星期一, 七月 31, 2023

Fang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/81/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วินัยของพระอริยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่ง
ทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ มีด้วยประการใด ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.
ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟังอาทิผิด  จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว .

อุปมา ๗ อย่าง
[๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี
เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืน
อยู่ใกล้เขียงอาทิผิด อักขระของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึง
โยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้ว เปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข
ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สุนัขนั้นแทะร่าง
กระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลีย
เพราะความหิวได้บ้างหรือ.
ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นร่างกระดูก
ที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่ง
ความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความ
เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็น
ต่าง ๆ อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 30, 2023

Dittheva

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/200/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็ในบรรพชิตทั้งหลาย บรรพชิตที่บวชตามพระมหากัสสปเถระ
อย่างนี้ คราวแรกได้มีประมาณแสนรูป. และที่บวชตามพระจันทคุตตเถระ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระนั้น ก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. พระสุริย-
คุตตเถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระจันทคุตตเถระนั้นก็ดี พระอัสสคุตต
เถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระสุริยอาทิผิด สระคุตตเถระนั้นก็ดี พระโยนกธรรมรักขิต
เถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอัสสคุตตเถระนั้นก็ดี ก็ได้มีประมาณเท่านั้น
เหมือนกัน. ส่วนพระอนุชาของพระเจ้าอโศกผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระ
โยนกธรรมอาทิผิด อักขระรักขิตเถระ ชื่อว่า ติสสเถระ บรรพชิตบวชตามพระติสสเถระ
นั้นนับได้สองโกฏิครึ่ง. พวกบวชตามพระมหินทเถระกําหนดนับไม่ได้.
เมื่อคนบวชด้วยความเสื่อมใสในพระศาสดาในเกาะลังกาจนถึงวันนี้ ก็ชื่อว่า
บวชตามพระมหินทเถระเหมือนกัน
บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ซึ่งธรรมคือโอวาทานุสาสนีอาทิผิด สระของท่านเหล่านั้น.
บทว่า อนุสฺสรติ แปลว่า ย่อมระลึก. บทว่า อนุวิตกฺเกติ ได้แก่ ทำให้
วิตกนำไป. บทว่า อารทฺโธ โหติ ได้แก่ บริบูรณ์ คำเป็นต้นว่า ปวิจินติ
ทั้งหมดท่านกล่าวด้วยอำนาจการเที่ยวไปด้วยญาณในธรรมนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า ปวิจินติ ได้แก่ เลือกเฟ้นลักษณะแห่งธรรมเหล่านั้น ๆ บทว่า
ปวิจรติ ได้แก่ ยังญาณให้เที่ยวไปในธรรมนั้น. บทว่า ปริวีมํสมาปชฺชติ
ได้แก่ ย่อมถึงความพิจารณา ตรวจดู ค้นคว้า.
บทว่า สตฺต ผลานิ สตฺตวนิสํสา นั้น โดยใจความเป็นอย่าง.
เดียวกัน. บทว่า ทิฏฺเฐวอาทิผิด อักขระ ธมฺเม ปฏิกจฺจอาทิผิด อญฺญํ อาราเธติ ได้แก่ เมื่อ
บรรลุอรหัตผล ก็ได้บรรลุในอัตภาพนี้แล. และย่อมบรรลุอรหัตผลนั้นแล
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 七月 29, 2023

Tratsaru

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/682/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่
ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิด
แต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้อาทิผิด ที่เราพึงได้ตามปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูก่อนนาคิตะ แม้เธอทั้งหลายมาประชุม
พร้อมหน้ากัน ประกอบการอยู่ด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อม
มีความเห็นอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา
ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่
เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก แน่นอน ก็ความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะ
ท่านเหล่านี้มาประชุมพร้อมหน้ากัน ประกอบการอยู่ด้วยการ
คลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ดูก่อนนาคิตะ เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรม
วินัยนี้ ใช้นิ้วจี้เล่นกระซิกกระซี้กันและกันอยู่ เรานั้นมีความคิด
อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดย
ไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอัน
เกิดแต่วิเวก สุขขึ้นเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เรา
พึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก แน่นอน ความ
จริงเป็นอย่างนั้น เพราะท่านเหล่านี้มัวใช้นิ้วจี้เล่นกระซิกกระซี้
กันและกันอยู่.
ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ฉัน
อาหารเต็มท้องพอความต้องการแล้ว มัวประกอบด้วยความสุขใน
การนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้
ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 七月 28, 2023

Sara

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 31/151/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาโมคคัลลานสูตร
โมคคัลลานสูตรที่ ๔. ผู้ฟุ้งเป็นปกติ คือผู้มีจิตหวั่นไหว ชื่อว่าเป็น
ผู้ฟุ้งซ่าน. จริงอยู่ จิตย่อมหวั่นไหวในอารมณ์อย่างหนึ่งด้วยอุทธัจจะเหมือน
ชายธงถูกลมพัดฉะนั้น. คำว่า อวดตัว คือลำพอง. มีคำอธิบายว่า มักถือ
ตัวอันหาสาระอาทิผิด มิได้. คำว่า มีจิตกวัดแกว่ง คือประกอบด้วยความกวัดแกว่งใน
บาตรจีวรและเครื่องประดับเป็นต้น. คำว่า ปากกล้า คือปากจัด มีคำอธิบายว่า
มีคำพูดกล้าแข็ง. คำว่า พูดจาอื้อฉาว คือไม่ยั้งปากคอ ได้แก่พูดตลอดวัน
บ้าง พูดคำที่ไร้ประโยชน์บ้าง. คำว่า ลืมสติ คือลืมความระลึกได้. คำว่า
ไม่มีสัมปชัญญะ คือ เว้นจากปัญญา. คำว่า มีจิตไม่ตั้งมั่น คือเว้นจาก
อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. คำว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา คือมีจิตหมุนผิดด้วย
ความฟุ้งซ่านที่ได้โอกาสเพราะเว้นจากสมาธิ. คำว่า ปากตินฺทฺริยา คือ ไม่
สำรวมอินทรีย์. คำว่า แสดงฤทธิ์ คือเข้าอาโปกสิณออกแล้ว อธิษฐานส่วน
แห่งแผ่นดินที่ตั้งปราสาทว่าจงเป็นน้ำ เหาะขึ้นฟ้าซึ่งมีปราสาทตั้งอยู่บนหลังน้ำ
แล้วเอานิ้วฟาดลงไป. คำว่า มีรากลึก คือหลุมลึก. หมายความว่า ฝังเข้าไป
สู่ส่วนแผ่นดินที่ลึก. คำว่า ฝังไว้ดีแล้ว คือที่ฝังมิดลงไปอย่างดี คือตอกเข็ม
ตั้งไว้อย่างดี. ในสูตรนี้ ทรงแสดงฤทธิ์ที่มีอภิญญาเป็นบาท.
จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 七月 24, 2023

Sakathakhami

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/393/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทน
บุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร. บุคคลอาศัยบุคคล
ใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้
ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจยเภสัชบริขาร.
[๗๑๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๑. ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒.
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๓. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุค-
คลิกประการที่ ๔. ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๕. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-
ปุคคลิกประการที่ ๖. ให้ทานแก่พระสกทาคามีอาทิผิด  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๗. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็น
ทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘. ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-
ปุคคลิกประการที่ ๙. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจาก
ความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑. ให้ทานใน
ปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒. ให้ทานในปุถุชน
ผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓ ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 23, 2023

Nang suea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 50/216/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖. กุมาปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุมาบุตรเถระ
[๑๗๓] ได้ยินว่า พระกุมาบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
การฟังเป็นความดี ความประพฤติมักน้อยเป็น
ความดี การอยู่โดยไม่ห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อ การ-
ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี การทำตามโอวาท
โดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้ เป็น
เครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล.

อรรถกถากุมาปุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุมาบุตรเถระ เริ่มต้นว่า สาธุ สุตํ. เรื่องราวของ
ท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เป็นดาบสผู้นุ่งห่มหนังอาทิผิด สระเสือ อยู่ในราช
อุทยาน ณ พันธุมตีนคร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ได้ถวายน้ำมันสำหรับนวดพระบาท.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก. จำเดิมแต่นั้นมา ท่านก็
ท่องเที่ยวอยู่ เฉพาะในสุคติภพเท่านั้น บังเกิดในตระกูลคหบดี ในเวฬุกัณฏก-
นคร แคว้นอวันตี ในพุทธุปบาทกาลนี้. คนทั้งหลายได้ขนานนามเขาว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 七月 20, 2023

Chet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/47/10  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๑๒๔] สมัยต่อมา สตรีผู้หนึ่งปราศจากครรภ์ นิมนต์ภิกษุทั้งหลาย
ไปปูผ้าแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจงเหยียบผ้า ภิกษุทั้งหลาย
รังเกียจไม่เหยียบ นางได้กล่าวอีกว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจงเหยียบ
ผ้าเพื่อประสงค์ให้เป็นมงคล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่เหยียบ จึงสตรีผู้นั้น
เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า เมื่อเขาขอเพื่อประสงค์ให้เป็นมงคล ไฉนพระ
คุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่เหยียบผืนผ้าที่ปูให้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีผู้นั้น เพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ต้องการมงคล เราอนุญาต
ให้ผู้ที่ถูกคฤหัสถ์ขอร้องให้เหยียบเพื่อความเป็นมงคลเหยียบผืนผ้าได้
[๑๒๕] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะเหยียบผ้าสำหรับเช็ดอาทิผิด อักขระเท้า
ที่ล้างแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เหยียบผ้าสำหรับเช็ดเท้าที่ล้างแล้ว.
ทุติยภาณวาร จบ
เรื่องนางวิสาขา มิคารมารดา
[๑๒๖] ครั้นพระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภัคคชนบท ตามพระ
พุทธาภิรมย์แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนคร
สาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดา
ถือหม้อน้ำปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า และไม้กวาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอพระองค์
จงทรงรับหม้อน้ำปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า และไม้กวาดของหม่อมฉัน เพื่อประ-
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 七月 19, 2023

Dap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/373/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น
ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุ
รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว,
เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา
เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วย
ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อ
ละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้น เป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้*.
แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล. แต่ในสองบท
นี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วย
อำนาจแห่งฌาน ๓, พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌาน
ทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร. ก็บรรดาสองบทนี้ ใน
สุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิ
แห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่าง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.
สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิต-
สังขารที่หยาบ ๆ เสีย. ความดับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย
ดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วย
ปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรุปทีเดียว, ใน
//* ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๘๑-๒.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 七月 17, 2023

Manasikan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/721/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เวลาที่ธัญญชาตินานาชนิด ปรากฏแก่บุรุษนั้นผู้แก้ไถ้นั้นแล้ว ตรวจดู
ฉะนั้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่า พิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล
(ที่เหมาะสม) หรือในกายของผู้อื่นตามกาล (ที่เหมาะสม) ด้วยการ
กำหนดในผมเป็นต้น. คำต่อจากนี้ไป มีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จริงอยู่ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดอาการ ๓๒ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว ผู้ศึกษาควรทำการประกอบความดังที่พรรณนามาอย่างนี้แล้ว
ทราบมุขแห่งการออกไป (จากทุกข์). คำที่เหลือ (จากที่อธิบายมา
แล้วนี้) เป็นเช่นกับคำก่อนนั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ปฏิกูลมนสิการบรรพ
ธาตุมนสิการอาทิผิด อักขระบรรพ
(๑๓๗) พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจปฏิกูลมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจ
การมนสิการถึงธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปรํ ไว้. ในคำเหล่านั้น
มีการพรรณนาความพร้อมกับคำอุปมาเป็นการเปรียบเทียบกัน ดังนี้ :-
เปรียบพระเหมือนคนฆ่าวัว
คนฆ่าวัวลางคนหรือลูกมือของเขาที่เป็นลูกจ้าง ฆ่าวัวแล้ว ชำแหละ
แล้ว ต้องแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ นั่ง (ขาย) อยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง
๑. ปาฐะว่า ปกฺขิตนานาวิธชญฺญํ ฉบับพม่าเป็น ปกฺขิตฺตนานาวิธธญฺญสฺส แปลตามพม่า.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 七月 14, 2023

Chue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/132/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดึงสพิภพ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระตถาคตว่า พระพุทธเจ้าข้า วันนี้
เอง นายโจรฆาตอันพระสารีบุตรเถระช่วยนำออกจากกรรมที่เศร้าหมอง ถึงแก่
กรรมแล้วในวันนี้เหมือนกัน เขาเกิดในที่ไหนหนอ.
พ. ในดาวดึงสพิภพ ภิกษุทั้งหลาย.
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า นายโจรฆาตฆ่าคนมาเป็นเวลานานและพระองค์
ก็ตรัสสอนไว้อย่างนี้ บาปกรรมไม่มีผลหรืออย่างไรหนอ.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวเช่นนั้น นายโจรฆาตได้
กัลยาณมิตรผู้มีกำลังเป็นอุปนิสสยปัจจัย ถวายบิณฑบาตแก่พระธรรมเสนาบดี
ฟังอนุโมทนากถาแล้ว กลับได้อนุโลมิกขันติ จึงได้บังเกิดในที่นั้น.
นายโจรฆาต ได้ฟังคำเป็นสุภาษิต
ในเมืองแล้ว ได้อนุโลมขันติบันเทิงใจ
ไปเกิดในไตรเทพ.

อธิบายอุปฆาตกกรรม

ส่วนอุปฆาตกกรรม ที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง มีอยู่เอง จะ
ตัดรอนกรรมอื่น ที่มีกำลังเพลากว่า ห้ามวิบากของกรรมนั้นไว้แล้วทำโอกาส
แก่วิบากของตน. ก็เมื่อกรรมทำ (ให้) โอกาสอย่างนี้แล้ว กรรมนั้นเรียกว่า
เผล็ดผลแล้ว. อุปฆาตกกรรมนี้นั่นแหละ มีชื่ออาทิผิด ว่าอุปัจเฉทกกรรมบ้าง.

อธิบายอุปัจเฉทกกรรม

ในอุปัจเฉทกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้ ในเวลาที่กุศลกรรมให้ผล
อกุศลกรรมอย่างหนึ่งจะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นให้ตกไป ถึงในเวลาที่อกุศล-
กรรมให้ผล กุศลกรรมอย่างหนึ่งก็จะตั้งขึ้น ตัดรอนกรรมนั้นแล้วให้ตกไป.
นี้ชื่อว่า อุปัจเฉทกกรรม. บรรดาอุปัจเฉทกกรรมที่เป็นกุศล และอกุศล
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 七月 12, 2023

Khong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/142/23 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระราชานั้น ประทับอยู่ที่ปราสาทนั้นตลอดพระชนมายุสวรรคต
แล้ว บังเกิดในเทวโลก. เมื่อท้าวเธอบังเกิดในเทวโลก ปราสาทนั้นก็จม
ลงในกระแสแม่น้ำมหาคงคา. พระนครชื่อปยาคะประดิษฐ์ เป็นอันเทวดา
นิรมิตแล้ว ณ ที่ใกล้เคียงหัวบันไดของปราสาทนั้น. บ้านชื่อโกฏิคาม
มีในที่ตรงกับยอดปราสาทพอดี.
ภายหลังต่อมา ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เทพบุตรช่าง
สานนั้น จุติจากเทวโลก เป็นเศรษฐีชื่อภัททชิ ในถิ่นมนุษย์ บวชในสำ-
นักพระศาสดา บรรลุพระอรหัตแล้ว. พึงให้เรื่องพิสดารด้วยคำว่า “ท่าน
นั้นแสดงปราสาทนั้นแก่หมู่ภิกษุ ในวันที่เอาเรือข้ามแม่น้ำคงคา”. ถาม
ว่า ก็เพราะเหตุใดปราสาทนี้จึงไม่อันตรธานไป แก้ว่า เพราะอานุภาพ
บุญเทพบุตรนอกจากนี้. กุลบุตรผู้ทำบุญร่วมกับท่านบังเกิดในเทวโลก ใน
อนาคต จักเป็นพระราชานามว่า สังขะ ปราสาทนั้นจักตั้งขึ้น สำหรับให้
พระราชานั้นใช้สอย เพราะเหตุนั้น ปราสาทจึงไม่อันตรธานไปแล้ว.
บทว่า อุสฺสาเปตฺวา ความว่า ให้ปราสาทนั้นตั้งขึ้น. บทว่า
อชฺฌาวสิตฺวา ได้แก่ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น. บทว่า ตํ ทตฺวา วิสชฺชิตฺวา
ความว่า ให้ปราสาทนั้นด้วยอำนาจทานและสละด้วยอำนาจการบริจาค
โดยไม่เพ่ง (ผลตอบแทน). ถามว่า ถวายปราสาทอย่างนั้นแก่ใคร. แก้
ว่า แก่เหล่าสมณะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า “ให้
ทานแก่สมณพราหมณ์คนกำพร้าคนเดินทางวณิพกยาจก”. ถามว่า ก็พระ
ราชา (พระภัททชิ) นั้น จักแสดงปราสาทหลังหนึ่ง แก่ภิกษุเป็นอันมาก
อย่างไร ? แก้ว่า นัยว่า จิตของท่านจักเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ปราสาทนี้ จง
กระจัดกระจาย. ปราสาทนั้นจักกระจัดกระจายเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ท้าว
เธอไม่มีจิตข้องอาทิผิด อักขระเกี่ยวปราสาทนั้นเลย จักสละด้วยอำนาจทาน ด้วยพระดำรัส
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 09, 2023

Chetasik

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/727/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถึงความที่จิตและเจตสิกอาทิผิด อักขระทั้งหลายอันเกื้อหนุนวิริยะไม่ย่อหย่อน. ด้วยบทว่า
อกุสีตวุตฺติ มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึง
ความที่กายไม่จมอยู่ในที่ยืนที่นั่งและที่จงกรมเป็นต้น. ด้วยบทว่า ทฬฺห-
นิกฺกโม มีความพยายามมั่นคงนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงการตั้งความ
เพียรอันเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ นหารุ จ แม้เลือดเนื้อจะเหือด
แห้งไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที ดังนี้เป็นต้น. ท่านกล่าวว่า เริ่ม
ในอนุปุพพสิกขาเป็นต้น กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจทางกาย. อีกอย่าง
หนึ่ง ด้วยบทนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วย
มรรค. ชื่อว่ามีความเพียร เพราะถึงความบริบูรณ์ในการเจริญภาวนา
อย่างมั่นคง และเพราะออกจากฝ่ายตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฬฺหปรกฺกโม เพราะเป็นผู้มีความพร้อม
เพรียงด้วยธรรมนั้น มีความเพียรมั่นคง. บทว่า ถามพลูปปนฺโน เข้า
ถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง คือเกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทางกาย และด้วยกำลัง
ญาณในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นด้วยกำลังอันเป็นเรี่ยวแรง
ชื่อว่า ถามพลูปปนฺโน. ท่านอธิบายว่า เกิดด้วยกำลังคือญาณอันมั่นคง
ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงถึงการประกอบพร้อมด้วยญาณ
แห่งวิริยะนั้น จึงยังความเพียรโดยแยบคายให้สำเร็จ. พึงประกอบบท
ทั้งหลายแม้ ๓ บทด้วยอำนาจแห่งความเพียร อันเป็นส่วนเบื้องต้น
ท่ามกลางและอุกฤษฏ์. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
คาถาที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 七月 08, 2023

Khwam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/301/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ไฉน คือ ความตามเห็นโดยความพอใจในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่ง
สังโยชน์ ๑ ความพิจารณาเห็นด้วยอำนาจความอาทิผิด อักขระหน่ายในธรรมทั้งหลายอัน
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ตามเห็นโดยความ
พอใจในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้.
ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า บุคคลยังละราคะ
ไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นด้วยอำนาจความหน่ายในธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะได้
ย่อมละโมหะได้ เรากล่าวว่า บุคคลละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้ว
ย่อมพ้นอาทิผิด สระจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺโญชนิเยสุ ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมที่เป็นไป
ในภูมิ ๓ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑๐. บทว่า อสฺสาทานุปสฺสิตา
ความว่า ความเห็น คือภาวะที่เห็น โดยความเป็นอัสสาทะน่ายินดี. บทว่า
นิพฺพิทานุปสฺสิตา ความว่า ความเห็นด้วยอำนาจความเบื่อหน่าย คือ
ด้วยอำนาจความเอือมระอา. บทว่า ชาติยา ได้แก่จากความเกิดแห่งขันธ์.
บทว่า ชราย ได้แก่ จากความแก่แห่งขันธ์. บทว่า มรเณน ได้แก่จาก
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 七月 07, 2023

Mit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 58/7/15  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สัตว์เหมือนอย่างเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์หลังจากพระราชาเสด็จไปแล้ว
ก็มิได้ไปตามเวลาที่เคยมา ได้ไปยังพระราชนิเวศน์กระทำภัตตกิจตาม
เวลาที่ตนชอบใจ. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์ชักช้าอยู่ยังไม่มา
พระราชเทวีจัดแจงขาทนียโภชนายาหารทุกอย่างเสร็จแล้ว จึงโสรจ
สรงพระองค์ประดับพระวรกาย แล้วให้นางพนักงานแต่งเตียงห้อย
บรรทมคอยดูการมาของพระโพธิสัตว์ โดยทรงนุ่งพระภูษาเนื้อเกลี้ยง
อย่างหย่อน ๆ. ฝ่ายพระโพธิสัตว์กำหนดว่าได้เวลาแล้ว ก็ถือภิกขา-
ภาชนะเหาะมาจนถึงช่องพระแกลใหญ่. พระเทวีได้ทรงสดับ
เสียงผ้าเปลือกไม้กรองของพระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นโดยพลัน พระ-
ภูษาเนื้อเกลี้ยงที่ทรงนุ่งนั้นก็หลุดลุ่ยลงทันที พระโพธิสัตว์ได้เห็น
วิสภาคารมณ์มิได้สำรวมอินทรีย์ ตลึงแลดูด้วยสามารถแห่งความงาม.
ลำดับนั้น กิเลสของพระโพธิสัตว์ซึ่งสงบนิ่งด้วยกำลังฌานก็กำเริบขึ้น
เหมือนอสรพิษที่ถูกขังอยู่ในข้อง พอออกจากข้องได้ก็แผ่พังพาน
ขึ้นฉะนั้น. พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้มีอาการเหมือนเวลาที่ต้นยางถูกกรีด
ด้วยมีดอาทิผิด สระฉะนั้น. องค์ฌานทั้งหลายเสื่อมไปพร้อมกับระยะที่กิเลสเกิด
ขึ้น. อินทรีย์ทั้งหลายก็มิได้บริบูรณ์ ตนเองได้มีสภาพเหมือนกาปีก
ขาดฉะนั้น. พระโพธิสัตว์นั้นมิอาจที่จะนั่งกระทำภัตตกิจเหมือนแต่
ก่อนได้ แม้พระเทวีจะตรัสบอกให้นั่งก็ไม่นั่ง. ลำดับนั้น พระเทวี
จึงทรงใส่ขาทนียะ โภชนียาหารทุกอย่างลงในภิกขาภาชนะของพระ-
โพธิสัตว์. ก็วันนั้น พระโพธิสัตว์ไม่อาจไปเหมือนในวันก่อน ๆ ซึ่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 七月 03, 2023

Lok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/336/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สรณะด้วยไตรสรณคมน์ เป็นกัปปิยการก ถ้าแม้จะมีใครเอาดาบคมกริบ
มาตัดศีรษะของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะไม่ยอมกล่าวพระพุทธเจ้าว่า
ไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมว่าไม่ใช่พระธรรม หรือพระสงฆ์ว่าไม่ใช่
พระสงฆ์ พราหมณ์ (ไม่ปรากฏนาม) ถึงสรณะด้วยการมอบถวายตน
อย่างนี้. ด้วยประการฉะนี้ ปวารณาด้วยปัจจัย ๔ แล้วลุกจากอาสะ ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ รอบแล้วหลีกไป แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๗

ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้สัตว์ตายแล้วเข้าถึงทุคติและสุคติ

[๒๖๓] ๑๗. ครั้งนั้นอาทิผิด แล พราหมณ์ชานุสโสณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เพราะการทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต. นรก.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกอาทิผิด อักขระสวรรค์.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 七月 02, 2023

Thuli

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/146/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผู้เจริญทั้งหลาย พระธรรมสงบหนอ ประณีตหนอดังนี้ จักตั้งใจฟัง ดังนี้.
พึงทราบว่า อาศัยเหตุนี้ จิตของพระองค์จึงน้อมไป เพื่อความที่พระองค์เป็น
ผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.
ในบทว่า อญฺญตรสฺส นี้ ท่านอาทิผิด อักขระกล่าวว่า อญฺญตโร ก็จริง ถึงดังนั้น
พึงทราบว่า นั่นคือมหาพรหมผู้ใหญ่ในจักรวาลนี้. บทว่า นสฺสติ วต โภ โลโก
ความว่า นัยว่ามหาพรหมนั้นเปล่งเสียงนี้ โดยที่หมู่พรหมอาทิผิด อักขระใน หมื่นโลกธาตุ
สดับแล้ว ทั้งหมดประชุมกัน. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือในโลกชื่อใด. บทว่า
ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า มหาพรหมได้ปรากฏพร้อมกับพรหมหนึ่งหมื่น
เหล่านั้น. บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า ธุลีอาทิผิด อักขระ คือราคะโทสะและโมหะ
เบาบาง คือนิดหน่อย ในดวงตาอันสำเร็จด้วยปัญญา สภาพอย่างนี้ของสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้นยังมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา
คือ มีกิเลสอาทิผิด อักขระเพียงดังธุลีในจักษุเบาบาง. บทว่า อสฺสวนตา คือเพราะมิได้ฟัง.
บทว่า ภวิสฺสนฺติ ความว่า ท่านแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้แล้ว
ถึงความแก่กล้าในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ด้วยสามารถบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หวัง
พระธรรมเทศนาอย่างเดียวเหมือนประทุมชาติหวังแสงอาทิตย์ เป็นผู้ควรหยั่ง
ลงสู่อริยภูมิ ในเมื่อจบคาถา ๔ บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน มีหลายแสน
จักเป็นผู้รู้ธรรม ดังนี้.
บทว่า อชฺเฌสนํ คือวิงวอนอย่างนี้ ๓ ครั้ง. บทว่า พุทฺธจกฺขุนา
ความว่า ด้วยปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย
และด้วยอาสยานุสยญาณ. บทว่า พุทฺธจกฺขุ เป็นชื่อแห่งญาณทั้งสองนี้. บทว่า
สมนฺตจกฺขุ เป็นชื่อแห่งพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ธมฺมจกฺขุ เป็นชื่อแห่ง
มรรคญาณ ๓. ในบทว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น ความว่า สัตว์ที่มีธุลีมีราคะ
เป็นต้น ในปัญญาจักษุน้อยโดยนัยที่กล่าวนั้นแล. ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา คือมี
 
พระปิฎกธรรม