星期六, 三月 18, 2017

Khuankhwai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/203/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อทฺธานสงฺขาเต คือในกาลที่นับยาว. ทางยาวท่านก็เรียกว่า
อทฺธาโน. แม้กาลนี้ท่านก็กล่าวว่า อทฺธาโน เพราะยาวดุจทางยาว แม้กล่าว
ลมอัสสาสะ และลมปัสสาสะต่างหากกันว่า อสฺสสติ หายใจเข้าบ้าง และ
ปสฺสติ หายใจออกบ้าง เพื่อแสดงความเป็นไปตามลำดับแห่งภาวนา ท่าน
จึงกล่าวย่ออีกว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง. บทว่า ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะย่อมเกิด คือ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความยิ่ง ๆ ในรูปแห่งความเจริญยิ่งของ
ภาวนา. บทว่า สุขุมตรํ ละเอียดกว่า ท่านกล่าวเพราะมีความสงบ. บทว่า
ปามุชฺชํ อุปฺปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิด คือปีติย่อมเกิด เพราะความ
บริบูรณ์แห่งภาวนา.
บทว่า อสฺสาสปสฺสาสาปิ จิตฺตํ วิวฏฺฏติ จิตย่อมหลีกออกจาก
ลมอัสสาสปัสสาสะ คือ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิด เพราะอาศัยลมอัสสาสปัสสาสะ
จิตย่อมกลับจากลมอัสสาสปัสสาสะปกติ. บทว่า อุเปกฺขา สณฺฐาติ อุเบกขา
ย่อมตั้งอยู่ คือในปฏิภาคนิมิตนั้น มัชฌัตตุเบกขาอันเป็นอุปจาระและอัปปนา
ย่อมตั้งอยู่ เพราะไม่มีความขวนขวายอาทิผิด อักขระในการตั้งไว้ซึ่งการบรรลุสมาธิ.
บทว่า นวหากาเรหิ ด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่ อาการ ๙ อย่าง
คือ อาการ ๓ ท่านกล่าวว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง ก่อนแต่ฉันทะเกิด
ตั้งแต่เริ่มภาวนา อาการ ๓ ก่อนความปราโมทย์เกิดตั้งแต่ฉันทะเกิด อาการ
๓ ตั้งแต่ความปราโมทย์เกิด. บทว่า กาโย กาย ชื่อว่า กาย เพราะประชุม
ลมอัสสาสะและปัสสาสะที่เป็นของละเอียด ๆ ขึ้นไป. แม้นิมิตที่เกิดเพราะอาศัย
ลมอัสสาสะปกติปัสสาสะปกติ ก็ย่อมได้ชื่อว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ.
บทว่า อุปฏฺฐานํ สติ สติปรากฏ ชื่อว่า สติปรากฏ เพราะสติ
กำหนดอารมณ์นั้นตั้งอยู่. บทว่า อนุปสฺสนาาณํ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: