星期四, 十二月 05, 2019

Lueang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 60/467/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ความเป็นพรานนี้ เราละได้แล้ว เหมือนงูลอก
คราบเก่าของตน หรือเหมือนต้นไม้อันเขียวชอุ่ม
ผลัดใบเหลืองอาทิผิด สระทิ้ง ฉะนั้น วันนี้เราละความเป็นพรานได้.
ความแห่งคาถานั้น มีอธิบายว่า งูลอกทิ้งหนังเก่าที่คร่ำคร่าฉันใด
และต้นไม้ที่ยังเขียวชอุ่มอยู่ ผลัดใบเหลือง ๆ ที่ติดอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งทิ้งเสีย
ได้ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น สละเสียได้ ซึ่งความเป็นพรานในวันนี้ ทีนี้ความ
เป็นพรานนั่นนั้นเป็นอันเราละทิ้งได้แล้ว เราสละความเป็นพรานแล้วในวันนี้.
บทว่า ชหามหํ ความว่า เราละเสียแล้ว.
ครั้นท่านเปล่งอุทานนี้แล้ว ดำริว่า เราพ้นจากเครื่องพัวพันคือ
กิเลสทั้งปวงได้แน่นอน แต่ในที่อยู่ของเรายังมีนกถูกกักขังอยู่มาก เราจัก
ปลดปล่อยนกเหล่านั้นได้อย่างไร จึงถามพระมหาสัตว์ว่า พญายูงเอ๋ย
ในที่อยู่ของข้าพเจ้า มีนกถูกกักขังอยู่เป็นอันมาก ข้าพเจ้าจักปลดปล่อยนก
เหล่านั้นได้อย่างไรละ. อันที่จริง ญาณในการกำหนดอุบาย ของพระสัพพัญญู
โพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมใหญ่โตกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า. เหตุนั้น พญายูงจึง
กล่าวกะท่านว่า ปัจเจกโพธิญาณที่ท่านทำลายกิเลสทั้งปวงเสีย แล้ว
บรรลุด้วยโพธิมรรคใด โปรดปรารภโพธิมรรคนั้น กระทำสัจจกิริยาเถิด
ธรรมดาสัตว์อันต้องจองจำในชมพูทวีปทั้งสิ้นก็จักไม่มี. ท่านดำรงในฐานะ
ที่พระโพธิสัตว์กล่าวแล้ว เมื่อจะทำสัจจกิริยา จึงกล่าวคาถาว่า
อนึ่ง มีนกเหล่าใดที่เรากักขังไว้ในนิเวศน์
ประมาณหลายร้อย วันนี้เราให้ชีวิตแก่นกเหล่านั้น
ขอนกเหล่านั้นจงพ้นจากการกักขัง ไปสู่สถานที่อยู่เดิม
ของตนเถิด.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: