星期五, 一月 29, 2016

Sangyut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/290/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สมาคม คือ เสพด้วยจิต. บทว่า ภชโต คบหา คือ เข้าไปนั่งใกล้. บทว่า
ปยิรุปาสโต นั่งใกล้ คือ เข้าไปนั่งด้วยความเคารพ. บทว่า ปาสาทนีเย
สุตตนฺเต พระสูตรอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วยพระ
รัตนตรัยอันให้เกิดความเลื่อมใส. บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า กุสีทา
เพราะจมลงด้วยอาการเกียจคร้าน. กุสีทา นั่นแล คือ ผู้เกียจคร้าน. บุคคล
ผู้เกียจคร้านเหล่านั้น. บทว่า สมฺมปฺปธาเน ความเพียรชอบ คือ พระสูตร
ปฏิสังยุตอาทิผิด อักขระด้วยความเพียรชอบอันให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง. บทว่า มุฏฺฐสฺสติ
ผู้มีสติหลงลืม คือ ผู้มีสติหายไป. บทว่า สติปฏฺฐาเน สติปัฏฐาน คือ
พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วยสติปัฏฐาน. บทว่า ฌานวิโมกฺเข ฌานและวิโมกข์
คือ พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วย จตุตถฌาน วิโมกข์ ๘ และวิโมกข์ ๓ อย่าง. บท
ว่า ทุปฺปญฺเญ บุคคลปัญญาทราม คือไม่มีปัญญา หรือชื่อว่า ทุปฺปญฺญา
เพราะเป็นผู้มีปัญญาทรามเพราะไม่มีปัญญา ซึ่งบุคคลผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น.
บทว่า คมฺภีราณจริยํ ญาณจริยาอันลึกซึ้ง คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วย
อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือ เช่นกับญาณกถา. บทว่า สุตฺต-
นฺตกฺขนฺเธ จำนวนพระสูตร คือ ส่วนแห่งพระสูตร.
บทว่า อสฺสทฺธิยํ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ในบทมีอาทิว่า อสฺส-
ทฺธิยํ คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา บุคคลเห็นโทษในความไม่มีศรัทธา ละ
ความไม่มีศรัทธา ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ บุคคลเห็นอานิสงส์ในสัทธินทรีย์
เจริญสัทธินทรีย์ ย่อมละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
บทว่า โกสชฺชํ คือความเป็นผู้เกียจคร้าน. บทว่า ปมาทํ คือ
การอยู่ปราศจากสติ. บทว่า อุทฺธจฺจํ คือความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ได้แก่ ซัด
จิตไป.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: