星期四, 四月 30, 2015

Phiksu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/311/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อย่างได้ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ที่ยัง
มีอยู่แม้หน่อยหนึ่ง ท่านก็พ้นจากอบายภูมิ ๔ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
จะทำอภิฐานหก ดังนี้ เป็นสูตรมีอาทิผิด อักขระอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว บุคคลละกิเลสได้
เป็นส่วน ๆ น่ะสิ.
[๒๘๕] ส. บุคคลอาทิผิด อักขระละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุอาทิผิด อักขระ
ทั้งหลาย ในสมัยใด ธรรมจักษุปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้นแล้ว แก่
อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด
มีอันดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พร้อมกับการเกิด
ขึ้นแห่งทัสสนะนั้น อริยสาวกละสัญโญชน์ ๓ ประการได้ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงใช่
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลละกิเลสได้
เป็นส่วน ๆ น่ะสิ
โอธิโสกถา จบ
๑. ขุ. ขุ. ๒๕/๗.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 29, 2015

Phalan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/735/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในเมื่อสุขและทุกข์หมดไป.
เปรียบเหมือนอะไร ?
เปรียบเหมือนนายพรานเนื้อ ตามรอยเนื้อตัวที่กระโดดขึ้นพลาญหิน
ในระหว่างทาง แล้วหนีไปได้ (เขา) เห็นรอยเท้า ทั้งฟากนี้ ทั้งฟากโน้น
ของพลาญอาทิผิด อักขระหิน แม้จะไม่เห็น (รอยเท้า) ตรงกลาง (บนพลาญหิน)
ก็ทราบได้โดยนัยว่า เนื้อตัวที่ขึ้นทางฟากนี้ แล้วไปลงทางฟากโน้น
คงจะผ่านไปด้านนี้บนพลาญหินตรงกลาง ฉันใด ความเกิดขึ้น แห่ง
สุขเวทนา ก็ฉันนั้น จะปรากฏเหมือนรอยเท้า (ของเนื้อปรากฏ) ในที่
ที่มันจะขึ้นไป ความเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา จะปรากฏเหมือนรอยเท้า
(ของเนื้อปรากฏ ) ในที่ ๆ มันลงแล้วฉะนั้น. อทุกขมสุขเวทนา
จะปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้ยึดถือโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนา มีอาการ
เป็นกลาง โดยทิ้งความสำราญ และความไม่สำราญ ในเมื่อสุขและทุกข์
หายไป เหมือนการยึดถือโดยนัยว่า ผ่านไปตรงกลางนี้แหละ โดยขึ้น
ทางฟากข้างนี้ แล้วลงทางฟากข้างโน้นฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
แสดงสติปัฏฐาน โดยตรัสรูปกัมมัฏฐานก่อนแล้ว ยังอรูปกัมมัฏฐานให้
บังเกิด ด้วยอำนาจแห่งเวทนาในภายหลัง.
เวทนาคืออรูปกัมมัฏฐานมีในพระสูตรหลายแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้อย่างนี้ เฉพาะในสติปัฏฐานสูตร
นี้แห่งเดียว ก็หามิได้ (แต่) ได้ทรงแสดงโดยตรัสรูปกัมมัฏฐานก่อน
แล้วยังอรูปกัมมัฏฐานให้บังเกิด ด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง ในพระสูตร
หลายพระสูตรหลายแห่งอย่างนี้ คือ ในจุลลตัณหาสังขยสูตร ใน
มหาตัณหาสังขยสูตร ในจุลลเวทัลลสูตร ในมหาเวทัลลสูตร
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 28, 2015

Trong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/543/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประ-
กอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้
แล้ว.
อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้น เป็นความเห็นที่
ตรง เพราะไปตามความตรงไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาด
ความคดงอทุกอย่าง มีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรงอาทิผิด อักขระ และผู้
ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอน-
แคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออก
ไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่า ผู้ได้มาสู่พระ
สัทธรรม กล่าวคือพระนิพพาน ที่หยั่งลงสู่อมตธรรม ที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.
( ๑๑๑ ) คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา มีอธิบายว่า
ในกาลใด.
ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคือ
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ เมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ด้วย
สามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็น
อารมณ์.
ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่
เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือ เมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง ( ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล ).
ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศล และรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 21, 2015

Thammasamothan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/166/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期五, 四月 17, 2015

Tittha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/386/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาวินิจฉัยในอุโบสถขันธกะ
ในบทว่า อญฺญติตฺถิยา นี้ มีวิเคราะห์ว่า ลัทธิ ท่านเรียกให้ชื่อว่า
ติตถะอาทิผิด อักขระ แปลว่าท่า ท่าอื่น ชื่ออัญญติตถะ, ท่าอื่นของชนเหล่านั้น มีอยู่เหตุนั้น
ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า อัญญเดียรถีย์ มีคำอธิบายว่า ผู้มีลัทธิอื่นจากลัทธิใน
ศาสนานี้.
สองบทว่า ธมฺมํ ภาสนฺติ มีความว่า ย่อมชี้แจงถึงสิ่งที่ควรทำและ
ไม่ควรทำของเหล่าอัญญเดียรถีย์นั้น.
สองบทว่า เต ลภนฺติ คือ มนุษย์เหล่านั้นย่อมได้.
บทว่า มูคสูกรา คือ เหมือน สุกรตัวอ้วน.
ในข้อว่า อนชฺฌาปนฺโน วา โหติ อาปชฺชิตฺวา วา วุฏฺฐิโต
นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่ต้องอาบัติใด หรือต้องแล้ว แต่ออก
แล้ว อาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่มี.
ข้อว่า สมฺปชานมุสาวาโท กึ โหติ มีความว่า สัมปชานมุสาวาท
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุนั้น นี้ว่าโดยอาบัติ
เป็นอาบัติอะไร ? คือ เป็นอาบัติชนิดไหน ?
ข้อว่า ทุกฺกฏํ โหติ คือเป็นอาบัติทุกกฏ. ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล ผู้
ศึกษาอย่าพึงเข้าใจว่า เป็นอาบัติตามลักษณะแห่งมุสาวาท แต่ควรทราบว่า
เป็นอาบัติมีการไม่ทำในวจีทวารเป็นสมุฏฐาน ตามพระวาจาของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า อันที่จริงพระอุบาลีเถระก็ได้กล่าวว่า.
ภิกษุไม่บอกด้วยวาจากับมนุษย์ไร ๆ (ผู้อยู่ใกล้) และไม่เอิ้น
บอกกะชนเหล่าอื่น (ผู้อยู่ห่าง) แต่ต้องอาบัติมีวาจาเป็นสมุฏฐาน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 16, 2015

Chue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/399/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กรรมวาจาถอนโรงอุโบสถ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ นั้นเป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ ซึ่ง
โรงอุโบสถมีชื่ออาทิผิด นี้ การถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
โรงอุโบสถมีชื่อนี้อันสงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น
จึงนิ่งข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

สมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด
[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ
เล็กเกินขนาด ถึงวันอุโบสถภิกษุสงฆ์ลงประชุมกันมาก ภิกษุทั้งหลายต้องนั่ง
ฟังปาติโมกข์ในพื้นที่ซึ่งมิได้สมมติ จึงภิกษุเหล่านั้นได้หารือกันว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า พึงสมมติโรงอุโบสถแล้ว จึงทำอุโบสถ ดังนี้
ก็พวกเรานั่งฟังปาติโมกข์ในพื้นที่ซึ่งมิได้สมมติ อุโบสถเป็นอันพวกเราทำแล้ว
หรือไม่เป็นอันทำหนอ จึงพากันกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่งในพื้นที่
ซึ่งสมมติแล้วก็ตาม มิได้สมมติก็ตาม เพราะได้ฟังปาติโมกข์ ฉะนั้นอุโบสถ
ย่อมเป็นอันเธอได้ทำแล้วเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
สงฆ์จงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถให้ใหญ่เท่าที่จำนง.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 15, 2015

Awitcha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/104/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อวิชฺชาอาทิผิด อักขระนิโรธา เพราะดับอวิชชาหมายถึงการกลับไปแห่งสังสารวัฏ. ท่าน
กล่าวว่า อิทํ ทุกฺขํ นี้เป็นทุกข์เป็นต้น ด้วยเห็นอริยสัจ . ท่านกล่าวว่า
อิเม อาสวา อาสวะเหล่านี้เป็นต้น โดยปริยายอย่างอื่นด้วยอำนาจกิเลส
ด้วยอำนาจการเห็นสัจธรรม. ท่านกล่าวว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา
ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ด้วยอำนาจการเห็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ที่ควร
กำหนดรู้ ที่ควรละและที่ควรทำให้แจ้ง. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า ฉนฺนํ
ผสฺสายตนานํ ผัสสายตนะ ๖ ด้วยอำนาจการเห็น การเกิด การดับคุณโทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกไปแห่งสฬายตนะ ๖ ขันธ์ทั้งหลายท่านกล่าวด้วย
อำนาจการเห็นมีอาทิอย่างนี้ ความเกิดและความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
โดยอาการ ๒๕ อย่าง ความพอใจด้วยอำนาจฉันทราคะในขันธ์เหล่านั้น
ความปรวนแปรและโทษของขันธ์เหล่านั้น นิพพานอันได้แก่การสลัดออก
ไป ความเกิดมีอวิชชาเป็นต้น แห่งมหาภูตรูป ๔ และความดับในนิโรธ
มีอวิชชาเป็นต้น. พึงทราบธรรมเหล่านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้น ๆ.
บทว่า อมโตคธํอาทิผิด หยั่งลงสู่อมตะ ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตายอัน
ได้แก่มรณะ. ชื่อว่า อมตะ คือเป็นยาบ้าง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส.
ชื่อว่า อมโตคธํ เพราะน้อมไปในอมตะนั้น. บทว่า อมตปรายนํ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า คือมีอมตะดังกล่าวแล้วเป็นเบื้องหน้า เป็นที่ไป เป็น
ทางไปเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อมตปรายนํ. บทว่า อมตปริโย-
สานํ มีอมตะเป็นที่สุด คือมีอมตะนั้นเป็นที่สุด เพราะสิ้นสุดสังสารวัฏแล้ว
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อมตปริโยสานํ.
บทว่า ลาภกมฺยา น สิกฺขติ บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
คือไม่ศึกษาในพระสูตรเป็นต้น เพราะปรารถนาลาภ. บทว่า อวิรุทฺโธ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 14, 2015

Puthuchon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/111/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ ตรัส
ปุถุชนไว้ ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณ-
ปุถุชน ๑.

บรรดาปุถุชนที่กล่าวไว้แล้วทั้ง ๒ จำพวกนั้น อันธปุถุชน
พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวไว้แล้ว. บทว่า ยถาภูตํ นปฺปชานาติ ความว่า
ปุถุชนอาทิผิด ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ภวังคจิตนี้ ชื่อว่า
เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสทั้งหลายอันจรมาอย่างนี้ ชื่อว่า หลุดพ้น
แล้วอย่างนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ไม่รู้. บทว่า
จิตฺตภาวนา นตฺถิ ได้แก่ ความตั้งมั่นแห่งจิต การกำหนดจิตไม่มี.
ด้วยภาวะที่ไม่มีนั่นแลทรงแสดงว่า เรากล่าวว่าไม่มีดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุตวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการศึกษา. ก็ในบทว่า
สุตวา นี้ เมื่อว่าโดยพิสดาร พึงทราบความโดยตรงกันข้ามกับ
บทว่า อสฺสุตวา.
บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ พระอริยะที่ไม่เป็นพระสาวกก็มี
เช่นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระสาวกที่ไม่เป็น
พระอริยะก็มี เช่นคฤหัสถ์ผู้ยังไม่บรรลุผล. ไม่เป็นทั้งพระอริยะ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 12, 2015

Kammabot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 43/116/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง มีอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้ว เสวยทุกข์อยู่ที่
ภูเขาคิชฌกูฏในบัดนี้.
พระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา
พระศาสดา ครั้นทรงนำบุรพกรรมนี้ ของสูกรเปรตนั้นมาแล้ว
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าภิกษุ พึงเป็นผู้เข้าไปสงบด้วยกาย
เป็นต้น” แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๔. วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต
กาเยน จ อกุสลํ น กยิรา
เอเต ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย
อาราธเย มคฺคํ อิสิปฺปเวทิตํ.
“บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา สำรวมดีแล้วด้วยใจ
และไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย พึงยังกรรมบถอาทิผิด อักขระทั้งสาม
เหล่านี้ให้หมดจด พึงยินดีทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณ
ปราศแล้ว.”
แก้อรรถ
ความแห่งพระคาถานั้นว่า “ บุคคล ชื่อว่าผู้มีปกติตามรักษาวาจา
เพราะเว้นทุจริต ๔๑., ชื่อว่าสำรวมใจแล้วด้วยดี เพราะไม่ยังมโนทุจริตมี
อภิชฌาเป็นต้นให้เกิดขึ้น. และเมื่อสู่กายทุจริต มีปาณาติบาตเป็นต้น
ชื่อว่าไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย, พึงยังกรรมบถ ๓ เหล่านั้น ให้หมดจด
ด้วยอาการอย่างนี้; ก็เมื่อให้หมดจดได้อย่างนั้น ชื่อว่าพึงยินดีมรรคมี
๑. วจีทุจริต ๔ คือ ๑. พูดเท็จ ๒. พูดคำหยาบ ๓. พูดส่อเสียด ๔. พูดเพ้อเจ้อ คือตัดเสียซึ่ง
ประโยชน์ตนและคนอื่น.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 11, 2015

Pariwitok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/434/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปาติโมกขุทเทส ๕
[๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกอาทิผิด สระว่า ปาติโมกขุทเทสมี
เท่าไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุทเทสนี้มี ๕ คือ ภิกษุ
สวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๑.
สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
นี้เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๒.
สวดนิทาน สวดปาราชิก สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้ว พึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๓.
สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบ
แล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุทเทสอาทิผิด สระที่ ๔.
สวดโดยพิสดารหมด เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๕.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุทเทสที่ ๕ นี้แล.

ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
การสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้ จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 10, 2015

Khiao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/110/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าให้พวก
คนกินเดนจนพอแก่ความต้องการแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลือ
อยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป พระพุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเลี้ยงดู
พวกคนกินเดนให้อิ่มหนำ ด้วยงบน้ำอ้อย.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่าง
นั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วเลี้ยงดูพวกคนกินเดนให้อิ่มหนำด้วยงบน้ำอ้อย คน
กินเดนบางพวกบรรจุงบน้ำอ้อยเต็มกระป๋องบ้าง เต็มหม้อน้ำบ้าง ห่อเต็ม
ผ้าขาวปูลาดบ้าง เต็มพกบ้าง ครั้นพราหมณ์เวลัฎฐกัจจานะเลี้ยงดูพวกคนกิน
เดนให้อาทิผิด สระอิ่มหนำด้วยงบน้ำอ้อย แล้วทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกคน
กินเดนอันข้าพระพุทธเจ้าเลี้ยงดูด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
แต่งบน้ำอ้อยอาทิผิด อาณัติกะนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป พระ
พุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ทั่วโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลกพรหมโลก ทั่วทุกหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์
เราไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่บริโภคงบน้ำอ้อยนั้นแล้วจะให้ย่อยได้ดี นอกจากตถาคต
หรือสาวกของตถาคต ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทิ้งงบน้ำอ้อยนั้นเสีย
ในสถานที่อันปราศจากของเขียวอาทิผิด อักขระสด หรือจงเทเสียในน้ำซึ่งปราศจากตัวสัตว์.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้วเทงบน้ำอ้อยนั้นลงในน้ำซึ่งปราศจากตัวสัตว์ งบน้ำอ้อย
ที่เทลงในน้ำนั้น เดือดพลุ่ง ส่งเสียงดังจิฏิจิฏิ พ่นไอพ่นควันทันที เปรียบ
เหมือนผาลที่ร้อนโชนตลอดวันอันบุคคลจุ่มลงในน้ำ ย่อมเดือดพลุ่ง ส่งเสียง
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 08, 2015

Prathan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 29/142/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญเพียงพอ ด้วยข้าวปายาสเจือด้วยเนยใส
อย่างประณีต ด้วยมือของตนเอง ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จ
แล้ว ลดมืออาทิผิด อักขระจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป แม้จิตตคฤหบดีได้สั่งทาส
กรรมกรว่า พวกท่านจงทิ้งส่วนที่เหลือเสีย แล้วจึงได้ตามไปส่งภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายข้างหลัง ๆ ก็โดยสมัยนั้นแล ได้เกิดร้อนจัด ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ได้เดินไปด้วยกายที่คล้ายกับจะหดเข้าฉะนั้น ( จะเปื่อย ) ทั้งที่ได้ฉัน
โภชนะอิ่มแล้ว.
[๕๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหกะเป็นผู้อ่อนกว่าทุกรูป
ในภิกษุสงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้พูดกะพระเถระผู้เป็น
ประธานว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นการดีทีเดียวที่พึงมีลมเย็นพัดมา และ
พึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึงโปรยลงมาทีละเม็ด ๆ พระเถระกล่าวว่า ท่านมหกะ
เป็นการดีทีเดียวที่พึงมีลมเย็นพัดมา และพึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึงโปรย
ลงมาทีละเม็ดๆ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้บันดาลอิทธาภิสังขารให้มี
ลมเย็นพัดมา และมีแดดอ่อน ทั้งให้มีฝนโปรยลงมาทีละเม็ด ๆ.
[๕๕๗] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้คิดว่า ภิกษุผู้อ่อนกว่าทุกรูป
ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ เป็นผู้มีฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว ครั้งนั้นแล ท่าน
พระมหกะไปถึงอารามแล้ว ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานอาทิผิด อักขระว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอหรือ. พระเถระ
ผู้เป็นประธานได้กล่าวว่า ท่านมหกะ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็น
การเพียงพอ ท่านมหกะ การบันดาลอิทธาภิสังขารเพียงเท่านี้ เป็นอันเรา
ทำแล้ว เป็นอันเราบูชาแล้ว. ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ไปตาม
ที่อยู่ แม้ท่านมหกะก็ได้ไปยังที่อยู่ของตน ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไป
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 06, 2015

Kwat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/72/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๔. กรรมสูตร
[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗
ประการ แก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม
๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการงาน จักไม่
ขวนขวายความยินดีการงาน เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวัง
ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจักไม่ยินดีการคุย ฯลฯ จักไม่ยินดีความหลับ ฯลฯ จักไม่
ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ฯลฯ จักไม่เป็นผู้มีความปรารถนา
ลามก จักไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ฯลฯ จักไม่
คบมิตรชั่ว จักไม่มีสหายชั่ว จักไม่มีเพื่อนชั่ว ฯลฯ จักไม่ถึงความ
ท้อถอยเสียในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อยเพียงใด ภิกษุ
ทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย
เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จัก
ตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหา-
นิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญ
ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.
จบ กรรมสูตรที่ ๔

อรรถกถากรรมสูตรที่ ๔
กรรมสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น กมฺมารามา ความว่า ภิกษุเหล่าใดกระทำกิจกรรม
มีจีวร, ประคดเอว, ผ้ากรองน้ำ, ธัมกรก, ไม้กวาดอาทิผิด , ที่รองเท้าเป็นต้น
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 05, 2015

Sansoen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/74/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อยู่คนเดียวก็ไม่ได้อัสสาทะ ความยินดี ภิกษุนี้ ชื่อว่า ชอบคลุกคลี
ส่วนภิกษุใด อยู่ผู้เดียวเท่านั้นในอิริยาบถ ๔ ย่อมได้อัสสาทะ
ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่ชอบคลุกคลี.
ภิกษุผู้ประกอบด้วยความปรารถนาความสรรเสริญอาทิผิด อักขระคุณ
ที่ไม่มีในตน เป็นผู้ทุศีล ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก. ภิกษุเหล่าใด
มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว เพราะบริโภคร่วมกันในอิริยาบถ
ทั้ง ๔. และภิกษุเหล่าใด เป็นเพื่อนให้ภิกษุชั่วทั้งหลาย เพราะน้อมไป
โอนไป เงื้อมไปในปาปมิตรนั้น ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ามีมิตรชั่ว
สหายชั่ว เพื่อนชั่ว.
บทว่า โอรมตฺตเกน ได้แก่ มีประมาณนิดหน่อย คือมีประมาณ
น้อย. บทว่า อนฺตรา ได้แก่ ในระหว่างนี้ เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัต.
บทว่า โวสานํ ได้แก่ ความจบสิ้น ความท้อถอยว่า เท่านี้ก็พอ.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุจักไม่ถึงที่สุดด้วยคุณมี
ศีลปาริสุทธิ, ฌานและความเป็นพระโสดาบันเป็นต้น. อย่างใดอย่าง
หนึ่ง เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่
เสื่อมเลยเพียงนั้น.
จบ อรรถกถากรรมสูตรที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 03, 2015

Sineha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 19/136/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นั้น จึงทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งแต่ต้นในบทว่า อิธ ฯเปฯ ปธานาย
นั้น นี้ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปาสราสิสูตรหนหลัง.
ส่วนความต่างกันดังนี้คือ การนั่งบนโพธิบัลลังก์นั้นเป็นการกระทำที่ทำได้
ยากในข้อนี้. บทว่า อลฺลกฏฐํ คือไม้มะเดื่อสด. บทว่า สเสฺนหํ คือมียาง
เหมือนน้ำนม. บทว่า กาเมหิ คือจากวัตถุกาม. บทว่า อวูปกฏฺฐา คือไม่
หลีกออก. กิเลสกาม ในบทเป็นต้นว่า กามฉนฺโท พึงทราบว่าฉันทะด้วย
อำนาจทำความพอใจ สิเนหะอาทิผิด อักขระ ด้วยอำนาจทำความเยื่อใย มุจฺฉา ด้วยอำนาจทำ
ความสยบ ปิปาสา ด้วยอำนาจทำความกระหาย ปริฬาห ด้วยอำนาจการ
ตามเผา. บทว่า โอปกฺกมิกา คือ เกิดเพราะความเพียร. บทว่า ญาณาย
ทสฺสนาย อนุตฺตราย สมฺโพธาย ทั้งหมด เป็นไวพจน์โลกุตตรมรรค.
ก็ มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อนี้ดังนี้คือ บุคคลยังมีกิเลสกาม ยังไม่ออก
จากวัตถุกาม เหมือนไม้มะเดื่อสดมียาง เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่
แช่ไว้ในน้ำ การไม่บรรลุโลกุตตรมรรค ด้วยเวทนาอันเกิดเพราะความ
เพียร ของบุคคลที่มีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟไฟก็ไม่
เกิด. การไม่บรรลุโลกุตตรมรรคของบุคคลเหล่านั้น เว้นจากเวทนาอันเกิด
เพราะความเพียรเหมือนไม่สีไม้สีไฟ ไฟก็ไม่เกิด แม้อุปมาข้อที่ ๒ พึงทราบโดย
นัยนี้แล. ส่วนความต่างกันดังนี้คือ ข้อแรกเป็นอุปมาของการบวชพร้อมกับ
บุตรและภรรยา ข้อหลัง เป็นอุปมาของการบวชของพราหมณ์ผู้ทรง
ธรรม. บทว่า โกลาปํ ในอุปมาข้อที่สาม ได้แก่ ผักที่ไม่มียาง บทว่า ถเล
นิกฺขิตฺตํ คือที่เขาวางไว้บนภูเขา หรือบนพื้นดิน ก็มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อ
นี้ดังนี้คือ ก็บุคคลมีกิเลสกามออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้แห้งสนิท ไม่เปียก
ชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ การบรรลุโล-
กุตตรมรรคด้วยเวทนา แม้เกิดเพราะความเพียร มีการนั่งในกลางแจ้งเป็นต้น
ของบุคคลมีกิเลสกาม ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟ ไฟก็เกิด การบรรลุ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 02, 2015

Biao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/75/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แว่น ท่อนปลายมีสัณฐานดังรากตาลคู่. กระดูกข้อมือ มีสัณฐานดังห่วงแผ่น
ตะกั่วที่เขาเชื่อมติดกันตั้งไว้. กระดูกหลังมือ มีสัณฐานดังกองต้นคล้าที่ทุบ
แล้ว. กระดูกข้อโคนนิ้วมือ มีสัณฐานดังบัณเฑาะว์ ท่อนกลางมีสัณฐานดัง
เมล็ดขนุนไม่เต็มเม็ด ท่อนปลายมีสัณฐานดังเมล็ดตุมกา. กระดูกคอ ๗ ชิ้น
มีสัณฐานดังแว่นหน่อไม้ไผ่ที่เขาใช้ไม้เสียบตั้งไว้โดยลำดับ. กระดูกคางล่าง มี
สัณฐานดังคีมเหล็กของนายช่างโลหะ. ท่อนบนมีสัณฐานดังเหล็กขูด กระดูก-
เบ้าตาและกระดูกหลุมจมูก มีสัณฐานดังเต้าของลูกตาลอ่อนที่ควักจาวออกแล้ว.
กระดูกหน้าผาก มีสัณฐานดังเปลือกสังข์ที่ตั้งคว่ำหน้า. กระดูกกกหู มีสัณฐาน
ดังฝักมีดโกนของช่างกัลบก. กระดูกที่ตั้งติดกันเป็นแผ่นตอนบนของกระดูก
หน้าผากและกระดูกกกหู มีสัณฐานดังท่อนแผ่นผ้าเต็มหม้อที่ยับยู่ยี่. กระดูก
กระหม่อม มีสัณฐานดังกระโหลกมะพร้าวเบี้ยวอาทิผิด อักขระที่ปาดหน้าแล้ว. กระดูกศีรษะ
มีสัณฐานดังกระโหลกน้ำเต้าเก่าที่เขาเย็บติดกันตั้งไว้.
ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ในสรีระทั้งสิ้น
โดยไม่แปลกกัน. แต่เมื่อว่าโดยแปลกกันในที่นี้ กระดูกศีรษะตั้งอยู่บน
กระดูกคอ. กระดูกคอตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง. กระดูกสันหลังตั้งอยู่บนกระดูก
สะเอว. กระดูกสะเอวตั้งอยู่บนกระดูกขาอ่อน กระดูกขาอ่อนตั้งอยู่บนกระดูก
เข่า. กระดูกเข่าตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง. กระดูกแข้งตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า.
กระดูกข้อเท้าตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า. ว่าโดยปริจเฉท ภายในกำหนดด้วยเยื่อ
ในกระดูก ข้างบนกำหนดด้วยเนื้อ ที่ปลายและโคนกำหนดกระดูกด้วยกัน.
นี้เป็นสภาคปริจเฉทของกระดูกเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั้น
แหละ.
 
พระปิฎกธรรม