Siao
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 1/696/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บทว่า เอกปุตฺตโก ความว่า เป็นบุตรคนเดียวแท้ ๆ คือพี่ชาย
หรือน้องชายคนอื่นของเจ้าไม่มี.
อนึ่ง ในบทว่า เอกปุตฺตโก นี้ เมื่อมารดาบิดาควรจะกล่าวว่า
เอกปุตฺโต แต่กล่าวว่า เอกปุตฺตโก ก็ด้วยอำนาจความเอ็นดู.
บทว่า ปิโย แปลว่า ผู้ให้เกิดปีติ.
บทว่า มนาโป แปลว่า ผู้เจริญใจ.
บทว่า สุเขธิโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองมาด้วยความสุข. อธิบายว่า
ผู้เจริญมาด้วยความสุข.
บทว่า สุขปริหโฏ ความว่า ผู้อันเหล่าชนประคบประหงมมาด้วย
ความสุข คือตั้งแต่เวลาเกิดมาแล้ว ก็มีพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายผลัดเปลี่ยนตัก
กันอุ้มทรงไว้ เล่นอยู่ด้วยสิ่งของเครื่องเล่นในเวลายังเป็นเด็กเล็ก ๆ มีม้าและ
รถเป็นต้น อันพี่เลี้ยงเป็นต้นให้บริโภคโภชนาหารที่มีรสอร่อยดี ชื่อว่าผู้อัน
เหล่าชนประคบประหงมมาด้วยความสุข.
หลายบทว่า น ตฺวํ ตาต สุทินฺน กิญฺจิ ทุกฺขสฺส ชานาสิ
ความว่า แน่ะลูกสุทินน์ เจ้าย่อมไม่รู้ส่วนเสี้ยวอาทิผิด อักขระแห่งทุกข์อะไร ๆ แม้เพียงเล็ก
น้อยเลย. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมไม่ได้เสวยอะไร ๆ ด้วยความทุกข์
คำว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปใน
อรรถคือความเสวย.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมระลึกถึงทุกข์อะไร ๆ ไม่ได้ . คำว่า
ทุกฺขสฺส นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปในอรรถ
คือความระลึก.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论