星期三, 十二月 25, 2019

Mu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/122/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ศอกก็ตาม ย่อมมีประมาณเท่ากันทั้งส่วนยาวทั้งส่วนกว้าง. กายหรือวาของคน
อื่นยาวไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า ยาวตกฺวสฺส กาโย เป็น
อาทิ. ยาวตกฺวสฺส ตัดบทเป็น ยาวตโก อสฺส ความว่า พระวรกายของ
พระมหาบุรุษเท่ากับวาของพระมหาบุรุษเท่ากับกายของพระมหาบุรุษ.
บทว่า สมวฏฺฎกฺขนฺโธอาทิผิด อักขระ คือพระมหาบุรุษมีลำพระศอเท่ากัน. คน
บางคนมีลำคอยาว คด หนา เหมือนนกกะเรียน เหมือนนกยาง เหมือนหมู่อาทิผิด อาณัติกะ
เวลาพูด เอ็นเป็นตาข่ายย่อมปรากฏเสียงออกมาแหบฉันใด ของพระมหาบุรุษไม่
เหมือนอย่างนั้น. ก็ลำพระศอของพระมหาบุรุษเป็นเช่นกับกลองทองที่เขากลึง
ดีแล้ว ในเวลาตรัส เอ็นเป็นตาข่ายไม่ปรากฏพระสุรเสียงดังก้องดุจเสียงเมฆ
กระหึ่ม.
ในบทว่า รสคฺคสคฺคี มีวิเคราะห์ว่า เส้นประสาทนำไปซึ่งรสชื่อว่า
รสัคคสา. บทนี้เป็นชื่อของเส้นประสาทนำรสอาหารไป. เส้นประสาทนำรส
อาหารของพระมหาบุรุษนั้นเลิศ เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงเป็นผู้มีปลาย
เส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันเลิศ. ได้ยินว่า พระมหาบุรุษมีเส้นประสาท
สำหรับนำรสอาหารประมาณ ๗๐๐๐ เส้น มีปลายขึ้นเบื้องบนแล้วรวมเข้าที่ลำ
พระศอนั่นเอง. พระกระยาหารแม้เพียงเมล็ดงาตั้งอยู่ ณ ปลายพระชิวหาย่อม
แผ่ไปทั่วพระวรกายทุกส่วน. ด้วยเหตุนั้นแล เมื่อพระมหาบุรุษทรงเริ่มตั้งความ
เพียรอันยิ่งใหญ่ ได้ยังพระวรกายให้เป็นไปอยู่ได้ ด้วยข้าวสารเมล็ดเดียวเป็นต้น
บ้าง ด้วยเพียงผักดองฟายมือหนึ่งบ้าง. แต่ของคนอื่นเพราะไม่มีอย่างนั้น รส
โอชาจึงไม่แผ่ไปทั่วกาย. เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงมีโรคมาก.
บทว่า สีหหนุ มีวิเคราะห์ว่า พระหนุของพระมหาบุรุษดุจคางของ
ราชสีห์ เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงมีพระหนุดุจคางราชสีห์. ในบทนั้น
อธิบายว่า ราชสีห์มีคางท่อนล่างบริบูรณ์ท่อนบนไม่บริบูรณ์. แต่พระมหาบุรุษ
พระปิฎกธรรม