星期四, 一月 31, 2019

Trai Phet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/72/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ต่อจากพระเวสสภูก็มาถึง พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็น
ใหญ่ในทวีป ทรงพระนามว่า กกุสันธะ หาคนเทียบ
เคียงมิได้ ยากที่ใครๆ จะต่อกรได้.
ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า โกนาคมนะ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียว ในสันนิบาตนั้น
ได้มีภิกษุสามหมื่นรูป ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า
ปัพพตะ มีหมู่อำมาตย์แวดล้อมเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระ-
ธรรมเทศนาแล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายมหาทานแล้ว
ถวายผ้าปัตตุณณะ [ผ้าไหม] จีนปฏะ [ผ้าขาวในเมืองจีน] ผ้าไหมผ้ากัมพล
และผ้าเปลือกไม้เนื้อดี รวมทั้งผ้าที่ทอด้วยทองคำ แล้วทรงผนวชในสำนัก
ของพระศาสดา แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาไว้ พระนครของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า โสภวดี พราหมณ์นามว่า ยัญญทัตตะ เป็น
พระบิดา นางพราหมณ์นามว่า อุตตรา เป็นพระมารดา พระอัครสาวกนามว่า
ภิยโยสะองค์หนึ่ง นามว่าอุตตระองค์หนึ่ง อุทุมพรพฤกษ์ [ต้นมะเดื่อ] เป็น
ต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๒๐ ศอก พระชนมายุได้ ๓๐,๐๐๐ ปี.
ต่อจากพระกกุสันธะ พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า
นระทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้เป็นพระชินเจ้า ผู้
เป็นพระโลกเชษฐ์พระนราสภ.
ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่ากัสสปะเสด็จอุบัติ
ขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียวเท่านั้น ในสันนิบาตนั้นมี
ภิกษุสองหมื่น ในคราวนั้นพระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ เรียนจบ
ไตรเพทอาทิผิด อักขระ เป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งบนแผ่นดินและกลางหาว ได้เป็นมิตรของช่างหม้อ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 一月 28, 2019

Khuan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 12/3/15  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั้งหลายจงรอก่อน พราหมณ์โสณทัณฑะจะไปเฝ้าพระสมณโคดมด้วย. ที่
ปรึกษารับคำแล้วไปหาพราหมณ์และคหบดีชาวนครจัมปา แล้วบอกตามคำ
สั่งว่า พราหมณ์โสณทัณฑะสั่งว่า ขอท่านทั้งหลายจงรอก่อน พราหมณ์
โสณทัณฑะจะไปเฝ้าด้วย.
[๑๘๑] สมัยนั้น พวกพราหมณ์ต่างเมืองประมาณ ๕๐๐ คนพักอยู่ใน
นครจัมปาด้วยกรณียกิจบางอย่าง. เขาได้ทราบว่า พราหมณ์โสณทัณฑะ
จักไปเฝ้าพระสมณโคดม จึงพากันเข้าไปหาแล้วถามว่า ได้ทราบว่า ท่านจัก
ไปเฝ้าพระสมณโคดมจริงหรือ. โสณทัณฑะตอบว่า ท่านผู้เจริญ เราคิดว่าจัก
ไปเฝ้าพระสมณโคดมจริง พวกพราหมณ์กล่าวว่า อย่าเลย ท่านโสณทัณฑะ
ท่านไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม ถ้าท่านไป ท่านจะเสียเกียรติยศ เกียรติยศ
ของพระสมณโคดมจักรุ่งเรือง ด้วยเหตุนี้แหละ ท่านจึงไม่ควรไป พระ
สมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่าน อนึ่ง ท่านเป็นอุภโตสุชาต ทั้ง
ฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่
มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ เพราะเหตุนี้ ท่านจึงไม่
ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรอาทิผิด สระจะเสด็จมาหาท่าน
อนึ่ง ท่านเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก....อนึ่ง ท่านเป็นผู้
คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์
เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาส เป็นที่ห้า เป็นผู้เข้าใจ
ตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริส-
ลักษณะ อนึ่ง ท่านมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณผุด
ผ่องยิ่งนัก มีวรรณคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย
อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน อนึ่ง ท่านเป็นผู้มี
วาจาไพเราะ มีสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 一月 27, 2019

Lang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/571/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อำนาจแห่งจรณะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกษุย่อมเข้าถึงฌาน
ที่ ๑ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น ฯ ล ฯ ภิกษุย่อมเข้าถึงฌาน
ที่ ๔ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น เป็นต้น. ด้วยพระดำรัสเพียง
เท่านี้เป็นอันว่าพระองค์ตรัสระบุชัดถึงสมาบัติแม้ทั้ง ๘ ว่าเป็นจรณะ ส่วน
ปัญญาแม้ทั้ง ๘ นับแต่วิปัสสนาญาณไป พระองค์ตรัสระบุชัดว่า เป็นวิชชา.
บทว่า อปายมุขานิ แปลว่า ปากทางแห่งความพินาศ บทว่า
ผู้ยังไม่ตรัสรู้ คือยังไม่บรรลุ หรือว่า ยังไม่สามารถ. ในบทว่า ถือเอา
เครื่องหาบดาบสบริขารอาทิผิด อักขระ นี้ บริขารของดาบสอาทิผิด อักขระมี ไม้สีไฟ เต้าน้ำ เข็ม และ
แส้หางจามรี เป็นต้น ชื่อว่าขารี. บทว่า วิโธ แปลว่า หาบ. เพราะ
ฉะนั้นจึงมีใจความว่า ถือเอาหาบอันเต็มด้วยบริขารดาบส. แต่อาจารย์ที่
กล่าวว่า ขาริวิวิธํ ท่านก็พรรณนาว่า คำว่า ขาริ เป็นชื่อของหาบ คำว่า
วิวิธํ คือบริขารมากอย่างมีเต้าน้ำ เป็นต้น. บทว่า ปวตฺตผลโภชโน
แปลว่า มีปรกติบริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว. บทว่า เป็นคนรับใช้ คือเป็น
คนรับใช้ด้วยสามารถกระทำวัตร เช่น ทำกัปปิยะอาทิผิด สระ รับบาตรและล้างอาทิผิด อาณัติกะเท้า เป็น
ต้น. สามเณรผู้เป็นพระขีณาสพ แม้มีคุณธรรมสูง ย่อมเป็นผู้รับใช้พระ
ภิกษุผู้ปุถุชน โดยนัยที่กล่าวแล้วโดยแท้ แต่สมณะหรือพราหมณ์หาเป็น
เช่นนั้นไม่ ยังเป็นผู้ต่ำอยู่ทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งคุณธรรมบ้าง ด้วย
อำนาจแห่งการกระทำการรับใช้บ้าง.
ถามว่า ก็การบวชเป็นดาบส ท่านกล่าวว่า เป็นปากทางแห่งความ
พินาศของศาสนา เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะศาสนาที่กำลังดำเนิน
ไป ๆ ย่อมถอยหลัง ด้วยอำนาจแห่งการบรรพชาเป็นดาบส. เป็นความจริง
ผู้ที่มีความละอาย ใคร่ในการศึกษา มักรังเกียจผู้ที่บวชในศาสนานี้ แล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 一月 25, 2019

Mak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/531/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อย่าง
อื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจักถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักถึง
พระธรรม จักถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ หรือว่าเราจักให้บริษัททั้ง ๔ เอิบอิ่ม
ด้วยการฟังธรรมเป็นการใหญ่. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะ
เสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๕ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์
ทั้งหลายจักงดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงบ้าง จากการถือเอาสิ่งของ
ที่เขามิได้ให้บ้าง จากการประพฤติผิดในกามบ้าง จากการกล่าวเท็จบ้าง จาก
ที่ตั้งแห่งความประมาทคือน้ำอาทิผิด อาณัติกะเมาอันได้แก่สุราและเมรัยบ้าง. พระผู้มี
พระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่าง
อื่นอีก ด้วยทรงดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจักกลับได้ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌาน
บ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญา-
ณัญจายตนสมาบัติบ้าง อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสมาบัติบ้าง. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไป
ด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงพระดำริว่า สัตว์ทั้งหลายจัก
บรรลุโสดาปัตติมรรคบ้าง โสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิมรรคอาทิผิด อักขระบ้าง สกทา-
คามิผลบ้าง อนาคามิมรรคบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตตมรรคบ้าง จัก
กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลบ้าง. ดังกล่าวมานี้จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่รีบ
ด่วน. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาการเสด็จจาริกไม่รีบด่วน.
ก็การเสด็จจาริกไม่รีบด่วนนี้ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ การเสด็จจาริก
ประจำ ๑ การเสด็จจาริกไม่ประจำ ๑. บรรดาจาริก ๒ อย่างนั้น การ
เสด็จไปตามลำดับบ้าน อำเภอ และจังหวัด จัดเป็นการเสด็จจาริกประจำ.
ส่วนการเสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ที่ควรอาทิผิด อักขระจะให้ตรัสรู้ได้คนเดียวเท่านั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 一月 24, 2019

Yuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 18/340/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสียแล้ว เหตุกายนี้ผูกด้วยใยยางคือตัณหา ที่พระอริยทั้งหลายคายอาทิผิด อักขระแล้ว
เพราะตัณหาก่อให้เกิดตามพระบาลีอย่างนี้ว่า ตัณหาทำคนให้เกิด จิตของคน
นั้น ย่อมแล่นไป. อนึ่ง สัตว์เล็ก ๆ มีประการต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อม
เกิด ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. นอนป่วย ย่อมตายตกไปในจอมปลวกนั้นนั่นเอง
ดังนั้นจอมปลวกนั้น จึงเป็นเรือนเกิด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็น
สุสานของสัตว์เล็กๆ เหล่านั้นฉันใด กายแม้ของกษัตริย์มหาศาล เป็นต้น ก็ฉัน
นั้น เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว หนังอาทิผิด เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่ออาทิผิด อักขระในกระดูก มิได้คิด
ว่า กายนี้ถูกคุ้มครองรักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว เป็นกายของผู้มีอานุภาพ
ใหญ่ รวมความว่า หมู่หนอนโดยการนับตระกูลมีประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตระกูล
ย่อมเกิด ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่าย เพราะความป่วยไข้
ตายตกคลักอยู่ในกายนี้เอง เหตุนั้น จึงนับได้ว่าเป็นจอมปลวก เพราะ
เป็นเรือนคลอดอาทิผิด อักขระ เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า วัมมิกะนี้เป็น
ชื่อของกายนี้ ที่เกิดจากมหาภูตทั้ง ๔.
บทว่า มาตาเปติกสมฺภวสฺส ความว่า ที่เกิดจากการรวมตัวของ สุกกา
ซึ่งเกิดจากมารดาบิดา ที่ชื่อว่า มาตาเปติกะ. บทว่า โอทน กมฺมาสูปจยสฺส
ความว่า ก่อเติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
อนิจฺจุจฺฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทฺธํสนธมฺมสฺส ดังต่อไปนี้ กายนี้ชื่อว่า
มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะอรรถาว่า มีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่ามีการฉาบ
ทาเป็นธรรมดา เพราะฉาบทาด้วยหนังบางเพื่อประโยชน์แก่การกำจัดกลิ่นเหม็น
ชื่อว่า มีการนวดฟั้นเป็นธรรมดา เพราะมีการนวดฟั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อประ-
โยชน์แก่การบรรเทา ความเจ็บป่วยทางอวัยวะน้อยใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
มีการประคบประหงมเป็นธรรมดา โดยการหยอดยาตาและบีบเป็นต้น เพื่อความ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 一月 22, 2019

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/269/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期日, 一月 20, 2019

Pathawi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 75/440/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌาน
ที่มีปฐวีอาทิผิด อักขระกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขเเละทุกข์ได้เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือ
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘
ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑
ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่
ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ
อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
จตุกนัย จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 一月 16, 2019

Sarathi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/218/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๕๓๘] เราจะดูนรกอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์
ผู้ทำบาป สถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ ผู้มีกรรมหยาบช้า
และคติของเหล่าชนผู้ทุศีลก่อน.
[๕๓๙] มาตลีเทพสารถีอาทิผิด ได้แสดงแม่น้ำเวตรณี
ซึ่งข้ามยาก ประกอบด้วยน้ำแสบเผ็ดร้อนเดือดพล่าน
เปรียบดังเปลวเพลิงแด่พระเจ้าเนมิราชอาทิผิด .
[๕๔๐] พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นชน
ซึ่งตกอยู่ในเวตรณีนทีภาค ซึ่งยากจะข้ามได้ จึงตรัส
กะมาตลีเทพสารถีว่า แน่ะนายสารถี ความกลัวมาก
ปรากฏแก่เรา เพราะเห็นตัว อยู่ในแม่น้ำเวตรณี
แน่ะมาตลี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป
อะไรไว้ จึงได้ตกในเวตรณีนที.
[๕๔๑] มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัส
ถาม ตามที่ทราบวิบากอาทิผิด อักขระแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แต่
พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน
มนุษยโลก เป็นผู้มีกำลังมีบาปธรรม เบียดเบียนด่า
กระทบผู้ที่หากำลังมิได้ สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า
กระทำบาป จึงตกลงในเวตรณีนที.
[๕๔๒] พระราชาตรัสว่า สุนัขแดง สุนัขด่าง
ฝูงแร้ง ฝูงกา น่ากลัว เคี้ยวกินสัตว์นรก ความกลัว
ปรากฏแก่เราเพราะเห็นสัตว์เหล่านั้น เคี้ยวกินสัตว์นรก
เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ที่ฝูงกาเคี้ยวกิน ได้ทำบาป
อะไรไว้.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 一月 14, 2019

Songkhram

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 51/276/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั้งหลาย โดยการสรรเสริญอธิวาสนขันติ วิริยารัมภะ และความยินดีในวิเวก
ของตนเป็นสำคัญ จึงได้ภาษิตคาถา ๒ คาถาไว้ว่า
ภิกษุถูกเหลือบและยุงในป่าใหญ่กัด ควรเป็นผู้
มีสติอดกลั้นในอันตรายเหล่านั้น เหมือนช้างใน
สงครามอาทิผิด อักขระ ภิกษุอยู่รูปเดียว ย่อมเป็นเหมือนพรหม อยู่
๒ รูป เหมือนเทวดา อยู่ ๓ รูป เหมือนชาวบ้าน อยู่
ด้วยกันมากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น
เพราะฉะนั้น ภิกษุควรเป็นผู้อยู่แต่รูปเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโค สงฺคามสีเสว ความว่า อุปมา
เสมือนหนึ่งว่า ช้างตัวประเสริฐอาชาไนย สู้ทนเครื่องประหัตประหาร มีดาบ
หอกแทงและหอกซัดเป็นต้นในสนามรบแล้ว กำจัดแสนยานุภาพฝ่ายข้าศึก
(ปรเสนา) ได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ควรมีสติสัมปชัญญะ อดทนอันตราย
มีเหลือบเป็นต้นในป่าใหญ่ คือพงไพรไว้ และครั้นทนได้แล้ว ก็จะพึงกำจัด
มารและพลมารได้ ด้วยกำลังแห่งภาวนา.
บทว่า ยถา พฺรหฺมา ความว่า พระพรหมโดดเดี่ยวเดียวดาย เว้นจาก
ผู้กวนใจ อยู่สำราญด้วยฌานสุขเนืองนิจทีเดียว ฉันใด. บทว่า ตถา เอโก
ความว่า แม้ภิกษุอยู่รูปเดียว ไม่มีเพื่อนก็เช่นนั้นเหมือนกัน จะเพิ่มพูนความสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่อย่างสำราญ. จริงดังที่กล่าวไว้ว่า ความสุขธรรมดาสามัญของ
คน ๆ เดียว เป็นความสุขที่ประณีต. ด้วยคำว่า ยถา พฺรหฺมา ตถา เอโก นี้
พระเถระชื่อว่าให้โอวาทว่า ภิกษุผู้อยู่รูปเดียวเป็นปกติ เป็นผู้เสมอเหมือน
พระพรหม.
บทว่า ยถา เทโว ตถา ทุเว ความว่า เทวดาทั้งหลายก็คงมีความ
วุ่นวายใจเป็นระยะ ๆ ฉันใด แม้การกระทบกระทั่งกัน เพราะการอยู่ร่วมกัน
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 一月 13, 2019

Kan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/236/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒๗. ทรงมีพระชิวหาใหญ่ยาว
๒๘. ทรงมีพระสุรเสียงดังเสียงอาทิผิด อักขระพรหม
๒๙. ทรงมีพระเนตรดำสนิท
๓๐. ทรงมีดวงพระเนตรดังตาโค
๓๑. ทรงมีพระอุณาโลมขาวละเอียดอ่อนดังสำลี เกิด
ระหว่างพระโขนง
๓๒. มีพระเศียรกลมเป็นปริมณฑลดังประดับด้วยกรอบ
พระพักตร์.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้แล และท่านพระโคดมพระองค์นั้น เมื่อจะ
เสด็จดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ทรงยกพระบาทไกลนัก ไม่ทรง
วางพระบาทใกล้นัก ไม่เสด็จดำเนินเร็วนัก ไม่เสด็จดำเนินช้านัก เสด็จ-
ดำเนินพระชานุไม่กระทบพระชานุ ข้อพระบาทไม่กระทบข้อพระบาท ไม่ทรง
ยกพระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรง
ส่ายพระอุรุ เมื่อเสด็จดำเนินพระกายส่วนบนไม่หวั่นไหว ไม่เสด็จดำเนินด้วย
กำลังพระกาย เมื่อทอดพระเนตร ก็ทอดพระเนตรด้วยพระกายทั้งหมด ไม่
ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน ไม่ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เสด็จดำเนินไม่ทรง
เหลียวแล ทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้น พระองค์ทรงมีพระ-
ญาณทัสสนะอันไม่มีอะไรกั้นอาทิผิด อาณัติกะ เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระกาย
ไม่ทรงย่อพระกาย ไม่ทรงห่อพระกาย ไม่ทรงส่ายพระกาย เสด็จเข้าประทับ
นั่งอาสนะไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งเท้าพระหัตถ์ ไม่ทรงพิงพระกาย
ที่อาสนะ เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนอง
พระบาท ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 一月 10, 2019

Tuang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/386/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า โทณมิเต ได้แก่เหมือนตวงอาทิผิด อักขระด้วยทะนาน.
บทว่า สุขทุกฺเข ได้แก่สุขและทุกข์.
บทว่า ปริยนฺตกเต ได้แก่ทำที่สุดตามกาลมีประมาณดังกล่าวแล้ว.
บทว่า นตฺถิ หานวฑฺฒเน ได้แก่ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ.
อธิบายว่า สังสารวัฏมิได้เสื่อมสำหรับบัณฑิต มิได้เจริญสำหรับคนพาล.
บทว่า อุกฺกํสาวกฺกํเส ได้แก่ทั้งสูงทั้งต่ำ บทนี้เป็นไวพจน์ของ
ความเสื่อมและความเจริญ.
บัดนี้ เมื่อจะยังความนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา ครูมักขลิโคสาลจึง
กล่าวว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า สุตฺตคุเล ได้แก่กลุ่มด้ายที่เขาม้วนไว้.
ด้วยบทว่า นิพฺเพฐิยมานเมว ปเลติ ครูมักขลิโคสาลแสดงว่า
เลยกาลที่กล่าวแล้ว ไม่มีใครจะไปได้ อุปมาเหมือนคนยืนบนภูเขาหรือ
ยอดไม้ ซัดกลุ่มด้ายให้คลี่ออกไปตามประมาณของด้าย เมื่อด้ายหมดแล้ว
ด้ายก็หยุดอยู่ตรงนั้น ไม่ไปอีกฉะนั้น.
ในวาทะของครูอชิตเกสกัมพล มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ด้วยคำว่า นตฺถิ ทินฺนํ นั้น ครูอชิตเกสกัมพล กล่าวหมายเอา
ความไร้ผลของทานที่ให้แล้ว.
การบูชาให้ เรียกว่า ยิฏฐะ.
บทว่า หุตํ ประสงค์เอาสักการะอย่างเพียงพอ.
ทั้ง ๒ ข้อนั้น ครูอชิตเกสกัมพลปฏิเสธไปถึงความไร้ผลทีเดียว.
บทว่า สุกตทุกฺกฏานํ ความว่า กรรมที่ทำดีทำชั่ว ได้แก่กุศล
และอกุศล.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 一月 08, 2019

Boekban

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/217/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบวินิจฉัยในปีติปฏิสังเวทินิเทศแห่งจตุกะที่ ๒ ดังต่อไปนี้ ใน
บทว่า อุปฺปชฺชติ ปีติปามุชฺชํ ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดนี้. บทว่า ปีติ
เป็นมูลบท. บทว่า ปามุชฺชํ เป็นบทขยายความ คือความปราโมทย์. ใน
บทมีอาทิว่า ยา ปีติ ปามุชฺชํ ท่านกล่าวว่า ปีติย่อมได้ชื่อมีอาทิอย่างนี้ว่า
ปีติและปราโมทย์. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ. ความ
เป็นแห่งความปราโมทย์ ชื่อว่า ปามุชฺชํ. อาการแห่งความเบิกบานอาทิผิด อักขระ ชื่อว่า
อาโมทนา. อาการแห่งความบันเทิง ชื่อว่า ปโมทนา. อีกอย่างหนึ่งการทำ
เภสัช น้ำมัน หรือน้ำร้อนน้ำเย็นให้รวมเป็นอันเดียวกัน ท่านเรียกว่า โมทนา
ฉันใด แม้ด้วยการทำธรรมทั้งหลายให้รวมเป็นอันเดียวกัน ก็เรียกว่า โมทนา
ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า อาโมทนา ปโมทนา เพราะเพิ่มบทอุปสรรคลงไป.
ชื่อว่า หาโส เพราะอรรถว่า ความหรรษา. ชื่อว่า ปหาโส เพราะอรรถว่า
ความรื่นเริง. บทนี้เป็นชื่อของความหรรษาร่าเริง. ชื่อว่า วิตฺติ เพราะความ
ปลื้มใจ. บทนี้เป็นชื่อของทรัพย์. อนึ่ง ชื่อว่า วิตฺติ เพราะเป็นปัจจัยแห่ง
โสมนัส เพราะทำให้เกิดความสบายใจ. เหมือนอย่างว่า ความโสมนัสย่อมเกิด
แก่คนมีทรัพย์ เพราะอาศัยทรัพย์ ฉันใด ความโสมนัสย่อมเกิดแม้แก่คนมี
ปีติ เพราะอาศัยปีติฉันนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิตฺติ ความปลื้มใจ
จริงอยู่ บทนี้เป็นชื่อของปีติอันดำรงสภาวะแห่งความยินดีไว้. อนึ่ง บุคคลผู้มี
ปีติท่านเรียกว่า อุทคฺโค ผู้ยินดี เพราะเป็นผู้มีกายและใจสูง สูงยิ่ง. ส่วน
แห่งความเป็นผู้มีใจสูง ชื่อว่า โอทคฺยํ. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า
อตฺตมนตา ความดีใจ. จริงอยู่ ใจของผู้ไม่ยินดี เพราะมีทุกข์เป็นเหตุ ไม่
ชื่อว่า มีใจของตน. ใจของผู้ยินดี เพราะสุขเป็นเหตุ ชื่อว่า มีใจของตน.
ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อตฺตมนตา ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 一月 04, 2019

Muean

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/704/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้แก่ ทั้งสองอย่างเหล่านี้เป็นไม้กอมีดอก. บทว่า มธุคนฺธิยา ได้แก่ มี
กลิ่นเหมือนน้ำผึ้ง. บทว่า นิลิยา สุมนา ภณฺฑี ได้แก่ มะลิเลื้อย มะลิ
ปกติ และชบา. บทว่า ปทุมุตฺตโรอาทิผิด สระ ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. บทว่า กณิการา
จ ได้แก่ กรรณิการ์เถาบ้าง กรรณิการ์ต้นบ้าง. บทว่า เหมชาลาว ความ
ว่า ปรากฏเหมือนข่ายทองที่ขึงไว้. บทว่า มโหทธิ ได้แก่ สระมุจลินท์ขัง
น้ำไว้มาก.
อนึ่ง ในสระโบกขรณีนั้น มีเหล่าสัตว์ที่เที่ยวหา
กินในน้ำเป็นอันมาก คือปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลา
ดุก จระเข้ ปลามังกร ปลาฉลาม ผึ้งที่ไม่มีตัว ชะ-
เอมเครือ กำยาน ประยงค์ กระวาน แห้วหมู สัตต-
บุษย์ สมุลแว้ง ไม้อาทิผิด อาณัติกะกฤษณาต้นมีกลิ่นหอม แฝกดำ
แฝกขาว บัวบก เทพทาโร โกฐทั้ง ๙ กระทุ่มเลือด
และดองดึง ขมิ้น แก้วหอม หรดาลทอง คำคูน
สมอพิเภก ไคร้เครือ การบูรและรางแดง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถสฺสา โปกฺขรณิยา ความว่า
อัจจุตฤาษีกล่าวเรียกสระนั่นแหละว่าโบกขรณีในที่นี้ เพราะเป็นเช่นกับสระโบก-
ขรณี. บทว่า โรหิตา เป็นต้น เป็นชื่อของสัตว์ที่เที่ยวหากินในน้ำเหล่านั้น.
บทว่า มธุ จ ได้แก่ ผึ้งที่ไม่มีตัว. บทว่า มธุลฏฺฐิ จ ได้แก่ ชะเอม
เครือ. บทว่า ตาลิยา เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไม้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ.
อนึ่ง ที่ป่านั้นมีเหล่าราชสีห์ เสือโคร่ง ยักขินี
ปากเหมือนอาทิผิด อักขระลา และเหล่าช้าง เนื้อฟาน ทราย กวางดง
ละมั่ง ชะมด สุนัขจิ้งจอก กระต่าย บ่าง สุนัขใน
จามรี เนื้อสมัน ชะนี ลิงลม ค่าง ลิง ลิง
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 一月 03, 2019

Chai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/224/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสนาธิการ กองตะลุมบอนเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กอง
ทหารหาญ กองทหารโลหะ กองเกราะหนัง กองทหารทาส นี้เป็น
เครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้
คนที่ไม่รู้จักเข้าอนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า นี้เป็นเครื่องป้องกันนคร
ประการที่ ๖ สำหรับอาทิผิด สระคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อม
ก่ออิฐถือปูนดี นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับ
คุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ปัจจันตนครมีการ
ป้องกันดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้แล.
ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชา
มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้ง
กลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าว-
เหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่ง
ชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และ
อปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจอาทิผิด สระ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุข
แห่งชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 一月 02, 2019

Yachok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/238/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期二, 一月 01, 2019

Sinmai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/252/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จำไว้อย่างนี้ ผู้นี้จะหนีไม่ได้ จักทำการของเรา ดังนี้ ก็ดี ผู้นั้นแม้ทำลายอาทิผิด อักขระเครื่อง
จำหนีไป ก็ควรให้บวช.
ฝ่ายผู้ใดรับผูกขาดบ้าน นิคม และท่า เป็นต้น ด้วยส่วย ไม่ส่ง
ส่วยนั้นให้ครบ ถูกส่งไปยังเรือนจำ ผู้นั้นหนีมาแล้ว ไม่ควรให้บวช.
แม้ผู้ใดรวมเก็บทรัพย์ไว้ เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น ถูกใคร ๆ
ส่อเสียดใส่โทษเอาว่า ผู้นี้ได้ขุมทรัพย์ แล้วถูกจองจำจะให้ผู้นั้นบวชในถิ่นนั้น
เอง ไม่ควร. แต่จะให้เขาซึ่งหนีไปแล้วบวชในที่ซึ่งไปแล้วทุกตำบล ควรอยู่.
ในข้อนี้ว่า น ภิกฺขเว ลิขิตโก เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่าบุคคลที่
ชื่อว่าผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ จะได้แก่ผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ว่า พบเข้าในที่ใด ให้
ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งกระทำโจรกรรม
หรือความผิดในพระราชาอย่างหนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้
เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในที่ใด พึงจับฆ่า
เสียในที่นั้นหรือว่า พึงตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่า พึง
ให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้ ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควร
ให้บวช.
ในคำว่า กสาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดไม่ยอม
ทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลง
ทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่าง โดยเป็นส่วน หรือโดยประการ
อื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จง
เป็นสินไหมอาทิผิด ของเจ้า ผู้นี้ชื่อ ผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แล
เขาจะถูกเฆี่ยนอาทิผิด อาณัติกะด้วยหวายหรือถูกด้วยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จง
ยกไว้ แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลาย
ให้กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.
 
พระปิฎกธรรม