星期六, 八月 31, 2013

Thusi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 19/469/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ก็มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่
ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่าง
นั้น มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มี
เวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไปในที่
ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ดังนี้. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา...มี
จิตสหรคตด้วยมุทิตา...มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่
ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้นแผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มี
เวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่
ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้.
[๕๖๒] “มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีอาทิผิด อักขระมารมีความดำริว่า ”เราทำอยู่
แม้ถึงอย่างนี้แล ก็มิได้รู้ความมาหรือความไปของภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
เหล่านี้เลย ถ้ากระไร เราพึงชักชวนพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า "เชิญท่าน
ทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณ-
ธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้
ช่อง มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารจึงชักชวนพราหมณ์และคฤหบดีเหล่า
นั้นว่า "เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มี
ศีลมีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้
ช่อง ดังนี้ มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น ถูกทูสี
มารชักชวนแล้วพากันสักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมี
กัลยาณธรรม มารผู้ลามก สมัยนั้นแลมนุษย์เหล่าใดกระทำกาละไป มนุษย์
เหล่านั้น เมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์โดยมาก.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 29, 2013

Chaeng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/157/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เป็นไฉน คือ อวิชชาและภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรละ
ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งอาทิผิด อักขระด้วยปัญญา
อันยิ่งเป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้
ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
เป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควร
ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า
จึงกําหนดรู้ธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควร
ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล
จึงกําหนดรู้ธรรมที่ควรกําหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควร
ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
จบอาคันตุกาคารอาทิผิด สระสูตรที่ ๑๔
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 八月 25, 2013

Chatin

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 24/455/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาชฏิลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในชฏิลอาทิผิด อักขระสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท ได้แก่บนปราสาทของ
นางวิสาขา มารดาของมิคารเศรษฐี ในวิหารที่ชื่อว่าปุพพาราม. ในเรื่องปุพพา-
รามนั้น ลำดับความดังนี้

เรื่อง ปุพพาราม

ครั้งอดีตกาล เมื่อสุดแสนกัป อุบาสิกาผู้หนึ่งนิมนต์พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ถวายทานแก่ภิกษุแสนรูป มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน หมอบอยู่แทบเบื้องบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำความปรารถนา
ว่า ข้าพระองค์ขอเป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้า เช่นกับพระองค์ใน
อนาคตกาลด้วยเถิด. ต่อมา นางท่องเที่ยว [เวียนว่ายตายเกิด] ในเหล่าเทวดา
และมนุษย์ถึงแสนกัป ถือปฏิสนธิในครรภ์นางสุมนเทวี ในเรือนของธนัญชัย
เศรษฐี บุตรเมณฑกเศรษฐีในภัททิยนคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของเรา. เวลาเกิดบิดามารดาขนานนามว่า วิสาขา. คราวใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จภัททิยอาทิผิด อักขระนคร คราวนั้น นางพร้อมด้วยเด็กหญิงห้าร้อยคน ก็จะรับเสด็จพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ได้เป็นโสดาบัน ในการพบครั้งแรกเลยทีเดียว. ต่อมานาง
ไปสู่เรือน [มีเรือน] ของปุณณวัฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ณ ที่นั้น มิคารเศรษฐีสถาปนานางไว้ในตำแหน่งมารดา เพราะฉะนั้น นางจึง
ถูกเรียกว่า มิคารมารดา. ในปราสาทที่มิคารมารดาสร้างแล้ว.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 24, 2013

Pancha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/879/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[ว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]
วินิจฉัยในสังฆเภทวัคค์ทั้ง ๒ พึงทราบดังนี้ :-
หลายบทว่า วินิธาย ทิฏฺฐึ กมฺเมน มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มี
ความเห็นในอธรรมเป็นต้นเหล่านั้นอย่างนี้เทียวว่า เหล่านี้ เป็นอธรรมเป็นต้น
ยืนยันความเห็นนั้น แสดงอธรรมเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจธรรมเป็นต้น
แล้วแยกกระทำกรรม.
ภิกษุทำกรรมที่ยืนยันความเห็นอันใด, พร้อมกับกรรมที่ยืนยันความ
เห็น ที่เธอกระทำแล้วอย่างนั้น ๆ ย่อมมีองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนี้.
พระบาลีที่ว่า อิเมหิ โข อุปาลิ ปญฺจหงฺเคหิ นี้ เป็นคำ
ประกอบเนื้อความ ในปัญจะ ๑. ปัญจกะทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
อนึ่ง องค์ ๓ มีการแถลงเป็นต้น แม้ในสังฆเภทวัคคนี้ ตรัสแล้ว
ด้วยอำนาจองค์เป็นบุพภาคเหมือนกัน. แต่ความเป็นผู้เยียวยาไม่ได้ พึงทราบ
ด้วยอำนาจกรรมและอุทเทสนั่นแล.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
คำน้อยหนึ่ง ซึ่งมีนัยอันข้าพเจ้ามิได้กล่าวแล้วในหนหลัง มิได้มีเลย
ในสังฆเภทวัคค์นี้.
วินิจฉัยในอาวาสิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต มีความว่า (บริขารของสงฆ์) อันตน
นำมาตั้งไว้ ฉันใด.
บทว่า วินยพฺยากรณา ได้แก่ แก้ปัญหาวินัย.
บทว่า ปริณาเมติ ได้แก่ ย่อมกำหนด คือ ย่อมแสดง ย่อมกล่าว.
คำที่เหลือในวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
 
พระปิฎกธรรม

Nuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/102/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยอุบาสกชาวเมืองกชังคละถามปัญหากชังคลาภิกษุณี
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ ใกล้กชัง-
คลนคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองกชังคละมากด้วยกัน เข้าไปหา
กชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทกชังคลาภิกษุณีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามกชังคลาภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ๑
ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓
ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕
ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗
ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙
ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ ข้าแต่แม่เจ้า
เนื้อความแห่งพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดย
พิสดารได้อย่างไรหนอ.
กชังคลภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้
เราได้สดับรับฟังมาอาทิผิด อักขระแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็หามิได้ เราได้สดับรับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะหน้าของภิกษุทั้งหลาย
ผู้สำเร็จทางใจก็หามิได้ ก็แต่ว่าเนื้อความในพระพุทธภาษิตนี้ย่อมปรากฏ
แก่เราอย่างไร ท่านทั้งหลายจงฟังเนื้อความอาทิผิด แห่งพระพุทธภาษิตนั้นอย่าง
นั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละ
รับคำของกชังคลาภิกษุณีแล้ว กชังคลาภิกษุณีได้กล่าวว่า ก็พระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 22, 2013

Ton

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/574/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ เป็น
ผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนอาทิผิด อักขระไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ
วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ
เป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ฉลาด
เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนอาทิผิด อักขระไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ วิญญูชน
ไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก.
จบทิฏฐิสูตรที่ ๒
๓. อกตัญญูสูตร
ว่าด้วยคนพาล และบัณฑิต
[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นผู้
มีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม
๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ความ
เป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม
๔ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด
ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็น
อันมาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
คนฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 21, 2013

Fang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/392/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. อริยธรรมสูตร
ว่าด้วยอริยธรรมและอนริยธรรม
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อริยธรรม และ อนริย-
ธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนริยธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉา-
วิมุตติ นี้เรียกว่าอนริยธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยธรรมเป็นไฉน
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ นี้เรียกว่าอริยธรรม.
จบอริยธรรมสูตรที่ ๒

อรรถกถาอริยธรรมสูตรที่ ๒ เป็นต้น
สูตรที่ ๒ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายเหมือนกันแล.
จบอรรถกถาสาธุวรรคที่ ๔

๓. กุสลสูตร
ว่าด้วยกุศลอาทิผิด อักขระธรรมและอกุศลธรรม
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรมและอกุศล-
ธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอาทิผิด  จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาทิผิด อาณัติกะอกุศลธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉา-
วิมุตติ นี้เรียกว่าอกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ นี้เรียกว่ากุศลธรรม.
จบกุสลสูตรที่ ๓
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 20, 2013

Sam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/170/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๓. ขีลสูตร

เสาเขื่อน ๓
[๓๒๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้ อาทิผิด
อย่างเป็นไฉน ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเสาเขื่อน ๓
อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบขีลสูตรที่ ๑๓

๑๔. มลสูตร

มลทิน ๓
[๓๒๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้ ๓
อย่างเป็นไฉน ได้แก่มลทินอาทิผิด สระ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้แล. .
[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละมลทิน ๓ อย่าง
นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบมลสูตรที่ ๑๔
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 八月 16, 2013

Praphruet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/368/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗ เพราะความประมาทเป็นเหตุ. สำหรับคฤหัสถ์นั้น เกียรติศัพท์อันชั่ว ย่อม
อื้อฉาวไปในท่ามกลางบริษัท ว่าคนโน้นเกิดในตระกูลโน้น ทุศีล มีบาป
ธรรม สละทั้งโลกนี้โลกหน้า ไม่ถวายทานแม้เพียงสลากภัต. หรือสำหรับ
บรรพชิต เกียรติศัพท์อันชั่วก็ฟุ้งไปอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้น ไม่สามารถรักษา
ศีลได้ ไม่สามารถจะเรียนพระพุทธพจน์ได้เลี้ยงชีพด้วยอเนสนกรรม มีเวชช-
กรรมเป็นต้น ประกอบด้วยอคารวะ ๖. บทว่า อวิสารโท ความว่า คฤหัสถ์
มีความกลัวว่า ก่อนอื่น คนบางพวกจักรู้เรื่องกรรมของเรา ดังนั้นก็จักข่มเรา
หรือแสดงตัวต่อราชสกุล ในที่ประชุมคนจำนวนมากแน่แท้ จึงเข้าไปหา
ประหม่า คอตก หน้าคว่ำ นั่งเอาหัวแม่มือไถพื้น ถึงเป็นคนกล้า ก็ไม่อาจ
พูดจาได้. ฝ่ายบรรพชิตมีความกลัวว่าภิกษุเป็นอันมากประชุมกัน บางรูป
จักรู้กรรมของเราแน่ ดั่งนั้น จักงดอุโบสถบ้าง ปวารณาบ้างแก่เรา จักคร่า
เราให้เคลื่อนจากเพศสมณะจึงเข้าไปหา ถึงเป็นคนกล้าก็ไม่อาจพูดจาได้. ส่วน
ภิกษุบางรูป แม้ทุศีลก็เที่ยวไปประดุจผู้ไม่ทุศีล แม้ภิกษุนั้น ก็ย่อมเป็นผู้
เก้อเขินโดยอัธยาศัยทีเดียว. บทว่า สมฺมุโฬฺห กาลํ กโรติ ความว่า ก็เมื่อ
ภิกษุผู้ทุศีลนั้น นอนบนเตียงเป็นที่ตาย สถานที่ที่ยึดถือประพฤติอาทิผิด อักขระในกรรมคือ
ทุศีล ย่อมมาปรากฏ. ภิกษุทุศีลนั้น ลืมตาก็เห็นโลกนี้ หลับตาก็เห็นปรโลก
อบาย ๔ ก็ปรากฏ แก่ภิกษุทุศีลนั้น. ภิกษุทุศีลนั้นก็เป็นประหนึ่งถูกหอก
๑๐๐ เล่ม แทงที่ศีรษะ เธอจะร้องว่า ห้ามที ห้ามที มรณะไป. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมฺมุโฬห กาลํ กโรติ หลงตาย ดังนี้. บทที่ ๕
ก็ง่ายเหมือนกัน. เรื่องอานิสงส์ ก็พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าว
ไว้แล้ว.
บทว่า พหฺเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงให้อิ่มเอิบแล้ว ให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 15, 2013

Khuthakhathaka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/565/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๙. คูถขาทิกเปติวัตถุที่ ๒

พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า :-
[๑๒๙] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านมาร้องครวญครางอื้ออึง
ไปทำไมเล่า ท่านมีกรรมอันลามกเป็นแน่.
นางเปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นนางเปรตได้
เสวยทุกข์ เกิดในยมโลกเพราะได้ทำกรรมชั่วไว้
จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฯลฯ (เหมือนเรื่องที่ ๘)
จบ ทุติยคูถขาทิกาเปติวัตถุที่ ๙

อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเปรตผู้กินคูถคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.
เรื่องของนางเปรตนั้น เช่นกับเรื่องที่ติดต่อกันนั้น. ในเรื่อง
นั้น มาโดยอำนาจอุบาสกว่า อุบาสกได้สร้างวิหาร แต่ในเรื่องนี้
มีความแปลกกันเท่านี้ว่า อุบาสิกาได้สร้างวิหาร. คำที่เหลือ ใน
ท้องเรื่อง และในคาถา ไม่เคยมี.
จบ อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 13, 2013

Hai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/181/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องไหว้ ดังนี้:- หญิงผู้ประสงค์จะนวดเท้า
ทั้งสอง? ภิกษุพึงห้าม พึงปกปิดเท้าไว้ หรือพึงนิ่งเฉยเสีย. ด้วย
ว่า ภิกษุผู้นิ่งเฉย แม้จะยินดี ก็ไม่เป็นอาบัติ.
เรื่องสุดท้าย ปรากฏชัดแล้วแล.
กายสังสัคควรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ ด้วยประการฉะนี้

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระอุทายี
[๓๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ-
อุทายีอยู่ในวิหารชายป่า สตรีเป็นอันมากได้พากันไปสู่อาราม มีความ
ประสงค์จะชมวิหาร จึงเข้าไปหาท่านพระอุทายีกราบเรียนว่า พวกดิฉัน
ประสงค์จะชมวิหารของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ
จึงท่านพระอุทายีเชิญสตรีเหล่านั้นให้ชมวิหารแล้ว กล่าวมุ่งวัจจ-
มรรค ปัสสาวมรรค ของสตรีเหล่านั้น ชมบ้าง ติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอน
บ้าง ถามบ้าง ย้อนถามบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง สตรี เหล่านั้น
จำพวกที่หน้าด้าน ฐานนักเลง ไม่มียางอาย บ้างยิ้มแย้ม บ้างพูดยั่ว
บ้างก็ซิกซี้ บ้างก็เย้ยกับท่านพระอุทายี ส่วนจำพวกที่มีความละอายใจ
ก็เลี่ยงออกไป แล้วโพนทะนาภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า คำนี้ไม่สมควร
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 10, 2013

Pracha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 61/177/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลายํ พาลสฺส ความว่า พระราชานี้
เป็นพาลด้วยพระองค์เอง ทรงฟังถ้อยคำของชฎิลโกงผู้เป็นพาลโง่เขลาแล้ว
ตรัสสั่งให้ฆ่าข้าพเจ้าโดยหาเหตุมิได้.
ก็แลพระโพธิสัตว์เจ้า ตรัสดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระราชบิดาให้ทรง
อนุญาตให้พระองค์ทรงบรรพชาแล้ว ตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า
เมื่อรากยังเจริญงอกงามแผ่ไพศาลอยู่ ไม้ไผ่ที่
แตกเป็นกอใหญ่แล้ว ก็แสนยากที่จะถอนให้หมดสิ้น
ไปได้ ข้าแต่พระราชบิดาผู้เป็นจอมประชาอาทิผิด อักขระราษฎร์
เกล้ากระหม่อมฉันขอถวายบังคมพระยุคลบาทอาทิผิด อักขระ ขอ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต กระหม่อมฉันจักขอ
ออกบวช พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสเต ความว่า (ไม้ไผ่) แตกเป็นกอ
ลำใหญ่. บทว่า ทุนฺนิกฺขโย ความว่า ยากที่จะถอนให้หมดสิ้น.
ต่อแต่นี้ไป เป็นคาถาประพันธ์ โต้ตอบระหว่างพระราชากับพระราช-
โอรส.
(พระราชาตรัสว่า) โสมนัสสกุมารเอ๋ย เจ้าจง
เสวยสมบัติอันไพบูลย์เถิด อนึ่ง บิดาจะมอบอิสริยยศ
ทั้งหมดให้แก่เจ้า เจ้าจงเป็นพระราชาของชาวกุรุรัฐ
เสียในวันนี้ทีเดียวเถิด อย่าบวชเลย เพราะการบวช
เป็นทุกข์.
(พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ขอเดชะ บรรดาโภค-
สมบัติของพระองค์ ซึ่งมีอยู่ในราชธานีนี้ สิ่งไรเล่าที่
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 08, 2013

Dai Dai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/59/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือ ชาติ ฯลฯ นั้นเป็นปัจจัยแห่งสังขาร คือ อวิชชา รวมความว่า ปัจจัย
ธรรมมีอวิชชาเป็นต้น เป็นตัวเหตุเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ปัจจัย
๑๒ คือ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
ในข้อนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท เพราะ
อาศัย คือ มุ่งหน้าต่อกันและกัน ไม่ปฏิเสธความพร้อมเพรียงอาทิผิด ของเหตุ ให้
ปัจจัยที่เกื้อกูลกันเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง การอาศัยปัจจัยอันควรเป็นปัจจัย
ซึ่งต้องอาศัยกันเป็นไปจึงเกิดสัมพันธ์กันโดยไม่เว้นปัจจัยนั้น ชื่อว่า ปฏิจจ-
สมุปบาท. ก็ในคำว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ได้แก่ เหตุที่ประกอบด้วยความ
สามารถในการให้เกิดผล อันจะรู้ได้ด้วยคำอันมีการเกิดขึ้นพร้อมเป็นเหตุ
ใกล้ ไม่พึงทราบเพียงแต่อาศัยกันเกิดขึ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ปัจจัยชื่อว่า ปฏิจจะ เพราะเป็นที่ควรอาศัยเฉพาะ
ของบัณฑิต. ชื่อว่า สมุปบาท เพราะให้เกิดขึ้นโดยชอบ หรือด้วยตนเอง.
ปฏิจจะนั้นด้วยสมุปบาทนั้นด้วย ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท พึงทราบความ
ในเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
บทว่า อนุโลมํ ได้แก่ ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้
โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิด
มีสังขาร. ท่านเรียกว่า อนุโลม เพราะกระทำกิจที่ตนควรกระทำ. อีกอย่าง
หนึ่ง ชื่อว่า อนุโลม เพราะท่านกล่าวตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด หรือเพราะ
อนุโลมตามความเป็นไป. ซึ่งอนุโลมนั้น. บทว่า สาธุกํ มนสากาสิ
ได้แก่ กระทำไว้ในใจโดยเคารพ. อธิบายว่า ปัจจัยธรรมใด ๆ เป็นปัจจัย
แก่ปัจจยุปปันนธรรมใดอาทิผิด สระ โดยความเป็นปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้น โดย
ประการใด ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมทั้งหมดนั้นไว้ในพระ-
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 06, 2013

Bin

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/181/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสิกสุจิวตฺถธรา ความว่า พระจันท-
กุมารและพระสุริยกุมารทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด. บทว่า จนฺทสุริยา
ได้แก่ พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร. บทว่า นหาปกสุนหาตา ชื่อว่า
สนานสระสรงพระกายดี เพราะไล้ทาด้วยจุรณจันทน์ แล้วกระทำการประพรม
ด้วยเครื่องสนานทั้งหลาย. บทว่า เย อสฺสุ ในบท ยสฺสุ นี้เป็นเพียง
นิบาต. อธิบายว่า ซึ่งกุมารเหล่าใด. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า ในกาลก่อน
แต่นี้. บทว่า หตฺถิวรธุรคเต ได้แก่ ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐ คือ
ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐอันเขาประดับตกแต่งแล้ว. บทว่า อสสวร-
ธุรคเต แปลว่า ผู้ขึ้นสู่หลังม้าตัวประเสริฐ. บทว่า รถวรธุรคเต แปลว่า
ผู้เสด็จทรงท่ามกลางรถอันประเสริฐ. บทว่า นียึสุ แปลว่า ออกไปแล้ว.
เมื่อหญิงเหล่านั้น ปริเทวนาการอยู่อย่างนี้นั่นแล ราชบุรุษนำพระ-
โพธิสัตว์ออกจากพระนคร ในกาลนั้น ทั่วพระนครก็กำเริบขึ้น. ชาวนคร
ปรารภจะออก. เมื่อมหาชนกำลังออกไป ประตูทั้งหลายไม่เพียงพอ. พราหมณ์
เห็นคนมากเกินไป จึงคิดว่า ใครจะรู้ว่าเหตุอะไรจักเกิดขึ้น ก็สั่งให้ปิดประตู
พระนครเสีย มหาชนเมื่อจะออกไปไม่ได้ ก็พากันร้องอื้ออึ้งอยู่ใกล้ ๆ สวน
แห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ริมประตูภายในพระนคร ฝูงนกทั้งหลายพากันตกใจกลัว
ด้วยเสียงอื้ออึงนั้นก็บินขึ้นสู่อากาศ. มหาชนเรียกนกนั้น ๆ แล้วพร่ำเพ้อกล่าว
ว่า
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินอาทิผิด สระไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้
หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยราชโอรส ๔ พระองค์.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 03, 2013

Tam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/505/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พวกคนที่ต่ำอาทิผิด อาณัติกะกว่า ในพวกตนที่สูงกว่า ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ
ได้แก่ ปัญญา ความรู้ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา
เพียงดังข่ายดำรงอยู่ บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี มุนีย่อมไม่พูดถึง ไม่กล่าว ไม่
บอก ไม่แสดง ไม่แถลง ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา หรือว่าเราเลว
กว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอ
กัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า.
[๘๘๐] คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจาก
ความตระหนี่ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ
ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง เป็นสภาพสงบ สงบเงียบ เข้าไปสงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป
ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ.
คำว่า ปราศจากความตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ ประการ
คือ ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่
ความตระหนี่นั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร
เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเรียกว่า ผู้ปราศจากความ
ตระหนี่ หายจากความตระหนี่ กำจัดความตระหนี่ สำรอกความตระหนี่
พ้นความตระหนี่ ละความตระหนี่ สละคืนความตระหนี่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่.
[๘๘๑] คำว่า ย่อมไม่ยึดถือ ในความอาทิผิด อักขระว่า ย่อมไม่ยึดถือ ย่อม
ไม่สลัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ยึดถือ
ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยึดถือ.
 
พระปิฎกธรรม