Sotani
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 45/215/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ยานิ โสตานิอาทิผิด อักขระ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ
โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
อชิตะ สติเป็นเครื่องห้ามกระแสในโลก
เรากล่าว ความสำรวมกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านั้น พึงทำลายด้วยปัญญา
ดังนี้.
ขันติสังวรนี้มาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ขโม โหติ สีตสฺส อุณฺหสฺส
เป็นผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน. วีริยสังวรนี้มาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า
อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ ไม่ยอมให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วท่วมทับ
ได้. แต่โดยเนื้อความ เจตนาและวิรัติที่เป็นไปแล้ว ด้วยการละปาณาติบาต
เป็นต้น และด้วยการกระทำวัตรปฏิบัติ โดยย่อ คือการสำรวมกายและวาจา
ทั้งปวง โดยพิสดาร คือการไม่ล่วงกองอาบัติ ๗ ชื่อว่า สีลสังวร. สติสังวร
คือสตินั่นเอง หรือกุศลขันธ์อันมีสติเป็นประธาน. ญาณสังวร คือญาณนั่นเอง.
กุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วด้วยความอดกลั้น เพราะมีอโทสะเป็นประธาน ชื่อว่า
ขันติสังวร. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ปัญญา. ความเพียรอันเป็นไปแล้ว
ด้วยความอดกลั้นกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่า วีริยสังวร. ในสังวรเหล่านั้น พึง
ทราบว่า ข้อแรกชื่อว่า สังวร เพราะป้องกันความเป็นผู้ทุศีล มีกายทุจริต
เป็นต้น ข้อสองชื่อว่าสังวร เพราะป้องกันความหลงลืม ข้อสามชื่อว่าสังวร
เพราะป้องกันความไม่รู้ ข้อสี่ชื่อว่าสังวร เพราะป้องกันความไม่อดทน ข้อห้า
ชื่อว่าสังวร เพราะสำรวม คือปิดกั้นความเกียจคร้าน. อธิบายว่า เพื่อการ
สำรวม คือเพื่อให้สำเร็จการสำรวม เพื่อประโยชน์แก่การสำรวมนั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论