星期五, 四月 03, 2015

Sineha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 19/136/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นั้น จึงทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งแต่ต้นในบทว่า อิธ ฯเปฯ ปธานาย
นั้น นี้ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปาสราสิสูตรหนหลัง.
ส่วนความต่างกันดังนี้คือ การนั่งบนโพธิบัลลังก์นั้นเป็นการกระทำที่ทำได้
ยากในข้อนี้. บทว่า อลฺลกฏฐํ คือไม้มะเดื่อสด. บทว่า สเสฺนหํ คือมียาง
เหมือนน้ำนม. บทว่า กาเมหิ คือจากวัตถุกาม. บทว่า อวูปกฏฺฐา คือไม่
หลีกออก. กิเลสกาม ในบทเป็นต้นว่า กามฉนฺโท พึงทราบว่าฉันทะด้วย
อำนาจทำความพอใจ สิเนหะอาทิผิด อักขระ ด้วยอำนาจทำความเยื่อใย มุจฺฉา ด้วยอำนาจทำ
ความสยบ ปิปาสา ด้วยอำนาจทำความกระหาย ปริฬาห ด้วยอำนาจการ
ตามเผา. บทว่า โอปกฺกมิกา คือ เกิดเพราะความเพียร. บทว่า ญาณาย
ทสฺสนาย อนุตฺตราย สมฺโพธาย ทั้งหมด เป็นไวพจน์โลกุตตรมรรค.
ก็ มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อนี้ดังนี้คือ บุคคลยังมีกิเลสกาม ยังไม่ออก
จากวัตถุกาม เหมือนไม้มะเดื่อสดมียาง เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่
แช่ไว้ในน้ำ การไม่บรรลุโลกุตตรมรรค ด้วยเวทนาอันเกิดเพราะความ
เพียร ของบุคคลที่มีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟไฟก็ไม่
เกิด. การไม่บรรลุโลกุตตรมรรคของบุคคลเหล่านั้น เว้นจากเวทนาอันเกิด
เพราะความเพียรเหมือนไม่สีไม้สีไฟ ไฟก็ไม่เกิด แม้อุปมาข้อที่ ๒ พึงทราบโดย
นัยนี้แล. ส่วนความต่างกันดังนี้คือ ข้อแรกเป็นอุปมาของการบวชพร้อมกับ
บุตรและภรรยา ข้อหลัง เป็นอุปมาของการบวชของพราหมณ์ผู้ทรง
ธรรม. บทว่า โกลาปํ ในอุปมาข้อที่สาม ได้แก่ ผักที่ไม่มียาง บทว่า ถเล
นิกฺขิตฺตํ คือที่เขาวางไว้บนภูเขา หรือบนพื้นดิน ก็มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อ
นี้ดังนี้คือ ก็บุคคลมีกิเลสกามออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้แห้งสนิท ไม่เปียก
ชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ การบรรลุโล-
กุตตรมรรคด้วยเวทนา แม้เกิดเพราะความเพียร มีการนั่งในกลางแจ้งเป็นต้น
ของบุคคลมีกิเลสกาม ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟ ไฟก็เกิด การบรรลุ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: