Sot
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 1/822/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เหตุที่ ชื่อว่าการสอด (องคชาต) เข้าไปนั้น ไม่ใช่จะมีได้ด้วยความพยายาม
ของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมมีได้แม้ด้วยความพยายามของผู้อื่น และเมื่อ
ภิกษุยินดีในการสอด (องคชาต) เข้าไปด้วยความพยายามของผู้อื่นแม้นั้น
ก็เป็นอาบัติ, คือเมื่อภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยปฏิเสวนจิตก็เป็นอาบัติ นอกนี้
ไม่เป็นอาบัติ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา มนุสฺสิตฺถึ เป็นต้น.
ในคำว่า ปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหล่าชนผู้
ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าต้องการ คือ ปรารถนาเป็นปฏิปักษ์. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พวกภิกษุ ชื่อว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา (ภิกษุผู้เป็นข้าศึก). คำว่า
ภิกขุปัจจัตถิกานั่น เป็นชื่อของพวกภิกษุผู้ก่อเวร ซึ่งเป็นวิสภาคกัน.
หลายบทว่า มนุสฺสิตฺถึ ภิกฺขุโน สนฺติเก อเนตฺวา ความว่า
พวกภิกษุผู้มีความริษยาปรารถนาจะทำให้ภิกษุนั้นฉิบหาย เอาอามิสหลอกล่อ
หรือพูดด้วยอำนาจมิตรสันถวะว่า ท่านจงทำกิจนี้ของพวกเราเถิด แล้วพาเอา
หญิงมนุษย์บางคนมายังโอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ในเวลาราตรี.
หลายบทว่า วจฺจมคฺเคน องฺคชาตํ อภินีสีเทนฺติ ความว่า
จับภิกษุรูปนั้นที่อวัยวะมี มือ เท้า และศีรษะเป็นต้นอย่างมั่น คือให้ดิ้นรน
ไม่ได้ แล้วให้นั่งคร่อม คือให้ประกอบองคชาตของภิกษุรูปนั้น ด้วยวัจจมรรค
ของหญิง.
ในคำว่า โส เจ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรูปนี้นั้นยินดี
คือยอมรับการสอดอาทิผิด อักขระองคชาตของตนเข้าไปร่วมในแห่งวัจจมรรค (ของหญิง)
คือเธอให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในขณะนั้น ยินดี คือยอมรับการเข้าไปแล้ว, ใน
เวลาที่เข้าไปแล้ว เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นทั้งยินดี คือยอมรับการหยุดอยู่,
ในเวลาที่องคชาตถึงที่ เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในเวลาที่หลั่งน้ำสุกกะ ทั้ง
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论