星期一, 三月 13, 2017

Chomphu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/208/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาวรรคที่ ๔

วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ชมฺพูทีเป ความว่า ชื่อว่า ชมพูอาทิผิด อักขระทวีป เพราะเป็นทวีปที่รู้
กันทั่วไป คือ ปรากฏด้วย ต้นหว้าเป็นสำคัญ. เขาว่าทวีปนี้มีต้นหว้าใหญ่
ตระหง่านสูง ๑๐๐ โยชน์ กิ่งยาว ๕๐ โยชน์ ลำต้นกลม ๑๕ โยชน์
เกิดอยู่ที่เขาหิมพานต์ตั้งอยู่ชั่วกัป. ทวีปนี้เรียกว่าชมพูทวีป เพราะมีต้น
หว้าใหญ่นั้น. อนึ่ง ในทวีปนี้ ต้นหว้าตั้งอยู่ชั่วกัป ฉันใด แม้ต้นไม้
เหล่านี้ คือ ต้นกระทุ่ม ในอมรโคยานทวีป ต้นกัลปพฤกษ์ ในอุตตรกุรุ-
ทวีป ต้นซึกอาทิผิด สระ ในบุพพวิเทหทวีป ต้นแคฝอยของพวกอสูร ต้นงิ้วของ
พวกครุฑ ต้นปาริชาตของพวกเทวดา ก็ตั้งอยู่ชั่วกัปเหมือนกัน ฉันนั้น.
ท่านประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า
ปาตลี สิมฺพลี ชมฺพู เทวานํ ปาริฉตฺตโก
กทมฺโพ กปฺปรุกโข จ สิรีเสน ภวติ สตฺตโม
แปลว่า
ต้นแคฝอย ต้นงิ้ว ต้นหว้า ต้นปาริชาต ของ
เทวดา ต้นกระทุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ และต้นซึกอาทิผิด สระ
ครบ ๗ ต้น.
บทว่า อารามรามเณยฺยกํ ความว่า บรรดาสวนดอกไม้และสวน
ผลไม้ ที่น่ารื่นรมย์ เช่น สวนพระเวฬุวัน ชีวกัมพวัน เชตวัน และ
บุพพาราม. สวนอันน่ารื่นรมย์นั้น ในชมพูทวีปนี้มีน้อย คือ นิดหน่อย

๑. บาลีข้อ ๒๐๕-๒๐๖
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: