星期二, 四月 28, 2015

Trong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/543/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประ-
กอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้
แล้ว.
อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้น เป็นความเห็นที่
ตรง เพราะไปตามความตรงไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาด
ความคดงอทุกอย่าง มีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรงอาทิผิด อักขระ และผู้
ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอน-
แคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออก
ไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่า ผู้ได้มาสู่พระ
สัทธรรม กล่าวคือพระนิพพาน ที่หยั่งลงสู่อมตธรรม ที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.
( ๑๑๑ ) คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา มีอธิบายว่า
ในกาลใด.
ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคือ
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ เมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ด้วย
สามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็น
อารมณ์.
ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่
เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือ เมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง ( ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล ).
ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศล และรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: