Si
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 21/98/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
กาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารครั้งเดียว ประพฤติ
พรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม มหาบพิตร จะพึงทำอย่างไรกับบรรพชิตนั้น.
ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง พึง
เชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง พึงบำรุงบรรพชิตนั้น ๆ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง พึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอันเป็นธรรม
แก่บรรพชิตนั้น ๆ บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของผู้นั้นว่า
ศูทร นั้นหายไปแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะนั่นเทียว.
[๔๘๑] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็น
ไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่ หรือ
ในวรรณะสี่อาทิผิด อาณัติกะเหล่านี้ มหาบพิตรจะมีความเข้าพระทัยอย่างไร.
ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่อาทิผิด เหล่านั้น
ก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.
[๔๘๒] ดูก่อนมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐ
คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะ
อื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้น
เป็นบุตรพรหม เป็นโอรสเกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต
เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึง
ทราบโดยปริยายนี้.
[๔๘๓] เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุรราช
อวันตีบุตรได้ตรัสว่า ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่อาทิผิด อาณัติกะมืด
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论