星期二, 十二月 03, 2019

Si Liam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/433/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า มา เหวํ อานนฺท อวจ ได้แก่ อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไม่ควรพูดว่า นี่นครเล็ก ความจริง เรา
ตถาคตมาที่นครนี้ ด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่
ยืน นั่ง หลายครั้ง ก็เพื่อจะกล่าวถึงสมบัติของนครนี้โดยแท้ แล้วจึงตรัสว่า
ภูตปุพฺพํ เป็นต้น.
บทว่า สุภิกฺขา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยของเคี้ยวและของกิน. บทว่า
หตฺถิสทฺเทน ความว่า เมื่อช้างเชือกหนึ่งร้องขึ้น ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกก็ร้อง
ตาม ดังนั้น กุสาวดีราชธานี จึงไม่สงัดจากเสียงช้าง. จากเสียงม้าก็เหมือนกัน.
ก็สัตว์ทั้งหลายในราชธานีนี้มีบุญ มีรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัว ตามกัน
และกันสัญจรไปในระหว่างถนน ฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดด้วยเสียงรถ. อนึ่ง
ดุริยางค์ มีกลองเป็นต้น ในนครนั้นก็ย่ำกันอยู่เป็นนิตย์. ดังนั้น จึงชื่อว่าไม่
สงัดจากเสียงกลองเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมสทฺโท ได้แก่
เสียงกังสดาล. บทว่า ตาลสทฺโท ได้แก่ เสียงตาลที่เคาะด้วยมือและตาลราง
สี่เหลียมอาทิผิด อักขระ. บางอาจารย์ กล่าวว่า กูฏเภริสทฺโท เสียงกลองกูฏ ดังนี้ก็มี. บทว่า
อสถ ปิวถ ขาทถ แปลว่า จงกิน จงดื่ม จงเคี้ยว. ก็ในเรื่องนี้มีความสังเขป
ดังนี้. กุสาวดีราชธานี ไม่สงัดจากเสียงที่สิบนี้ว่า เชิญบริโภคเถิด ท่านผู้
เจริญ มีเสียงไม่ขาดเลย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในนครอื่น ๆ มี
เสียงเห็นปานนี้ว่า พวกเจ้าจงทิ้งหยากเยื่อ จงถือจอบ จงถือกระเช้า เราจัก
ไปแรมคืน พวกเจ้าจงถือห่อข้าวสาร จงถือห่อข้าวสุก จงให้จัดโล่และอาวุธ
ดังนี้ฉันใด ในกุสาวดีนี้หามีเสียงเห็นปานนี้ฉันนั้นไม่. ก็แลครั้นตรัสว่าจาก
เสียงที่สิบ ดังนี้แล้ว ทรงจบมหาสุทัสสนสูตรทั้งหมดว่า ดูก่อนอานนท์
กุสาวดีราชธานีล้อมรอบด้วยกำแพง ๗ ชั้นแล้ว จึงตรัสว่า คจฺฉ ตฺวํ อานนฺท
ดังนี้เป็นต้น.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: