星期日, 七月 09, 2023

Chetasik

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/727/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถึงความที่จิตและเจตสิกอาทิผิด อักขระทั้งหลายอันเกื้อหนุนวิริยะไม่ย่อหย่อน. ด้วยบทว่า
อกุสีตวุตฺติ มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึง
ความที่กายไม่จมอยู่ในที่ยืนที่นั่งและที่จงกรมเป็นต้น. ด้วยบทว่า ทฬฺห-
นิกฺกโม มีความพยายามมั่นคงนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงการตั้งความ
เพียรอันเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ นหารุ จ แม้เลือดเนื้อจะเหือด
แห้งไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที ดังนี้เป็นต้น. ท่านกล่าวว่า เริ่ม
ในอนุปุพพสิกขาเป็นต้น กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจทางกาย. อีกอย่าง
หนึ่ง ด้วยบทนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วย
มรรค. ชื่อว่ามีความเพียร เพราะถึงความบริบูรณ์ในการเจริญภาวนา
อย่างมั่นคง และเพราะออกจากฝ่ายตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฬฺหปรกฺกโม เพราะเป็นผู้มีความพร้อม
เพรียงด้วยธรรมนั้น มีความเพียรมั่นคง. บทว่า ถามพลูปปนฺโน เข้า
ถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง คือเกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทางกาย และด้วยกำลัง
ญาณในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นด้วยกำลังอันเป็นเรี่ยวแรง
ชื่อว่า ถามพลูปปนฺโน. ท่านอธิบายว่า เกิดด้วยกำลังคือญาณอันมั่นคง
ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงถึงการประกอบพร้อมด้วยญาณ
แห่งวิริยะนั้น จึงยังความเพียรโดยแยบคายให้สำเร็จ. พึงประกอบบท
ทั้งหลายแม้ ๓ บทด้วยอำนาจแห่งความเพียร อันเป็นส่วนเบื้องต้น
ท่ามกลางและอุกฤษฏ์. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
คาถาที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: