星期日, 一月 13, 2019

Kan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/236/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒๗. ทรงมีพระชิวหาใหญ่ยาว
๒๘. ทรงมีพระสุรเสียงดังเสียงอาทิผิด อักขระพรหม
๒๙. ทรงมีพระเนตรดำสนิท
๓๐. ทรงมีดวงพระเนตรดังตาโค
๓๑. ทรงมีพระอุณาโลมขาวละเอียดอ่อนดังสำลี เกิด
ระหว่างพระโขนง
๓๒. มีพระเศียรกลมเป็นปริมณฑลดังประดับด้วยกรอบ
พระพักตร์.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้แล และท่านพระโคดมพระองค์นั้น เมื่อจะ
เสด็จดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ทรงยกพระบาทไกลนัก ไม่ทรง
วางพระบาทใกล้นัก ไม่เสด็จดำเนินเร็วนัก ไม่เสด็จดำเนินช้านัก เสด็จ-
ดำเนินพระชานุไม่กระทบพระชานุ ข้อพระบาทไม่กระทบข้อพระบาท ไม่ทรง
ยกพระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรง
ส่ายพระอุรุ เมื่อเสด็จดำเนินพระกายส่วนบนไม่หวั่นไหว ไม่เสด็จดำเนินด้วย
กำลังพระกาย เมื่อทอดพระเนตร ก็ทอดพระเนตรด้วยพระกายทั้งหมด ไม่
ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน ไม่ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เสด็จดำเนินไม่ทรง
เหลียวแล ทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้น พระองค์ทรงมีพระ-
ญาณทัสสนะอันไม่มีอะไรกั้นอาทิผิด อาณัติกะ เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระกาย
ไม่ทรงย่อพระกาย ไม่ทรงห่อพระกาย ไม่ทรงส่ายพระกาย เสด็จเข้าประทับ
นั่งอาสนะไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งเท้าพระหัตถ์ ไม่ทรงพิงพระกาย
ที่อาสนะ เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนอง
พระบาท ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: