星期六, 八月 24, 2013

Pancha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/879/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[ว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]
วินิจฉัยในสังฆเภทวัคค์ทั้ง ๒ พึงทราบดังนี้ :-
หลายบทว่า วินิธาย ทิฏฺฐึ กมฺเมน มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มี
ความเห็นในอธรรมเป็นต้นเหล่านั้นอย่างนี้เทียวว่า เหล่านี้ เป็นอธรรมเป็นต้น
ยืนยันความเห็นนั้น แสดงอธรรมเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจธรรมเป็นต้น
แล้วแยกกระทำกรรม.
ภิกษุทำกรรมที่ยืนยันความเห็นอันใด, พร้อมกับกรรมที่ยืนยันความ
เห็น ที่เธอกระทำแล้วอย่างนั้น ๆ ย่อมมีองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนี้.
พระบาลีที่ว่า อิเมหิ โข อุปาลิ ปญฺจหงฺเคหิ นี้ เป็นคำ
ประกอบเนื้อความ ในปัญจะ ๑. ปัญจกะทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
อนึ่ง องค์ ๓ มีการแถลงเป็นต้น แม้ในสังฆเภทวัคคนี้ ตรัสแล้ว
ด้วยอำนาจองค์เป็นบุพภาคเหมือนกัน. แต่ความเป็นผู้เยียวยาไม่ได้ พึงทราบ
ด้วยอำนาจกรรมและอุทเทสนั่นแล.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
คำน้อยหนึ่ง ซึ่งมีนัยอันข้าพเจ้ามิได้กล่าวแล้วในหนหลัง มิได้มีเลย
ในสังฆเภทวัคค์นี้.
วินิจฉัยในอาวาสิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต มีความว่า (บริขารของสงฆ์) อันตน
นำมาตั้งไว้ ฉันใด.
บทว่า วินยพฺยากรณา ได้แก่ แก้ปัญหาวินัย.
บทว่า ปริณาเมติ ได้แก่ ย่อมกำหนด คือ ย่อมแสดง ย่อมกล่าว.
คำที่เหลือในวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: