星期二, 八月 06, 2013

Bin

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/181/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสิกสุจิวตฺถธรา ความว่า พระจันท-
กุมารและพระสุริยกุมารทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด. บทว่า จนฺทสุริยา
ได้แก่ พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร. บทว่า นหาปกสุนหาตา ชื่อว่า
สนานสระสรงพระกายดี เพราะไล้ทาด้วยจุรณจันทน์ แล้วกระทำการประพรม
ด้วยเครื่องสนานทั้งหลาย. บทว่า เย อสฺสุ ในบท ยสฺสุ นี้เป็นเพียง
นิบาต. อธิบายว่า ซึ่งกุมารเหล่าใด. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า ในกาลก่อน
แต่นี้. บทว่า หตฺถิวรธุรคเต ได้แก่ ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐ คือ
ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐอันเขาประดับตกแต่งแล้ว. บทว่า อสสวร-
ธุรคเต แปลว่า ผู้ขึ้นสู่หลังม้าตัวประเสริฐ. บทว่า รถวรธุรคเต แปลว่า
ผู้เสด็จทรงท่ามกลางรถอันประเสริฐ. บทว่า นียึสุ แปลว่า ออกไปแล้ว.
เมื่อหญิงเหล่านั้น ปริเทวนาการอยู่อย่างนี้นั่นแล ราชบุรุษนำพระ-
โพธิสัตว์ออกจากพระนคร ในกาลนั้น ทั่วพระนครก็กำเริบขึ้น. ชาวนคร
ปรารภจะออก. เมื่อมหาชนกำลังออกไป ประตูทั้งหลายไม่เพียงพอ. พราหมณ์
เห็นคนมากเกินไป จึงคิดว่า ใครจะรู้ว่าเหตุอะไรจักเกิดขึ้น ก็สั่งให้ปิดประตู
พระนครเสีย มหาชนเมื่อจะออกไปไม่ได้ ก็พากันร้องอื้ออึ้งอยู่ใกล้ ๆ สวน
แห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ริมประตูภายในพระนคร ฝูงนกทั้งหลายพากันตกใจกลัว
ด้วยเสียงอื้ออึงนั้นก็บินขึ้นสู่อากาศ. มหาชนเรียกนกนั้น ๆ แล้วพร่ำเพ้อกล่าว
ว่า
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินอาทิผิด สระไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้
หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยราชโอรส ๔ พระองค์.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: