星期日, 九月 18, 2022

Bandit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/354/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นเตือนให้สังเวช ถึงซึ่งความ
สลดใจแล้วแล.

วนสังยุตตวรรณนา

อรรถกถาวิเวกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิเวกสูตรที่ ๑ แห่งวนสังยุตต่อไปนี้ :-
บทว่า โกสเลสุ วิหรติ ความว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เรียน
กัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปอยู่ในแคว้นโกศลนั้น เพราะชนบท
นั้นหาภิกษาได้ง่าย. บทว่า สํเวเชตุกามา ได้แก่ ใคร่เพื่อจะให้ภิกษุนั้น
ถึงวิเวก. บทว่า วิเวกกาโม คือ ปรารถนาวิเวก ๓. บทว่า นิจฺฉรติ
พหิทฺธา คือ เที่ยวไปในอารมณ์เป็นอันมากที่เป็นภายนอก. บทว่า ชโน
ชนสฺมิํ ความว่า ท่านจงละฉันทราคะในคนอื่น. บทว่า ปชหาสิ แปลว่า
จงละ. บทว่า ภวาสิ แปลว่า จงเป็น. บทว่า สตํ ตํ สารยามเส ความว่า
แม้เราย่อมยังบัณฑิตอาทิผิด สระผู้มีสติให้ระลึกถึงธรรมนั้น หรือว่า เราย่อมยังผู้นั้นให้ระลึก
ถึงธรรมของสัตบุรุษ. บทว่า ปาตาลรโช ความว่า ธุลีคือกิเลสที่เรียกว่า
บาดาลเพราะอรรถว่า ไม่มีที่ตั้ง. บทว่า มา ตํ กามรโช ความว่า ธุลี
คือกามราคะนี้อย่าครอบงำท่าน อธิบายว่า อย่านำไปสู่อบายเลย. บทว่า
ปํสุกุณฺฑิโต แปลว่า เปื้อนฝุ่น. บทว่า วิธุนํ แปลว่า กำจัด. บทว่า
ปํสุกุณฺฑิโต ได้แก่ ฝุ่นที่ติดตัว. บทว่า สํเวคมาปาทิ ความว่า ชื่อว่า แม้
เทวดาย่อมยังเราเท่าอาทิผิด สระนั้นให้ระลึกถึง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงวิเวก หรือว่าประคอง
ความเพียรอันสูงสุดแล้วปฏิบัติให้เป็นวิเวกอย่างยิ่ง.
จบอรรถกถาวิเวกสูตรที่ ๑
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: