星期四, 一月 10, 2019

Tuang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/386/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า โทณมิเต ได้แก่เหมือนตวงอาทิผิด อักขระด้วยทะนาน.
บทว่า สุขทุกฺเข ได้แก่สุขและทุกข์.
บทว่า ปริยนฺตกเต ได้แก่ทำที่สุดตามกาลมีประมาณดังกล่าวแล้ว.
บทว่า นตฺถิ หานวฑฺฒเน ได้แก่ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ.
อธิบายว่า สังสารวัฏมิได้เสื่อมสำหรับบัณฑิต มิได้เจริญสำหรับคนพาล.
บทว่า อุกฺกํสาวกฺกํเส ได้แก่ทั้งสูงทั้งต่ำ บทนี้เป็นไวพจน์ของ
ความเสื่อมและความเจริญ.
บัดนี้ เมื่อจะยังความนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา ครูมักขลิโคสาลจึง
กล่าวว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า สุตฺตคุเล ได้แก่กลุ่มด้ายที่เขาม้วนไว้.
ด้วยบทว่า นิพฺเพฐิยมานเมว ปเลติ ครูมักขลิโคสาลแสดงว่า
เลยกาลที่กล่าวแล้ว ไม่มีใครจะไปได้ อุปมาเหมือนคนยืนบนภูเขาหรือ
ยอดไม้ ซัดกลุ่มด้ายให้คลี่ออกไปตามประมาณของด้าย เมื่อด้ายหมดแล้ว
ด้ายก็หยุดอยู่ตรงนั้น ไม่ไปอีกฉะนั้น.
ในวาทะของครูอชิตเกสกัมพล มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ด้วยคำว่า นตฺถิ ทินฺนํ นั้น ครูอชิตเกสกัมพล กล่าวหมายเอา
ความไร้ผลของทานที่ให้แล้ว.
การบูชาให้ เรียกว่า ยิฏฐะ.
บทว่า หุตํ ประสงค์เอาสักการะอย่างเพียงพอ.
ทั้ง ๒ ข้อนั้น ครูอชิตเกสกัมพลปฏิเสธไปถึงความไร้ผลทีเดียว.
บทว่า สุกตทุกฺกฏานํ ความว่า กรรมที่ทำดีทำชั่ว ได้แก่กุศล
และอกุศล.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: