星期五, 十月 28, 2016

Songkhram

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/231/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โลหิตให้ห้อขึ้นของพระเทวทัตผู้มีจิตเป็นข้าศึก ได้เป็นอนันตริยกรรม.
การผ่าหนังที่บวมขึ้นของหมอชีวกผู้มีจิตเมตตา ได้เป็นบุญอย่างเดียว.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราเป็นคนเดินเท้า ฆ่าคนทั้งหลายด้วยหอก ด้วยวิบาก
ของกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อยู่ในนรกอย่างรุนแรง.
ด้วยเศษของกรรมนั้น มาบัดนี้เขาจึงตัดหนังที่เท้าของเรา
เสียสิ้น เพราะยังไม่หมดกรรม.
ปัญหาข้อที่ ๙ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.
อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้าน
ชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยัง
ที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย
นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้น
เหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔
ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้น
แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความ
เจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมด
ในสงครามอาทิผิด อักขระของเจ้าวิฑูฑภะ โดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลา
ทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 27, 2016

Tathakhot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/6/11  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถานาคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนาคสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า สตฺตนฺธการติมิสายํ ได้แก่ ในราตรีมืดมาก คือมืดมีองค์
๔ ที่กระทำให้เป็นประหนึ่งคนตาบอด. บทว่า อชฺโฌกาเส นิสินฺโน โหติ
ความว่า เสด็จออกจากพระคันธกุฎี วางจีวรผืนใหญ่ไว้บนพระเศียร ประทับ
นั่งกำหนดความเพียรบนแผ่นหิน ท้ายที่จงกรม.
ถามว่า มรรคที่พระตถาคตอาทิผิด อักขระยังไม่เจริญ กิเลสที่ยังไม่ได้ละ อกุปปธรรม
ที่ยังไม่แทงตลอด หรือนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งของพระตถาคต ไม่มีเลยมิใช่
หรือ เพราะเหตุไร จึงได้ทรงกระทำอย่างนั้น. ตอบว่า พระศาสดาทรง
พิจารณาเห็นประโยชน์ดังขอช้าง [บังคับช้าง] สำหรับกุลบุตรทั้งหลายในอนาคต
ว่า กุลบุตรทั้งหลายในอนาคตกาล รำลึกถึงทางที่เราตถาคตอาทิผิด อักขระดำเนินไปแล้ว
สำคัญถึงที่อยู่ซึ่งควรอยู่กลางแจ้ง จักกระทำกรรมคือความเพียร จึงได้ทรง
กระทำดังนั้น. บทว่า มหา แปลว่า ใหญ่. บทว่า อริฏฺฐโก แปลว่า ดำ.
บทว่า มณิ ได้แก่ หิน. บทว่า เอวมสฺส สีสํ โหติ ความว่า ศีรษะ
ของช้างนั้น ก็เป็นอย่างนั้น คือ เสมือนหินก้อนใหญ่สีดำขนาดเท่าเรือนยอด.
ด้วยบทว่า สุภาสุภํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็ท่านท่องเที่ยวอยู่
ตลอดกาลยาวนาน มาแปลงเพศทั้งดีและไม่ดี. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า สํสรํ
แปลว่า ท่องเที่ยวมา. บทว่า ทีฆมทฺธานํ ได้แก่ ตลอดทางไกลตั้งแต่ถิ่น
ของท้าววสวัตดี จนถึงตำบลอุรุเวลาและตลอดกาลนาน กล่าวคือสมัยทรง
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十月 26, 2016

Kasi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/246/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน
หลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่
พระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึง
พระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อุปาสกวรรคที่ ๒

อรรถกถากสิอาทิผิด อักขระสูตร

ในกสิสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มคเธสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ทกฺขิณา
คิริสฺมึ นั้นแล เป็นชื่อแม้แห่งวิหารในชนบทที่มีอยู่ด้านทิศใต้ แห่งภูเขา
ที่ตั้งล้อมกรุงราชคฤห์อยู่. บทว่า เอกนาลา ในคำว่า เอกนาลายํ
พฺราหฺมณคาเม นี้เป็นชื่อของบ้านนั้น. ส่วนพวกพราหมณ์อาศัยอยู่ในบ้าน
นั้นเป็นอันมาก มีความร่าเริง ด้วยการปกครองของพราหมณ์ เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า พราหมณคาม.
บทว่า เตนโข ปน สมเยน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัย
พราหมณคาม ชื่อว่า เอกนาล ในมคธรัฐ ทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์
ของพราหมณ์ ในทักขิณาคิรีวิหาร ตลอดสมัยใด โดยสมัยนั้น. บทว่า
กสิภารทฺวาชสฺส ความว่า พราหมณ์นั้นอาศัยกสิกรรมเลี้ยงชีพ และโคตร
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 24, 2016

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/464/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า สนฺตรพาหิรา ได้แก่ความเอิบอาบของน้ำถูกต้อง พร้อม
ทั้งภายในและภายนอกทุกส่วน.
บทว่า น จ ปคฺฆรติ ความว่า มิใช่น้ำจะหยดออกทีละหยาด ๆ
น้ำนั้นอาจวักด้วยมือก็ได้ ด้วยองคุลี ๒-๓ องคุลีก็ได้ แม้ด้วยชายพกก็
ทำได้.
อุปมาความสุขในทุติยฌาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อุพฺภิโตทโก ความว่า น้ำกระจาย. อธิบายว่า ไม่ใช่น้ำ
ที่แตกข้างล่างแล้วพลุ่งขึ้น แต่เป็นน้ำที่เกิดขึ้นในภายในนั่นเอง.
บทว่า อายมุขํ ได้แก่ทางเป็นที่มา.
บทว่า เทโว ได้แก่เมฆ.
บทว่า กาเลน กาลํ แปลว่า ทุก ๆ เวลา อธิบายว่า ทุกกึ่งเดือน
หรือทุก ๑๐ วัน.
บทว่า ธารํ แปลว่าสายฝน.
บทว่า อนุปฺปเวจฺเฉยฺย ความว่า ฝนไม่หลั่ง คือไม่ตก.
บทว่า สีตา วาริธารา อุพฺภิชฺชิตฺวา ความว่า น้ำเย็นทำห้วงน้ำ
ให้เต็มเกิดขึ้น.
จริงอยู่ น้ำที่พลุ่งขึ้นข้างล่าง ครั้นพลุ่งขึ้นแล้วย่อมทำอาทิผิด น้ำที่แตกให้
กระเพื่อม. น้ำที่ไหลมาแต่ทิศทั้ง ๔ ย่อมทำน้ำให้กระเพื่อมด้วยใบไม้เก่า
หญ้าไม้และท่อนไม้เป็นต้น. น้ำฝนย่อมทำอาทิผิด น้ำให้กระเพื่อมด้วยสายน้ำที่ตก
ลงมาและฟองน้ำ. น้ำที่เกิดขึ้น จมอยู่อย่างนั้นแหละเหมือนเนรมิตด้วยฤทธิ์
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 23, 2016

Rong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/129/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ญาติเผาอยู่ ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา คติอันใด
ของเขามีอยู่ เขาก็ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารโก ได้แก่ เด็กอ่อน. บทว่า
จนฺทํ ได้แก่ ดวงจันทร์. บทว่า คจฺฉนฺตํ ได้แก่ ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า.
บทว่า อนุโรทติ ความว่า ย่อมร้องไห้ว่า จงจับล้อรถให้ฉันเถิด.
บทว่า เอวํ สมฺปหเมเวตํ ความว่า ผู้ใดย่อมเศร้าโศกถึงผู้ล่วง
ลับไปแล้ว คือ ตายไปแล้ว, ความเศร้าโศกของผู้นั้น ก็เปรียบเหมือน
อย่างนั้น คือเห็นปานนั้น, อธิบายว่า เหมือนมีความต้องการจะจับ
พระจันทร์ ซึ่งลอยอยู่กลางอากาศ เพราะความอยากได้ในสิ่งที่
ไม่ควรจะได้.
ท้าวสักกะครั้นฟังคำภริยาของเขาอย่างนั้นแล้ว จึงถามทาสี
ว่า เธอเป็นอะไรกะเขา ทาสีตอบว่า เขาเป็นนายของดิฉันจ๊ะ
ท้าวสักกะกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เธอคงจักถูกเขาโบยอาทิผิด อักขระตีแล้ว
ใช้ให้ทำการงาน เพราะฉะนั้น เธอเห็นจะไม่ร้องไห้ ด้วยคิดว่า
เราพ้นดีแล้วจากเขา. นางทาสีกล่าวว่า นาย อย่าได้พูดอย่างนั้น
กะดิฉันเลย ทั้งข้อนั้นก็ไม่สมควรแก่ดิฉัน, บุตรของเจ้านายดิฉัน
พร้อมด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดู เป็นอย่างยิ่ง ชอบกล่าว
ความถูกต้อง ได้เป็นเหมือนบุตรที่เติบโตในอก. ท้าวสักกะกล่าวว่า
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายนางทาสี
เมื่อจะบอกเหตุที่ตนไม่ร้องไห้อาทิผิด สระ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 20, 2016

Asai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 87/229/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.
จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายายตนะ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
๔. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาอาทิผิด ปจยคามิ-
ธรรม ฯลฯ
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
๕. อปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิ-
ธรรม ฯลฯ
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
[๑๐๔๗] ๖. อาจยคามิธรรม อาศัยอาทิผิด อักขระอาจยคามิธรรม และ
เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ
[๑๐๔๘] ๗. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และ
เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอปจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 17, 2016

Pa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 24/252/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉราคณสงฺฆุฏฺฐํ ความว่า อันหมู่
แห่งนางอัปสรให้กึกก้องแล้วด้วยการขับร้องและดนตรี. บทว่า ปิสาจคณเสวิตํ
อธิบายว่า เทวบุตรนั้น ย่อมกล่าวทำหมู่แห่งนางอัปสรนั้นนั่นแหละว่าเป็นหมู่
แห่งปีศาจ. บทว่า วนํ ความว่า เทวบุตรนั้นกล่าวหมายเอาสวนชื่อ นันทนวัน.
จริงอยู่ เทวบุตรนี้ย่อมไม่ชอบใจที่จะกล่าว หมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งเทวดา
ย่อมกล่าวหมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งปีศาจ ดังนี้ ก็เพราะจิตตนิยาม โดย
ความเป็นผู้หนักแน่นของตน. และไม่กล่าว สวนนันทนวันว่าเป็นสวนนันทนวัน
ย่อมกล่าวสวนนันทนวันว่าเป็นป่า โมหนะ (ป่าเป็นที่หลง). บทว่า กถํ
ยาตฺรา ภวิสฺสติ อธิบายว่า การออกไปจักมีได้อย่างไร การก้าวออกไปจักมี
ได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกวิปัสสนาอันเป็น
ปทัฏฐาน (เหตุใกล้) แห่งพระอรหัตแก่ข้าพระองค์.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณาอยู่ว่า เหตุที่เทวบุตร
นี้กำหนดอยู่นั่นแหละเป็นอะไรหนอ ดังนี้ ทรงทราบแล้วซึ่งความที่เทวบุตร
นั้นเป็นบรรพชิตในศาสนาของพระองค์ จึงทรงดำริว่า เทวบุตรนี้ ทำกาละ
เพราะความเพียรอันแรงกล้าแล้วเกิดในเทวโลกทั้งอัตภาพของเธอนั้นในที่เป็น
ที่จงกรมนั่นแหละ แม้ในวันนี้ก็มิได้ทำลายศีลมาแล้ว ดังนี้.
ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วน
เบื้องต้นก่อนว่า เธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิ จงทำกัมมัสสกต
ปัญญาให้ตรง ดังนี้ ราวกะนายช่างจิตรกรทำการตกแต่งฝาผนัง บอกแก่อัน-
เตวาสิกผู้ไม่มั่นใจในการกระทำ ผู้เริ่มทำครั้งแรก ผู้ไม่ชำนาญในการทำ ฉะนั้น
แต่ว่า เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้วประกอบทั่วแล้ว พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียวซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้งอันเป็น
ปทัฏฐานแห่งพระอรหัตมรรค.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十月 15, 2016

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/482/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดหน่วง เป็นผู้ขจัดไข้ใจ เป็นผู้จัดแจงประโยชน์
ของเรา.
ก็ธาตุเหล่าใดมีเนื้อความว่าไป แม้ความรู้ก็เป็นเนื้อความของธาตุ
เหล่านั้น เพราะฉะนั้น เนื้อความของบทว่า คจฺฉามิ ข้าพระองค์
ขอถึง นี้ ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ทีเดียวว่า ชานามิ พุชฺฌามิ ข้าพระองค์รู้
เข้าใจ ดังนี้.
ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ชื่อว่า พระธรรม ด้วยอรรถว่าทรงไว้ซึ่งผู้บรรลุมรรคแล้ว ทำ
นิโรธให้เป็นแจ้งแล้ว และปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอน
มิให้ตกไปในอบายทั้งหลาย. พระธรรมนั้น โดยอรรถก็คืออริยมรรคและ
นิพพาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเหล่าใดที่เป็นสังขตะ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตถาคตกล่าวว่าเป็นยอด
ของธรรมเหล่านั้น ดังนี้. พึงทราบความพิสดาร.
และมิใช่แต่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นพระธรรม
แม้ปริยัตติธรรมกับอริยผลทั้งหลาย ก็เป็นพระธรรมโดยแท้แล. สมจริง
ดังที่กล่าวไว้ในฉัตตมาณวกวิมาน ว่า
เธอจงเข้าถึงพระธรรมนี้ ซึ่งเป็นเครื่องสำรอกราคะ
ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรมอาทิผิด อักขระ ไม่ปฏิกูล
มีรสเอมโอช ซื่อตรง บัณฑิตจำแนกไว้ดีแล้ว ว่าเป็น
สรณะที่มีประโยชน์.
ก็ในคาถานี้ ที่ว่าเป็นเครื่องสำรอกราคะ ท่านกล่าวหมายเอามรรค.
ที่ว่าไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก หมายเอาผล. ที่ว่าเป็นอสังขตธรรม หมาย
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 13, 2016

Khakkhanan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/233/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จประทับนั่งเหนือราชอาสน์ บนพื้นปราสาท
ใหญ่ริมสีหบัญชรไชยมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม ทอดพระเนตรดูจันทมณฑลอัน
ทรงกลดอาทิผิด อักขระหมดราคีลอยเด่นอยู่ ณ พื้นคัคนานต์อาทิผิด อักขระอากาศ จึงมีพระราชดำรัสถาม
เหล่าอำมาตย์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ราตรีอันบริสุทธิ์เช่นนี้น่ารื่นรมย์หนอ
วันนี้เราพึงเพลิดเพลินกันด้วยเรื่องอะไรดี.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้นได้ตรัสว่า
พระเจ้าอังคติผู้เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ
พระองค์มีช้างม้าพลโยธามากมายเหลือที่จะนับ ทั้ง
พระราชทรัพย์ก็เหลือหลาย ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญขึ้น
๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุทบาน ตอนปฐมยาม
พระองค์ทรงประชุมเหล่าอำมาตย์ราชบัณฑิต ผู้เป็น
พหูสูตเฉลียวฉลาด ผู้ทรงเคยรู้จัก ทั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่
อีก ๓ นาย คือวิชัยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑
อลาตอำมาตย์ ๑ แล้วจึงตรัสถามตามลำดับว่า เธอจง
แสดงความเห็นของตนมาว่า ในวันกลางเดือน ๑๒
เช่นนี้ พระจันทร์แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้ พวกเรา
จะยังฤดูเช่นนี้ให้เป็นไปด้วยความยินดีอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูตโยโค ความว่า พระองค์ ประกอบ
ด้วยพลช้างมากมายเป็นต้น. บทว่า อนนฺตพลโปริโส ได้แก่ พระองค์มี
พลโยธามากมายเหลือที่นับ. บทว่า อนาคเต ความว่า ยังไม่ถึง คือ ยังไม่ล่วง
ถึงที่สุด. บทว่า จาตุมาสา ได้แก่ ในราตรีอันเป็นวันสุดท้าย แห่งเดือนอัน
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 10, 2016

Lohitam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/116/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและโคจรลามก ถึง
ชื่อว่าอยู่ร่วมกับสมณะผู้บริสุทธิ์และผู้ไม่บริสุทธิ์ มี
สติมั่นคง แต่นั้นพวกเธอมีความพร้อมเพรียงกัน
มีปัญญารักษาตน ก็จักทำที่สุดทุกข์ได้.
ธรรมนี้ ชื่อว่า ปราศจากสมณะผ้าขี้ริ้ว แม้เพราะสมณะหยากเยื่อถูก
ตัดขาดแล้วด้วยประการฉะนี้. บทว่า อลเมว แปลว่า สมควรแท้. บทว่า
สทฺธาปพฺพชิเตน แปลว่า ผู้บวชด้วยศรัทธา. ในบทว่า กุลปุตฺเตน
กุลบุตรมี ๒ คือ อาจารกุลบุตรและชาติกุลบุตร. บรรดากุลบุตรทั้งสองนั้น
กุลบุตรผู้ใด ออกบวชจากตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บำเพ็ญธรรมขันธ์ ๕
มีศีลขันธ์เป็นต้น กุลบุตรผู้นี้ ชื่อว่า อาจารกุลบุตร ส่วนกุลบุตรผู้ใด
ออกบวชจากตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยชาติ ดั่งเช่นพระยศกุลบุตรเป็นต้น
กุลบุตรผู้นี้ ชื่อว่า ชาติกุลบุตร ในกุลบุตรทั้งสองนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์
เอาอาจารกุลบุตร. ก็ถ้าชาติกุลบุตร มีอาจาระ ชาติกุลบุตรนี้ ก็จัดว่า
สูงสุดทีเดียว. อันกุลบุตรเห็นปานนั้น. บทว่า วิริยํ อารภิตุํ ได้แก่
เพื่อทำความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความเพียรมีองค์ ๔ จึงตรัสว่า กามํ ตโจ
เป็นต้น. ในองค์ทั้ง ๔ นั้น ตโจ เป็นองค์ ๑ นหารุ เป็นองค์ ๑
อฏฺฐิ เป็นองค์ ๑. มํสโลหิตํอาทิผิด อักขระ เป็นองค์ ๑. ก็แลกุลบุตรผู้อธิษฐาน
ความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ พึงใช้ในฐานะทั้ง ๙ คือ ก่อน
อาหาร หลังอาหาร ยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย เวลาเดิน เวลายืน
เวลานั่ง เวลานอน. บทว่า ทุกฺขํ ภิกฺขเว กุสิโต วิหรติ ความว่า
ในพระศาสนานี้ บุคคลใดเกียจคร้าน บุคคลนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ แต่
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十月 08, 2016

Racha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 14/407/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำว่า ติโรราชาอาทิผิด อักขระโน พระราชาภายนอก ความว่า พระราชาทั้งหลาย
ในภายนอกแคว้น คือในชนบทอื่น ก็รู้. คำว่า อพฺยตฺโต คือ ผู้ไม่มีปัญญา
กล้า ผู้ไม่ฉลาด. คำว่า โกเปนปิ ความว่า คนเหล่าใด กล่าวกะเราอย่างนี้
ข้าพเจ้าก็จักชัก จักนำ จักพาเขา ซึ่งมีทิฏฐิอย่างนั้นเที่ยวไป ด้วยความโกรธ
ที่เกิดในคนเหล่านั้น. คำว่า มกฺเขน ด้วยมักขะ คือ ความลบหลู่ ที่มีลักษณะ
ลบหลู่เหตุที่ท่านกล่าวแล้ว. คำว่า ปลาเสน ด้วยปลาสะ คือ ความตีตนเสมอ
อันมีลักษณะที่ถือว่าเป็นคู่ (เคียง) กับท่าน.
คำว่า หรีตกปณฺณํ ในสมอ คือ สมอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง. อธิบายว่า
โดยที่สุด แม้ใบหญ้าอ่อนก็ไม่มี. คำว่า อาสนฺนทฺธกลาปํ คือ ผู้มีแล่งธนูอัน
ผูกสอดไว้แล้ว. คำว่า อาสิตฺโตทกานิ วฏุมานิ คือ หนทางและห้วยละ
หาร มีน้ำบริบูรณ์. คำว่า โยคฺคานิ คือ ยานเทียมโคงาน. คำว่า พหุนิกฺข-
นุตโร ความว่า ออกไปมาก ออกไปนานแล้ว. คำว่า ยถาภเตน ภณฺเฑน
ความว่า สิ่งของ คือหญ้าไม้และน้ำอันใด ที่พวกท่านบรรทุกมา ก็จงยังหมู่
เกวียนให้เป็นไป ด้วยสิ่งของที่ท่านนำมา บรรทุกมา พามา นั้นเถิด. คำว่า
อปฺปสารานิ คือมีค่าน้อย. คำว่า ปณิยานิ แปลว่า สิ่งของทั้งหลาย.
คำว่า มม จ สูกรภตฺตํ ความว่า นี้เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลาย ของ
ข้าพเจ้า. คำว่า อุคฺฆรนฺตํ แปลว่า ไหลขึ้น. คำว่า ปคฺฆรนฺตํ แปลว่า ไหล
ลง. คำว่า ตุมฺเห เขฺวตฺถ ภเณ แปลว่า แน่ะอาทิผิด อาณัติกะพนาย พวกท่านต่างหาก เป็นบ้า
เสียจริต ในเรื่องนี้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ตถา หิ ปน
เม สูกรภตฺตํ แปลว่า แต่ถึงอย่างนั้น คูถนี้ก็เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลายของ
ข้าพเจ้า.
คำว่า อาคตาคตฺ กลึ แปลว่า กลืนเบี้ยแพ้ที่ทอดมาถึง ๆ เสีย. คำว่า
ปโชหิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักทำการเซ่นอาทิผิด  จักทำการบวงสรวง. คำว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十月 07, 2016

Siao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/696/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า เอกปุตฺตโก ความว่า เป็นบุตรคนเดียวแท้ ๆ คือพี่ชาย
หรือน้องชายคนอื่นของเจ้าไม่มี.
อนึ่ง ในบทว่า เอกปุตฺตโก นี้ เมื่อมารดาบิดาควรจะกล่าวว่า
เอกปุตฺโต แต่กล่าวว่า เอกปุตฺตโก ก็ด้วยอำนาจความเอ็นดู.
บทว่า ปิโย แปลว่า ผู้ให้เกิดปีติ.
บทว่า มนาโป แปลว่า ผู้เจริญใจ.
บทว่า สุเขธิโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองมาด้วยความสุข. อธิบายว่า
ผู้เจริญมาด้วยความสุข.
บทว่า สุขปริหโฏ ความว่า ผู้อันเหล่าชนประคบประหงมมาด้วย
ความสุข คือตั้งแต่เวลาเกิดมาแล้ว ก็มีพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายผลัดเปลี่ยนตัก
กันอุ้มทรงไว้ เล่นอยู่ด้วยสิ่งของเครื่องเล่นในเวลายังเป็นเด็กเล็ก ๆ มีม้าและ
รถเป็นต้น อันพี่เลี้ยงเป็นต้นให้บริโภคโภชนาหารที่มีรสอร่อยดี ชื่อว่าผู้อัน
เหล่าชนประคบประหงมมาด้วยความสุข.
หลายบทว่า น ตฺวํ ตาต สุทินฺน กิญฺจิ ทุกฺขสฺส ชานาสิ
ความว่า แน่ะลูกสุทินน์ เจ้าย่อมไม่รู้ส่วนเสี้ยวอาทิผิด อักขระแห่งทุกข์อะไร ๆ แม้เพียงเล็ก
น้อยเลย. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมไม่ได้เสวยอะไร ๆ ด้วยความทุกข์
คำว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปใน
อรรถคือความเสวย.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมระลึกถึงทุกข์อะไร ๆ ไม่ได้ . คำว่า
ทุกฺขสฺส นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปในอรรถ
คือความระลึก.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 06, 2016

Phruek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 75/36/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โดยส่วนเบื้องขวางทั้งหลาย พระรัศมีแล่นไปสู่โลกา ทั้งหลายอันหา
ที่สุดมิได้ ในที่ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่มีรัศมีพระจันทร์ในพระจันทร์
ไม่มีรัศมีพระอาทิตย์ในพระอาทิตย์ ไม่มีรัศมีดวงดาวในดวงดาวทั้งหลาย ไม่มี
รัศมีของเทวดาทั้งหลายในที่ทั้งปวง คือ ที่อุทยาน วิมาน ต้นกัลปพฤกษ์อาทิผิด อักขระ
ทั้งหลาย ที่สรีระทั้งหลาย ที่อาภรณ์ทั้งหลาย ถึงมหาอาทิผิด อักขระพรหมผู้สามารถแผ่
แสงสว่างไปสู่โลกธาตุติสหัสสี และมหาสหัสสี ก็ได้เป็นเหมือนหิ่งห้อยในเวลา
พระอาทิตย์ขึ้น พระจันทร์ พระอาทิตย์ ดวงดาว อุทยานวิมาน ต้นไม้
กัลปพฤกษ์ของเทพ ก็ปรากฏเพียงเป็นการกำหนดเท่านั้น.
จริงอยู่ สถานที่มีประมาณเท่านี้ ได้เป็นที่ท่วมทับ (ปกคลุม) แล้ว
ด้วยรัศมีของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น พระฤทธิ์แม้นี้มิใช่ฤทธิ์เกิดจากการอธิษฐาน
มิใช่ฤทธิ์เกิดจากภาวนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่เมื่อพระโลกนารถ
ทรงพิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุม พระโลหิตก็ผ่องใส วัตถุรูปก็ผ่อง
ใส พระฉวีวรรณก็ผ่องใส วรรณธาตุมีจิตเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว
ในประเทศประมาณ ๘๐ ศอกโดยรอบ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาธรรม
โดยลักษณะนี้ ตลอด ๗ วัน.
มีคำถามว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาตลอด ๗ คืน
๗ วัน ได้มีประมาณเท่าไร ?
ตอบว่า หาประมาณมิได้.
นี้ชื่อว่า เทศนาด้วยพระหฤทัยก่อน ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น
ใคร ๆ ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า ก็พระศาสดาเมื่อทรงเปล่งพระวาจาแสดงธรรมอัน
พระองค์คิดด้วยพระทัยตลอด ๗ วันอย่างนี้ โดยล่วงไปร้อยปีก็ดี พันปีก็ดี
แสนปีก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อให้ถึงที่สุดได้ ดังนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十月 05, 2016

Patsasa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/99/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์
ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน
พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.
ลมอัสสาสะ ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะ ชื่อว่า
อปานะ ไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาสะอาทิผิด อักขระ ย่อม
ปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้าและผู้หายใจออก.
คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ
ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ.
ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่
ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ อรรถแห่งภาวนา  ประการนี้ เป็นอรรถอัน
ภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอ
ดีแล้ว.
คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็น
ผู้ถึงความชำนาญ ถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วย
มนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็น
ดังยาน.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十月 04, 2016

Muea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 12/30/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นเหมือนดอกปทุมที่บานแล้วด้วยการต้องแสงแดดอ่อน เป็นราวกะรัศมี
แห่งพระจันทร์เต็มดวง.
บทว่า มีพระพักตร์เบิกบาน ความว่า ท่านแสดงไว้ว่า คนบางจำ
พวกมีหน้าคว่ำ เมื่อชุมนุมชนมาประชุมกันแล้ว ก็ไม่พูดอะไร เป็นคนที่มีคำ
พูดอันได้ด้วยยากฉันใด แต่พระสมณโคดมไม่เป็นเช่นนั้น เป็นผู้มีพระ
วาจาได้ด้วยง่าย สำหรับผู้ที่มาสู่สำนักของพระองค์ไม่เกิดความเดือดร้อนใจ
ว่า พวกเรามาในที่นี้เพราะเหตุไร แต่ชนทั้งหลายได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมมี
ใจยินดีโดยแท้. บทว่า มีปกติตรัสก่อน คือ พระองค์เมื่ออาทิผิด จะตรัสย่อมตรัส-
ก่อน และพระดำรัสก็ประกอบด้วยกาล. พระองค์ก็ตรัสแต่ถ้อยคำประกอบ
ด้วยประมาณ อาศัยประโยชน์โดยแท้ ไม่ตรัสถ้อยคำอันหาประโยชน์
มิได้.
บทว่า ในบ้านนั้นหรือ ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ย่อมถวายอารักขา. เพราะอาศัย
เทวดาเหล่านั้น อุปัทวะย่อมไม่มีแก่มนุษย์ทั้งหลาย. ก็ปิศาจทั้งหลายมี
ปิศาจคลุกฝุ่นเป็นต้น ย่อมเบียดเบียนมนุษย์. ปิศาจเหล่านั้นย่อมหลีกไปไกล
ด้วยอานุภาพของเทวดาเหล่านั้น. อีกประการหนึ่ง แม้เพราะกำลังแห่งพระ-
เมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกอมนุษย์ก็ไม่เบียดเบียนมนุษย์.
ในบททั้งหลายมีบทว่า เป็นเจ้าหมู่เป็นต้น ความว่า หมู่ที่คนพึง
พร่ำสอนหรือที่คนให้เกิดเองของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นเจ้า
หมู่. อนึ่ง คณะเช่นนั้นของบุคคลนั้นอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นเจ้าคณะ.
อีกประการหนึ่ง คำนี้เป็นไวพจน์ของบทแรก. พระองค์ทรงเป็นอาจารย์
ของคณะด้วยอำนาจแห่งการให้เขาศึกษาเรื่องอาจาระ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้
เป็นคณาจารย์. บทว่า แห่งเจ้าลัทธิมากมาย คือ แห่งเจ้าลัทธิจำนวนมาก
 
พระปิฎกธรรม