星期四, 三月 23, 2017

Anapanassati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/196/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กว่านั้น. บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา
อันกล้าแข็ง ใกล้มรรคเข้าไปแล้ว.
แม้มรรคก็มิได้ทำลายไปในวิปัสสนาที่ได้ ท่านกล่าวจตุกะนี้ด้วย
อำนาจแห่งวิปัสสนาบริสุทธิ์ แต่ ๓ อย่างข้างต้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง
สมถะและวิปัสสนา.
จบอรรถกถาอานาปานอาทิผิด สติมาติกกา

บัดนี้ เพื่อแสดงจำแนกมาติกาตามที่วางไว้โดยลำดับ จึงเริ่มบทมีอา-
ทิว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา. บทว่า อิธ คือในทิฏฐินี้. ในบทเหล่านั้น
ท่านกล่าวถึงคำสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น อันได้แก่ไตรสิกขาด้วยบท
๑๐ บทมีอาทิว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา ในทิฏฐินี้ เพราะคำสอนนั้นท่านกล่าวว่า
ทิฏฐิ เพราะพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทรงเห็นแล้ว ท่านกล่าวว่า ขันติ
ด้วยสามารถความอดทน กล่าวว่า รุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ กล่าวว่า
เขต ด้วยสามารถการถือเอา กล่าวว่า ธรรม ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวธรรม
กล่าวว่า วินัย ด้วยอรรถว่าควรศึกษา กล่าวว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถ
ทั้งสองนั้น กล่าวว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถธรรมที่ตรัส กล่าวว่า
พรหมจรรย์ ด้วยอรรถว่าเป็นความประพฤติอันประเสริฐ กล่าวว่า สัตถุ-
ศาสน์ ด้วยสามารถให้คำสั่งสอน.
เพราะฉะนั้น ในบทว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นต้นพึงทราบ
ความว่า ในความเห็นของพระพุทธเจ้านี้ ในความอดทนของพระพุทธเจ้านี้
ในความชอบใจของพระพุทธเจ้านี้ ในเขตของพระพุทธเจ้านี้ ในธรรมของ
พระพุทธเจ้านี้ ในวินัยของพระพุทธเจ้านี้ ในธรรมและวินัยของพระพุทธเจ้านี้
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: