Sara
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 31/151/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อรรถกถาโมคคัลลานสูตร
โมคคัลลานสูตรที่ ๔. ผู้ฟุ้งเป็นปกติ คือผู้มีจิตหวั่นไหว ชื่อว่าเป็น
ผู้ฟุ้งซ่าน. จริงอยู่ จิตย่อมหวั่นไหวในอารมณ์อย่างหนึ่งด้วยอุทธัจจะเหมือน
ชายธงถูกลมพัดฉะนั้น. คำว่า อวดตัว คือลำพอง. มีคำอธิบายว่า มักถือ
ตัวอันหาสาระอาทิผิด มิได้. คำว่า มีจิตกวัดแกว่ง คือประกอบด้วยความกวัดแกว่งใน
บาตรจีวรและเครื่องประดับเป็นต้น. คำว่า ปากกล้า คือปากจัด มีคำอธิบายว่า
มีคำพูดกล้าแข็ง. คำว่า พูดจาอื้อฉาว คือไม่ยั้งปากคอ ได้แก่พูดตลอดวัน
บ้าง พูดคำที่ไร้ประโยชน์บ้าง. คำว่า ลืมสติ คือลืมความระลึกได้. คำว่า
ไม่มีสัมปชัญญะ คือ เว้นจากปัญญา. คำว่า มีจิตไม่ตั้งมั่น คือเว้นจาก
อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. คำว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา คือมีจิตหมุนผิดด้วย
ความฟุ้งซ่านที่ได้โอกาสเพราะเว้นจากสมาธิ. คำว่า ปากตินฺทฺริยา คือ ไม่
สำรวมอินทรีย์. คำว่า แสดงฤทธิ์ คือเข้าอาโปกสิณออกแล้ว อธิษฐานส่วน
แห่งแผ่นดินที่ตั้งปราสาทว่าจงเป็นน้ำ เหาะขึ้นฟ้าซึ่งมีปราสาทตั้งอยู่บนหลังน้ำ
แล้วเอานิ้วฟาดลงไป. คำว่า มีรากลึก คือหลุมลึก. หมายความว่า ฝังเข้าไป
สู่ส่วนแผ่นดินที่ลึก. คำว่า ฝังไว้ดีแล้ว คือที่ฝังมิดลงไปอย่างดี คือตอกเข็ม
ตั้งไว้อย่างดี. ในสูตรนี้ ทรงแสดงฤทธิ์ที่มีอภิญญาเป็นบาท.
จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ ๔
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论