัสสนูเบกขา ด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ในบทนี้ว่า ตํ ปชหถ.
บทว่า ยทริโย ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นอริยเจ้า ย่อมทรง
เสพสติปัฏฐานเหล่าใด. ทรงตั้งพระสติในฐานะ ๓ อย่างนั้น พึงทราบว่า
ทรงเสพสติปัฏฐาน.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: