星期三, 十月 05, 2016

Patsasa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/99/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์
ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน
พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.
ลมอัสสาสะ ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะ ชื่อว่า
อปานะ ไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาสะอาทิผิด อักขระ ย่อม
ปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้าและผู้หายใจออก.
คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ
ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ.
ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่
ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ อรรถแห่งภาวนา  ประการนี้ เป็นอรรถอัน
ภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอ
ดีแล้ว.
คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็น
ผู้ถึงความชำนาญ ถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วย
มนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็น
ดังยาน.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: