星期五, 八月 16, 2013

Praphruet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/368/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗ เพราะความประมาทเป็นเหตุ. สำหรับคฤหัสถ์นั้น เกียรติศัพท์อันชั่ว ย่อม
อื้อฉาวไปในท่ามกลางบริษัท ว่าคนโน้นเกิดในตระกูลโน้น ทุศีล มีบาป
ธรรม สละทั้งโลกนี้โลกหน้า ไม่ถวายทานแม้เพียงสลากภัต. หรือสำหรับ
บรรพชิต เกียรติศัพท์อันชั่วก็ฟุ้งไปอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้น ไม่สามารถรักษา
ศีลได้ ไม่สามารถจะเรียนพระพุทธพจน์ได้เลี้ยงชีพด้วยอเนสนกรรม มีเวชช-
กรรมเป็นต้น ประกอบด้วยอคารวะ ๖. บทว่า อวิสารโท ความว่า คฤหัสถ์
มีความกลัวว่า ก่อนอื่น คนบางพวกจักรู้เรื่องกรรมของเรา ดังนั้นก็จักข่มเรา
หรือแสดงตัวต่อราชสกุล ในที่ประชุมคนจำนวนมากแน่แท้ จึงเข้าไปหา
ประหม่า คอตก หน้าคว่ำ นั่งเอาหัวแม่มือไถพื้น ถึงเป็นคนกล้า ก็ไม่อาจ
พูดจาได้. ฝ่ายบรรพชิตมีความกลัวว่าภิกษุเป็นอันมากประชุมกัน บางรูป
จักรู้กรรมของเราแน่ ดั่งนั้น จักงดอุโบสถบ้าง ปวารณาบ้างแก่เรา จักคร่า
เราให้เคลื่อนจากเพศสมณะจึงเข้าไปหา ถึงเป็นคนกล้าก็ไม่อาจพูดจาได้. ส่วน
ภิกษุบางรูป แม้ทุศีลก็เที่ยวไปประดุจผู้ไม่ทุศีล แม้ภิกษุนั้น ก็ย่อมเป็นผู้
เก้อเขินโดยอัธยาศัยทีเดียว. บทว่า สมฺมุโฬฺห กาลํ กโรติ ความว่า ก็เมื่อ
ภิกษุผู้ทุศีลนั้น นอนบนเตียงเป็นที่ตาย สถานที่ที่ยึดถือประพฤติอาทิผิด อักขระในกรรมคือ
ทุศีล ย่อมมาปรากฏ. ภิกษุทุศีลนั้น ลืมตาก็เห็นโลกนี้ หลับตาก็เห็นปรโลก
อบาย ๔ ก็ปรากฏ แก่ภิกษุทุศีลนั้น. ภิกษุทุศีลนั้นก็เป็นประหนึ่งถูกหอก
๑๐๐ เล่ม แทงที่ศีรษะ เธอจะร้องว่า ห้ามที ห้ามที มรณะไป. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมฺมุโฬห กาลํ กโรติ หลงตาย ดังนี้. บทที่ ๕
ก็ง่ายเหมือนกัน. เรื่องอานิสงส์ ก็พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าว
ไว้แล้ว.
บทว่า พหฺเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงให้อิ่มเอิบแล้ว ให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: