星期二, 一月 08, 2019

Boekban

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/217/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบวินิจฉัยในปีติปฏิสังเวทินิเทศแห่งจตุกะที่ ๒ ดังต่อไปนี้ ใน
บทว่า อุปฺปชฺชติ ปีติปามุชฺชํ ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดนี้. บทว่า ปีติ
เป็นมูลบท. บทว่า ปามุชฺชํ เป็นบทขยายความ คือความปราโมทย์. ใน
บทมีอาทิว่า ยา ปีติ ปามุชฺชํ ท่านกล่าวว่า ปีติย่อมได้ชื่อมีอาทิอย่างนี้ว่า
ปีติและปราโมทย์. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ. ความ
เป็นแห่งความปราโมทย์ ชื่อว่า ปามุชฺชํ. อาการแห่งความเบิกบานอาทิผิด อักขระ ชื่อว่า
อาโมทนา. อาการแห่งความบันเทิง ชื่อว่า ปโมทนา. อีกอย่างหนึ่งการทำ
เภสัช น้ำมัน หรือน้ำร้อนน้ำเย็นให้รวมเป็นอันเดียวกัน ท่านเรียกว่า โมทนา
ฉันใด แม้ด้วยการทำธรรมทั้งหลายให้รวมเป็นอันเดียวกัน ก็เรียกว่า โมทนา
ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า อาโมทนา ปโมทนา เพราะเพิ่มบทอุปสรรคลงไป.
ชื่อว่า หาโส เพราะอรรถว่า ความหรรษา. ชื่อว่า ปหาโส เพราะอรรถว่า
ความรื่นเริง. บทนี้เป็นชื่อของความหรรษาร่าเริง. ชื่อว่า วิตฺติ เพราะความ
ปลื้มใจ. บทนี้เป็นชื่อของทรัพย์. อนึ่ง ชื่อว่า วิตฺติ เพราะเป็นปัจจัยแห่ง
โสมนัส เพราะทำให้เกิดความสบายใจ. เหมือนอย่างว่า ความโสมนัสย่อมเกิด
แก่คนมีทรัพย์ เพราะอาศัยทรัพย์ ฉันใด ความโสมนัสย่อมเกิดแม้แก่คนมี
ปีติ เพราะอาศัยปีติฉันนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิตฺติ ความปลื้มใจ
จริงอยู่ บทนี้เป็นชื่อของปีติอันดำรงสภาวะแห่งความยินดีไว้. อนึ่ง บุคคลผู้มี
ปีติท่านเรียกว่า อุทคฺโค ผู้ยินดี เพราะเป็นผู้มีกายและใจสูง สูงยิ่ง. ส่วน
แห่งความเป็นผู้มีใจสูง ชื่อว่า โอทคฺยํ. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า
อตฺตมนตา ความดีใจ. จริงอยู่ ใจของผู้ไม่ยินดี เพราะมีทุกข์เป็นเหตุ ไม่
ชื่อว่า มีใจของตน. ใจของผู้ยินดี เพราะสุขเป็นเหตุ ชื่อว่า มีใจของตน.
ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อตฺตมนตา ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: