Kwat
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 37/72/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๔. กรรมสูตร
[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗
ประการ แก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม
๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการงาน จักไม่
ขวนขวายความยินดีการงาน เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวัง
ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจักไม่ยินดีการคุย ฯลฯ จักไม่ยินดีความหลับ ฯลฯ จักไม่
ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ฯลฯ จักไม่เป็นผู้มีความปรารถนา
ลามก จักไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ฯลฯ จักไม่
คบมิตรชั่ว จักไม่มีสหายชั่ว จักไม่มีเพื่อนชั่ว ฯลฯ จักไม่ถึงความ
ท้อถอยเสียในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อยเพียงใด ภิกษุ
ทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย
เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จัก
ตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหา-
นิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญ
ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.
จบ กรรมสูตรที่ ๔
อรรถกถากรรมสูตรที่ ๔
กรรมสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น กมฺมารามา ความว่า ภิกษุเหล่าใดกระทำกิจกรรม
มีจีวร, ประคดเอว, ผ้ากรองน้ำ, ธัมกรก, ไม้กวาดอาทิผิด , ที่รองเท้าเป็นต้น
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论